นอนกรน แก้ไขได้
เมื่อร่างกายหลับ การหายใจของคนเราจะมีความสม่ำเสมอ เพราะกล้ามเนื้อทุกส่วนจะผ่อนคลาย รวมทั้งกล้ามเนื้อหายใจ เมื่อเกิดความผิดปกติของระบบการหายใจนี้จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า การนอนกรน ประเภทการนอนกรน
1.ประเภทไม่เป็นอันตราย คือการนอนกรนธรรมดาที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน จะไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้ กลุ่มนี้มักมีการอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย
2.ประเภทที่อันตราย คือการนอนกรนที่มีเสียงไม่สม่ำเสมอกันขณะที่หลับสนิท จะมีเสียงกรนดังสลับกับเบาเป็นช่วงๆ และจะมีช่วงหยุดกรนไประยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่หยุดหายใจ [/color]
การตรวจวินิจฉัยการนอนกรน
1. ตรวจร่างกายอย่างละเอียดทางหู คอ จมูก เพราะสาเหตุอาจอยู่บริเวณดังกล่าว
2. ตรวจพิเศษในท่านอน โดยส่องตรวจหลอดลมชนิดอ่อนตัวได้บริเวณโพรงจมูก ตำแหน่งเพดานอ่อนและโคนลิ้น
3. เอกซเรย์ เพื่อหาตำแหน่งที่ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน
4. ตจรวจ Sleep Test (Polysomnography) เป็นการตรวจการหายใจสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจและสมองขณะหลับ
การป้องกันและการรักษาการนอนกรนของผู้ป่วย
1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. หลีกเลี่ยงการนอนหงาย ให้นอนในท่าตะแคงข้าง และให้ศีรษะสูงเล็กน้อย
3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ และยากล่อมประสาทก่อนนอน
4. กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย ให้รักษาโดย
• ใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP ครอบจมูกขณะหลับ เพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น วิธีนี้ปลอดภัย และได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกราย
• Radiofrequency จี้กระตุ้นให้เพดานอ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหดตัวลง• การผ่าตัด เอาส่วนที่ยืดยานออก 1. ร่างกายอ่อนเพลีย คล้ายนอนไม่พอ ทำให้เกิดผลเสียต่อการเรียนการทำงาน และอาจเกิดอุบัติเหตุ
2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามรถในการจำลดลง หงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย
3. มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมองโรคหัวใจขาดเลือด (อาจทำให้เสียชีวิตทันที เพราะหัวใจทำงานผิดปกติขณะเกิดการหยุดหายใจในช่วงหลับ หรือที่เรียกว่าไหลตาย
4. ขาดสมรรถภาพทางเพศ
อันตรายจากการนอนกรน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น