ดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธี
ช่วงนี้ปัญหาหนักของบ้านเราเห็นจะหนีไม่พ้นปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากอยู่ในขณะนี้ โดยหลายฝ่ายต่างร่วมด้วยช่วยกันบริจาค สิ่งของ ข้าวสาร อาหารแห้ง ฯลฯ สำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ คนไหนสนใจบริจาคสิ่งของหรือจะเป็นการโอนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยสามารถช่วยเหลือได้ตามช่องทางต่อไปนี้
แต่ปัญหาที่หลายคนอาจจะมองข้ามไปคือปัญหาน้ำกัดเท้า ซึ่งจะมาพร้อมกับน้ำท่วมเสมอ วันนี้ สนุก! แคมปัส มีวิธีการดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธีมาบอก
อาการน้ำกัดเท้าแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 โรคน้ำกัดเท้าในระยะนี้ ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คัน และแสบ โดยเฉพาะตามง่ามนิ้วเท้าและขอบเล็บ ซึ่งผิวหนังอักเสบในระดับนี้ยังไม่มีเชื้อโรคใดๆ เข้าไปในบาดแผลได้ การรักษาระดับนี้ควรใช้ยาทาที่ผสมสเตียรอยด์ ไม่จำเป็นต้อง ใช้ยาฆ่าเชื้อราเพราะยาบางชนิดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบผิวหนังมากขึ้น และเมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีแผลเล็ก ๆ ที่เกิดจากผิวหนังอักเสบและมีเชื้อโรคเข้าไปทางบาดแผล โดยมีอาการบวมแดง เป็นหนองและปวด ควรให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาตามอาการของผู้ป่วย อนึ่งหากปล่อยให้มีอาการโรคน้ำกัดเท้าอยู่นาน ผิวที่ลอกเปื่อยและชื้นจะติดเชื้อราทำให้เป็นโรคเชื้อราที่ซอกเท้ามีอาการบวมแดง มีขุยขาวเปียก มีกลิ่นเหม็น และถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนังรักษาหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนอาการดีขึ้นดูเหมือนหายดีแล้ว แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่เมื่อเท้าอับชื้น ก็จะเกิดเชื้อราลุกลาม ขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นประจำ ไม่หายขาด
คำแนะนำในการดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้า
หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนาน ๆ หากจำเป็นต้องลุยน้ำให้สวมรองเท้าบูทกันน้ำ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันของมีคมที่อยู่ในน้ำทิ่มหรือตำเท้า รวมทั้งรีบทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ และเช็ดเท้าให้แห้งเมื่อเสร็จธุระนอกบ้าน ซึ่งการรักษาความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคนี้ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า นอกจากนี้ หากพบว่ามีบาดแผลตามผิวหนังไม่ควรสัมผัสน้ำสกปรก เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเป็นไปได้ ควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำสะอาดและด่างทับทิมวันละครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีแผล ผื่น ที่ผิวหนังควรพบแพทย์ โดยทายาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์
แต่ปัญหาที่หลายคนอาจจะมองข้ามไปคือปัญหาน้ำกัดเท้า ซึ่งจะมาพร้อมกับน้ำท่วมเสมอ วันนี้ สนุก! แคมปัส มีวิธีการดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้าอย่างถูกวิธีมาบอก
อาการน้ำกัดเท้าแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 โรคน้ำกัดเท้าในระยะนี้ ยังไม่มีเชื้อรา เป็นเพียงอาการระคายเคืองจากความเปียกชื้นและสิ่งสกปรกในน้ำ ทำให้เท้าเปื่อย ลอก แดง คัน และแสบ โดยเฉพาะตามง่ามนิ้วเท้าและขอบเล็บ ซึ่งผิวหนังอักเสบในระดับนี้ยังไม่มีเชื้อโรคใดๆ เข้าไปในบาดแผลได้ การรักษาระดับนี้ควรใช้ยาทาที่ผสมสเตียรอยด์ ไม่จำเป็นต้อง ใช้ยาฆ่าเชื้อราเพราะยาบางชนิดจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและแสบผิวหนังมากขึ้น และเมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีแผลเล็ก ๆ ที่เกิดจากผิวหนังอักเสบและมีเชื้อโรคเข้าไปทางบาดแผล โดยมีอาการบวมแดง เป็นหนองและปวด ควรให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาตามอาการของผู้ป่วย อนึ่งหากปล่อยให้มีอาการโรคน้ำกัดเท้าอยู่นาน ผิวที่ลอกเปื่อยและชื้นจะติดเชื้อราทำให้เป็นโรคเชื้อราที่ซอกเท้ามีอาการบวมแดง มีขุยขาวเปียก มีกลิ่นเหม็น และถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นเรื้อรัง เชื้อราจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในผิวหนังรักษาหายยาก ถึงแม้จะใช้ยาทาจนอาการดีขึ้นดูเหมือนหายดีแล้ว แต่มักจะมีเชื้อหลงเหลืออยู่เมื่อเท้าอับชื้น ก็จะเกิดเชื้อราลุกลาม ขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นประจำ ไม่หายขาด
คำแนะนำในการดูแลและป้องกันน้ำกัดเท้า
หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนาน ๆ หากจำเป็นต้องลุยน้ำให้สวมรองเท้าบูทกันน้ำ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันของมีคมที่อยู่ในน้ำทิ่มหรือตำเท้า รวมทั้งรีบทำความสะอาดเท้าด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ และเช็ดเท้าให้แห้งเมื่อเสร็จธุระนอกบ้าน ซึ่งการรักษาความสะอาดให้เท้าแห้งอยู่เสมอเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคนี้ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษที่บริเวณซอกนิ้วเท้า นอกจากนี้ หากพบว่ามีบาดแผลตามผิวหนังไม่ควรสัมผัสน้ำสกปรก เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเป็นไปได้ ควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำสะอาดและด่างทับทิมวันละครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีแผล ผื่น ที่ผิวหนังควรพบแพทย์ โดยทายาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น