วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งีบหลับ 'นาทีทอง' ช่วยสมองจำดี

งีบหลับ 'นาทีทอง' ช่วยสมองจำดี

ติ่งสมองที่หน้าตาคล้าย “ม้าน้ำ” เรียกว่า “ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)”

เมื่อไม่อาจทานทนกับความง่วงและหนังตาหนักๆ จงงีบหลับเสียเถิด สมองจะได้รับประโยชน์ แถมตื่นแล้วยังกระปี้กระเปร่า ซึ่ง นพ.กฤษดา ศิรามพุช,พบ.(จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ American Board of Anti-aging medicine บอกเล่าเอาไว้ตั้งแต่คืนวาน อย่างนี้ไปติดตามภาคต่อกันเลย

@@@

เพราะความนึกคิดและความจำของคนนี้จะถูก “ป้อน” ใส่เข้าในช่องสมองอย่างแนบแน่นขึ้นใน “ช่วง” ระหว่าง “หลับลึก(Deep sleep)” กับ “ฝัน(Dreaming sleep)” ช่วงนี้เปรียบเสมือน “นาทีทอง” ที่ต้องรู้ไว้เพราะเป็นหัวใจที่ทำให้การงีบหลับกลางว ันมีความหมายขึ้น จะได้ใช้แก้ตัวกับนายได้

เพราะอาสาสมัครที่ได้นอนเป็นเวลาชั่วโมงครึ่งก็ตื่นข ึ้นมาทำข้อสอบได้ดียิ่งกว่าคนที่ไม่ได้นอน โดยงานวิจัยได้ตัดตัวช่วยอื่นๆเช่นความสบายไม่เหนื่อ ยล้าจากการได้นอนออกไป จนรู้ได้ว่าผลดีที่กล่อมสมองให้เป็นของอัศจรรย์ได้นั ้นมาจากการงีบโดยตรง

ที่สำคัญ การงีบหลับยังทำสมองให้เหมือนช่องเก็บ “จดหมาย”

สูตรสำเร็จการงีบที่ดีก็น่าจะเป็น หนึ่งชั่วโมงครึ่งตามงานวิจัย แต่ในความเห็นผมว่าไม่เสมอไปครับ ควรจะปรับให้ได้ตามไลฟสไตล์ของเราแต่ละคนมากกว่า พูดง่ายว่า “ไม่มีสูตรสำเร็จ”

บางคนนอนเบ็ดเสร็จ 20 นาทีก็กะปรี้กะเปร่าเพราะหลับลึกได้ ผิดกับคนที่ “นอนได้” เหมือนกันแต่ไม่ลึกและมีฝันว้าวุ่นก็จะรู้สึกว่านอนก ็เหมือนไม่ได้นอน ขาดทุนนิทราไป

เพราะการนอนที่ดูเหมือนเรื่องง่ายเอาเข้าจริงก็มีกฏ กติกา มารยาทต้องรู้ไว้อยู่บ้าง เช่นว่าถ้านอนไม่หลับเกิน 15 นาทีให้ลุกขึ้นมาดีกว่า อย่าออกกำลังกายก่อนนอน และที่สำคัญคือการนอนไม่สามารถชดเชยได้ทั้งต้นและดอก ไม่มีบอกนอนดึกแล้วมานอนซ่อมวันรุ่งขึ้น สมองจะไม่รับรู้ด้วย ดังที่ ดร.แม็ทธิว วอล์คเกอร์หนึ่งในผู้วิจัยได้กล่าวไว้ว่าสมองจะใช้เว ลาเรียนรู้ในแต่ละวันมาก หากได้นอนกลางวันมันจะเหมือนกับการ “จัดระเบียบ” ข้อมูลข่าวสารให้เข้าที่เข้าทางขึ้นในติ่งหนึ่งของสม องที่เรียกว่า “ฮิปโปแคมปัส(Hippocampus)”

เจ้าติ่งสมองส่วนนี้ผมชอบเรียกว่า “ม้าน้ำ” เพราะหน้าตามันเหมือนใช่หยอกอยู่ดูจากรูปที่หามาให้ด ูได้ครับ

ซึ่งผมเองหลับตานึกตาที่ท่านอาจารย์วอล์คเกอร์แห่งตั กสิลา เอ๊ย...ยูซีเบิร์กลีย์ท่านบอกแล้วก็เห็นภาพ “ตู้จดหมาย” ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หรือท่านจะลองนึกถึงช่องเก็บจดหมายในอีเมลท่านก็ได้ค รับ

สมองมีช่องเก็บจดหมายย่อมๆไว้ตู้หนึ่ง ซึ่งถ้าเก็บไว้ทุกอย่างตั้งแต่เกิด ตั้งแต่โน้ตขอตังค์แม่, เมลง้อแฟน, เมลอ้อนกิ๊ก, แผ่นพับโฆษณา,ซองกฐินผ้าป่า,เปียแชร์และอีกสารพัด ตู้จะต้องรับภาระแออัดขนาดไหน คงล้นแล้วล้นอีกไม่มีทีเก็บ บุรุษไปรษณีย์มาก็ส่ายหน้าเพราะว่าจดหมายเก่าก็ยัง “ปลิ้น” ออกมายังไม่ได้ล้างป่าช้า หนำซ้ำของใหม่ก็ทยอยเข้ามามาก ชวน “บ้า” ได้ง่ายๆ

เมื่อมันเป็นในหัวคนถึงทำให้บางคนถึงขั้น “สติแตก” ไปไงครับ เพราะเหลือที่จะรับข้อมูลข่าวสารที่กระหน่ำเข้ามาจนแ ม้ขณะลมหายใจนี้ เลยสำแดงออกมาแบบบ้าๆบอๆ

เพราะสมองรวนโอเวอร์โหลด แต่ก็มีผู้ที่เข้ามาโปรดเอาไว้ก่อนไม่ให้สัญญาวิปลาส ไปเสียก่อนนั่นก็คือ “การนอน” ที่ว่านี้ เดชะบุญที่ธรรมชาติสร้างการนิทราเข้ามาเป็นพระเอกในห ัวใจเรา ให้เข้ามาเป็นฮีโร่ยามสมองร้องขอ

เพราะว่าถ้าได้ “หลับลึก” ดีเป็นระยะก็จะทำให้สมองได้จัด “ช่องจดหมาย” ของตัวได้ว่าจะเอาเรื่องไหนเข้าเรื่องไหนออก เหมือนกับช่องรังนกเก็บจดหมายในออฟฟิศ เรื่องกระจิริดก็เอาออก แยกไปใส่โฟลเดอร์สัพเพเหระจิปาถะมโนสาเร่ ก็ว่าไป ส่วนเรื่องไหนสำคัญต้องการการ “ตกผลึก” ก็จะฝึกให้เก็บเอาไว้ในแฟ้มสมองอย่างมีระเบียบพร้อมท ี่จะเรียกใช้ได้

ทั้งหลายทั้งปวงนี้เกิดขึ้นขณะ “นิทรา” เท่านั้นเอง

ซึ่งถึงตอนนี้บางท่านอาจสงสัยว่าแล้วทำไมต้องเป็น “กลางวัน” ซึ่งเป็นเวลาที่อาจไม่สะดวกนักเพราะเจ้านายไม่รักไม่ ปลื้ม

ขออย่าลืมครับว่าการนอนกลางคืนของคนปัจจุบันนั้นมัน “คุณภาพด้อย” กว่าแต่ก่อนมาก มีทั้งเสียง,แสงแยงตาแถมยังนอนดึกแล้วมีเครียดอีก หลายท่านจึงมีอาการนอนไม่หลับเป็นเสมือนเพื่อนสนิท ซึ่งพิษมันจะออกในช่วงกลางวันให้หนักหัว เหนื่อยง่าย ง่วงหาวนอนตอนประชุมหรือที่น่ากลัวสุดก็คือ “หลับใน” ตอนขับรถ

ซึ่งการได้งีบกลางวันอย่างมีคุณภาพจะเหมาะกับท่านเหล ่านี้มากหรือแม้แต่คนที่หัวถึงหมอนตอนกลางคืนหลับฟื้ ดีอยู่แล้ว ถ้าได้นอนกลางวันอีกสักนิดก็จะคิดอ่านการงานได้ดีขึ้ น ช่วย “จัดกลุ่ม” ความจำได้เป็นระยะ

เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องคอยกด “บันทึก(Save)” งานไว้เป็นระยะกันหาย สมองจะจดจำได้ง่ายครับถ้ามีช่วงพักเบรกให้นอนกลางวัน ด้วย และก็ช่วยท่านที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองได้นอนกลางคืนหลับ ดีหรือเป็นสมาชิกชมรมนิทราชาคริตคือหลับๆตื่นๆ ก็จะได้ฟื้นศักยภาพสมองอีกครั้งเมื่อได้นอนกลางวัน

วิธีสังเกตง่ายๆว่าท่านต้องการ “งีบกลางวัน” เพื่อจัดสรรช่องจดหมายในสมองหรือไม่ให้ดูจากอาการ “ง่วง” ก็ได้ครับ สำหรับคนที่ไม่ได้หาเรื่องนอนจริงๆถ้ายิ่งง่วงกลางวั นบ่อยๆก็แปลว่าสมองร้องขอแล้ว อย่ารอเพิกเฉยทีเดียวครับ สงสารสมองที่เหมือนเครื่องร้อนต้องการผ่อนบ้าง แม้จะไม่ได้จ้างมานอนก็ตาม.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น