วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของวงจรน้ำยา

หลักการทำงานของวงจรน้ำยา


 เป็นบล๊อกเกี่ยวกับระบบปรับอากาศแล้ว ก็ต้องมีเรื่องที่สำคัญที่ลืมไม่ได้เลยครับ ก็คือหลักการทำงานของแอร์ ในบทความนี้ขอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ “วงจรน้ำยา”กันก่อนครับ ก่อนที่จะไปรู้ลึก รู้จริงในเรื่องอื่นๆกันต่อไปครับโดยหลักการ ทำงานของวงจรน้ำยาส่วนประกอบที่สำคัญนั้นได้แก่
   1.Compressor
   2.Condenser
   3.Filter drier
   4.Capillary tube
   5.Evaporator
    นี่เป็นส่วนประกอบสำคัญในวงจรน้ำยา ซึ่งแต่ละตัวมีหน้าแต่แตกต่างกันไป แต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน หากขาดส่วนใดส่วนหนีง หรือส่วนประกอบไหนชำรุดเสียหายก็ จะทำให้วงจรน้ำยาทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเรามาเริ่มทำความเข้าใจกันเลยนะครับ
    วงจรน้ำยาเริ่มต้นที่ Compressor ทำหน้าที่อัดน้ำยาซึ่งมีสถานะเป็นไอแรงดันสูงประมาณ 250-300 pisg. ผ่านท่อไปยัง Condenser ที่หน้าที่ควบแน่นน้ำยาที่เป็นไอให้กลายเป็นของเหลว โดยการระบายความร้อนออกจากน้ำยา และผ่านอุปกรณ์ลดความชื้นและกรองเศษอื่นที่ไม่ใช้น้ำยา ก็คือ drier Filter หลังจากนั้นน้ำยาก็ไหลผ่านท่อออกจากชุด Condensing unit ไปยัง Fan coil unit    ก่อนที่จะน้ำยาจะผ่านเข้าสู่ Fan coil unit น้ำยาจะถูกลดแรงดันลงด้วย Capilary tube เกลือแค่ปรมาณ40-70psig.  อุณหภูมิลดลงเหลือแค่ 4-6 องศาเซลเซียล และเปลี่ยนสถานะเป็นไอด้วยการใช้พัดลมระบายความเย็นออกมา และน้ำยาในสถานะเป็นไอก็ถูกดูดกลับสู่Compreesser และเริ่มต้นวงจรน้ำยาอีกครั้งหนึ่ง
     อย่างไรก็ตามวงจรน้ำยาอาจ มีอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นมาตามลักษณะแอร์ที่เปลี่ยนไป ขนาดบีที่ยูที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้ส่วนประกอบต่างๆเปลี่ยนประเภทไป แต่ทั้งนี้ลักษณะและลำดับขั้นก็เหมือนเดิมนะจ๊ะ
  

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น