วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผลการทดลองเกี่ยวกับฟ้าผ่า

ผลการทดลองเกี่ยวกับฟ้าผ่า
ผลการทดลองในห้องทดลองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน ได้มีการทดลองโดยการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระตุก (Impluse Generator) ซึ่งเป็นเครื่ีองกำเนิดไฟฟาที่ไกล้เคียงฟ้าผ่ามากที่สุด
วิธีการทดลองคือป้อนประจุให้เครื่องเก็บประจุแล้วให้มันคายประจุอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่ 1 ตั้งโลหะปลายทู่และปลายแหลมไว้ล่อ แล้วให้เครื่องคายประจุอย่างรวดเร็วมันจะ คายประจุผ่านปลายเหลมทุกครั้ง
การทดลองที่ 2 ตั้งโลหะปลายแหลมซึ่งมีความสูงต่าง ๆ กันไว้ให้ห่างปลายอิเล็คโทรดเท่า ๆ กันดังรูปที่ 1 เมื่อให้เครื่องคายประจุออกมา มันจะ คายประจุลงมาที่ท่อนโลหะที่สูงสุดทุกครั้ง

การทดลองที่ 3 ต่ออิเล็คโทรดปลายแหลมเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระตุก ให้ปลายแหลมจ่ออยู่บนกระจก เมื่อให้เครื่องคายประจุจะเห็นประกายไฟแผ่ซ่านกระจายเต็มแผ่นกระจก ซึ่งมันคือกระแสนั่นเอง (รูปที่ 2)






การทดลองที่ 4 ใช้ลวดตัวนำต่อจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลงดิน (ผ่าน Damming Resistor) นำลวดทองแดงซึ่งขดเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้ามีปลายเปิดที่ ab ใช้ลวดเส้นเล็ก ๆ หรือฟิวส์ต่อระหว่างจุด ab ดังรูปที่ 3 ไปตั้งไกล้ตัวนำ เมื่อเตรียมเสร็จให้ปล่อยไฟฟ้าคายประจุลงดิน ปรากฎว่าฟิวส์ที่ต่อตรงจุด ab จะขาดและเกิดประกายไฟ นั่นแสดงว่าเกิดกระแสเหนียวนำ (Induced Current) ขึ้นในขดลวดสี่เหลียม จาก กฎดังนี้



E2 คือแรงดันที่เกิดขึ้นในขดลวดรูปสี่เหลียม
(di/dt)1 คือการเปลี่ยนแปลงของกระแสในขดลวดตัวนำ ab ที่ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
M เรียกว่า Mutua In Ductance ระหว่างขดลวดตัวนำและขดลวดทองแดง



การทดลองที่ 5 นำรถตู้ Volks - Wagen เข้าไปจอดพร้อมผู้ขับขี่อยู่ภายในรถแล้วปล่อยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคายประจุลงดิน จากส่วนบนของรถลงดิน คนอยู่ภายในจะปลอดภัย และเมื่อหยุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คายประจุ เมื่อเปิดกระจกรถเอาแขนออกมาจะมีไฟฟ้าสถิตโดยรอบ โดยสังเกตจากขนแขนจะชูชัน อธิบายได้จากกฎของฟาราเดย์ ด้วยทฤษฎีลูกกรงฟาราเดย์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น