วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ก่อนเป็นสตรีข้ามเพศ ต้องผ่านบันได 6 ขั้น

ก่อนเป็นสตรีข้ามเพศ ต้องผ่านบันได 6 ขั้น

คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกใช้ชีวิตได้

สตรีข้ามเพศ  คือคนกลุ่มหนึ่งในสังคม  ยลดาหนึ่งในสตรีข้ามเพศยืนยันว่า  เธอไม่ใช่เกย์  ไม่ใช่กะเทย  และไม่ใช่เลสเบี้ยน  แต่เธอคือผู้หญิงตั้งแต่เกิด  เพียงแต่ความเป็นหญิงของเธอนั้น ไม่เหมือนหญิงทั่วไปตรงที่มีจู๋เป็นส่วนเกิน
ยลดาฟันธงว่า สตรีข้ามเพศเป็นโรคชนิดหนึ่ง


ยลดา

ยลดา เกริกก้อง สวนยศ อายุ 27 ปี นักธุรกิจ และประธานเครือข่ายสตรีข้ามเพศแห่งประเทศไทย ออกมายืนยันความเป็น "สตรีข้ามเพศ" แห่งตน และขอความเห็นใจจากสังคม เพื่อรักษาให้เป็นหญิงอย่างสมบูรณ์

เธอ ยืนยันว่า สตรีข้ามเพศเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลก และแพทยสภารองรับอย่างเป็นทางการแล้ว พร้อมอ้างประกาศที่ 58/2552 ของแพทยสภา เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้มีพฤติกรรมสับสนในเพศตนเอง หรือต้องการรักษา เพื่อการแปลงเพศว่า ให้รักษาตามเกณฑ์ และขั้นตอน 6 ขั้น

โดย สรุปคือ ให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินวินิจฉัยโรค เมื่อวินิจฉัยแล้ว ผลบ่งชี้ถึงการแปลงเพศ ให้ส่งต่อไปยังแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ เพื่อรักษาโดยการให้ฮอร์โมน เมื่อให้ฮอร์โมนตามความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคนแล้ว ให้สตรีข้ามเพศทดลองใช้ชีวิตตามเพศที่ต้องการเป็นเวลา 1 ปี

กรณี ตัดสินได้ว่าให้ทำการรักษาเพื่อการแปลงเพศได้ ผู้รับการรักษาต้องได้รับการรับรองจากจิตแพทย์อย่างน้อยสองท่าน และหลังผ่าตัด ทำศัลยกรรมแปลงเพศแล้ว แพทย์ต้องติดตามดูแลให้คำปรึกษาอย่างเหมาะสม

จำนวนสตรีข้ามเพศ  ยลดาบอกว่า  ตามตัวเลขขององค์การอนามัยโลกมีอัตราส่วน  1  ใน  30,000  คน เฉพาะในประเทศไทยมีประมาณ 2,000 คน ในจำนวนนี้เปลี่ยนเพศแล้วไม่เกิน 1,000 คน

นอกจากนั้นอยู่ในระหว่างการรักษา และยังเข้าไม่ถึงการรักษา เพราะไม่มีเงินเพียงพอ

หมอที่ผ่าตัดเปลี่ยนเพศได้  ยลดาบอกว่า  จะต้องลงทะเบียนกับแพทยสภา และต้องมีใบรับรองออกมาว่ารักษาได้เท่านั้น

ก่อน หน้านี้ไม่มีมาตรฐานรองรับ ผู้จะเข้ารับการรักษาลำบากมาก ไม่รู้ว่าจะเลือกเข้ารับการรักษาอย่างไร จึงเกิดเหตุการณ์ผ่าตัดออกมาแล้วเกิดผลข้างเคียง อวัยวะเพศไม่เหมือนบ้าง ใช้การไม่ได้ บ้าง ไม่มีความรู้สึกบ้าง เพราะมาตรฐานของแพทย์ตอนนั้นยังไม่มี แต่ตอนนี้มีแล้ว" ยลดาบอก

แม้ หมอจะเปิดไฟเขียวให้ผ่าตัดได้  แต่ก่อนผ่าตัด  มีขั้นตอนหนึ่งที่ยลดาบอกว่าเกิดปัญหามาก นั่นคือแพทย์ให้ใช้ชีวิตแบบหญิงตลอดเวลา เมื่อแพทย์สั่ง  เหมือนแพทย์ให้ยามาแล้ว  แต่พอไปใช้ชีวิตจริงๆในสังคมเกิดปัญหา  ใช้ชีวิตแบบที่หมอสั่งไม่ได้

เรื่องขัดขวาง เช่น เครื่องแบบ

ตัวอย่าง เช่น "อย่างนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยให้แต่งชุดผู้หญิงได้เลย เมื่อหมอวินิจฉัยว่า เป็นสตรีข้ามเพศ และอยู่ในระหว่างการบำบัดรักษา แต่มีหลายมหาวิทยาลัยที่ไม่ให้แต่งกายเป็นหญิง โดยเฉพาะคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์ ครู และนิติศาสตร์ เพราะคณะเหล่านี้จะมีเครื่องแบบแบ่งแยกเพศ ทำให้บางคนแม้จะเอ็นทรานซ์ติด ก็ไม่เข้าเรียน"

ร้ายกว่านั้น  ยลดาครวญว่า  บางคนเรียนนิติศาสตร์  สอบตั๋วทนายได้ แต่ว่าความไม่ได้  เพราะเกิดปัญหาเรื่องชุดทนาย  ถ้าแต่งชุดทนายชายตามบ่งในบัตรประจำตัวประชาชน หน้าตา เรือนร่างเป็นหญิงจึงขัดกับความเป็นจริง ครั้นจะแต่งกายเป็นหญิง ก็มีเสียงครหาว่าขาดความน่าเชื่อถือ

ส่วนเรื่องห้องน้ำ ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเมื่อรูปลักษณ์เป็นหญิงแล้วคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับได้ เพราะคนไทยมีความเอื้ออาทรต่อกัน และเปิดกว้างในเรื่องนี้พอควร

ห้องน้ำ ที่สตรีข้ามเพศเข้า ต้องเป็นห้องน้ำหญิง "ถ้ามีห้องน้ำแยกออกมาเป็นเพศที่สามพวกหนูไม่ใช้นะ เพราะเท่ากับให้เราเป็นคนแปลกแยก ตลอดเวลาที่หมอบำบัด หมอต้องการให้เราเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ เหมือนใจที่เราเป็น"
หลัง ทดลองใช้ชีวิตแบบจริงแท้ๆ เป็นเวลา 1 ปีแล้ว ถ้าแพทย์พิจารณาเห็นว่าผ่าตัดได้ ก็ถึงเวลาในฝันของสตรีข้ามเพศ เพราะจะได้เปลี่ยนจู๋ที่เป็นส่วนเกิน มาเป็นจิ๋มให้ตรงกับจิตใจอันแท้จริง

ค่า ใช้จ่ายในการผ่าตัด ยลดาบอกว่า ประมาณ 80,000 บาทต่อคน ทั้งนี้จะมากหรือน้อยกว่านี้  ขึ้นอยู่กับสถานที่รับการรักษา  และสรีระของ ผู้เข้ารับการรักษา  เพราะ  "ร่างกายชายและหญิงต่างกัน  นอกจากอวัยวะเพศ  เรายังมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาด้วย เช่น ดวงตา จมูก โครงหน้า อก เอว สะโพก เราต้องเปลี่ยนสรีระให้เป็นหญิงด้วย คนที่สรีระเหมือนชายมากเท่าใด ก็มีแนวโน้มต้องจ่ายค่ารักษาสูงขึ้นไปมากเท่านั้น"

นั่นเฉพาะค่าใช้จ่ายผ่าตัด



ก่อนผ่าตัดต้องเตรียมร่างกายเหมือนกัน

การ จะเปลี่ยนร่างกายชายคนหนึ่งไปเป็นหญิง มันต้องใช้เงินมหาศาล การเริ่มต้น เราต้องใช้ฮอร์โมนทุกเดือน ถ้าเดือนละแผงก็ประมาณ 500 บาท แต่คนที่มีลักษณะร่างกายเป็นผู้ชายมาก  ต้องใช้ฮอร์โมนให้มากขึ้น  อาจจะต้องทั้งกินและฉีด

ค่าใช้จ่ายขั้นเตรียม  เฉลี่ยแล้วเดือนละไม่ต่ำกว่า  1,000  แต่อาจต้องใช้มากกว่านั้น  ลองคิดคร่าวๆ  ถ้าใช้ยาเพิ่มฮอร์โมน  1  ปี  ต้องจ่ายประมาณ  12,000  บาท  เป็นขั้นต่ำ  ถ้าแพทย์สั่ง

ผ่าตัดได้ แต่คนไข้ยังไม่มีเงินพอก็ต้องใช้ยาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีเงินผ่าตัด

ประเด็นนี้ ยลดาบอกว่า สงสารสตรีข้ามเพศที่ยากจนมาก

โรงพยาบาลที่รองรับการผ่าตัด ยลดาบอกว่า โรงพยาบาลใหญ่ๆ ในประเทศไทยที่ผ่าตัดได้ไม่น่าจะเกิน 10 แห่ง

"และ ด้วยความที่เขาแข่งขันกันอย่างจริงจัง  ทำให้ราคาสูงขึ้นๆ  ถ้ามีโรงพยาบาลสัก  20  หรือ  30  แห่ง  ราคาก็น่าจะลดลงเรื่อยๆ  แต่เดี๋ยวนี้มีโรงพยาบาลน้อยมาก และส่วนใหญ่เป็นของเอกชน"

ยลดาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การเข้าเปลี่ยนเพศในโรงพยาบาลดีๆ ก็เหมือนได้โทรศัพท์มือถือรุ่นดี มีความมั่นใจเรื่องคุณภาพ

การ เข้าถึงการผ่าตัด บางคนโชคดีที่ครอบครัวช่วยเหลือได้ แต่มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง สองในสามของกว่า 2,000 คน ไม่สามารถเข้าถึงการรักษา แม้จะหาเงินซื้อฮอร์โมนได้ และบางคนแม้เงินจะซื้อฮอร์โมนยังไม่มีเลย

ปัญหา ก็คือ "เมื่อกระทรวงสาธารณสุขบอกว่า สตรีข้ามเพศเป็นโรคแล้ว รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการรักษาอย่างไรได้บ้าง มีฮอร์โมนฟรีได้ไหม คนที่จะเข้าถึงการผ่าตัดขั้นสุดท้าย รัฐจะช่วยเหลือได้อย่างไร อย่างโรคไต และโรคอื่นๆ รัฐช่วยได้ แล้วโรคนี้ล่ะ" ยลดาถาม

และต้องการบอกกับ สังคมว่า  ชีวิตของสตรีข้ามเพศ  ไม่เคยมีจุดเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างสาวประเภทสอง  และไม่ใช่เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศอย่างเกย์  เลสเบี้ยน  แต่สตรีข้ามเพศตระหนักได้ตั้งแต่เกิดว่าเป็นผู้หญิง

เมื่อถามถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนจู๋เป็นจิ๋ม ยลดาบอกว่า สตรีข้ามเพศทุกคน "น่าจะมีโอกาส ถ้าเราไม่รักษา ก็เท่ากับเสียโอกาสชีวิตไป"

ยลดาบอกว่า  ร่างกายที่เป็นผู้ชาย  ทำให้ไม่อาจเป็นหญิงที่สมบูรณ์ เมื่อได้ผ่าตัด ก็เหมือนรักษาโรคร้ายให้หายไป

ถ้าไม่ผ่าตัดก็จะเกิดปัญหาทั้งกับตัวเอง  สังคม  กฎหมาย  และการรับบริการต่างๆ ไม่จบสิ้น.

ที่มา  : นสพ.ไทยรัฐ
โดย ทีมข่าวการเมือง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น