วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทำไงดี! ขากรรไกรผิดปกติ

ทำไงดี! ขากรรไกรผิดปกติ

โดย..ทพญ.จินดา ลีลารัศมี งานทันตกรรม
เวลาที่เราหัวเราะ หรืออ้าปากกว้าง ๆ แล้วไม่สามารถหุบปากลงได้ อาจเกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร ความ ผิดปกติของขากรรไกรมีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสบฟันที่ผิดปกติ ถอนฟันหลังแล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอม เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะและใบหน้า เป็นโรคข้อเสื่อม มีสุขนิสัยที่ผิดปกติ เช่น นอนกัดฟัน ไถฟันขณะที่มีภาวะเครียด


ท่า 1 ใช้กำปั้นดันคางในแนวดิ่งพร้อมกับ ออกแรงอ้าปากเล็กน้อย ค้างไว้ 10 วินาที


อาการที่ พบได้บ่อยคือ ปวดบริเวณหน้า หู กราม ขมับ และจะปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อขากรรไกรทำหน้าที่เคี้ยวอา หาร หาว พูด หรือถูกกดบริเวณนั้น บางครั้งอาการปวดอาจร้าวไปที่คอ ไหล่ และหลังได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อต่อที่เชื่อมระหว่างขากรรไกรล ่างและกะโหลกศีรษะอยู่ ในตำแหน่งด้านข้างของใบหน้าที่บริเวณหน้าหูทั้งสองข้ างนั่นเอง นอกจากนี้อาจมีเสียงคลิกและเสียงกรอบแกรบ ตามมาด้วยอาการอ้าปากได้น้อยลง บางรายขากรรไกรค้าง และอาจมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวร่วมด้วย
การ รักษา ในกรณีที่เกิดจากการสบฟันที่ผิดปกติ ต้องรักษาด้วยการจัดฟันและอาจต้องผ่าตัดขากรรไกรซึ่ง เป็นเทคนิคของทาง ศัลยกรรมช่องปาก หรือกรณีถอนฟันหลังไปหลายซี่ สามารถรักษาด้วยการใส่ฟันปลอมเพื่อให้มีการสบฟันที่ด ี


ท่า 2 ใช้กำปั้นดันคางด้านซ้ายพร้อมกับ ออกแรงอ้าปากเยื้องด้านซ้าย ค้างไว้ 10 วินาที


ส่วนผู้ที่นอนกัดฟันเป็นประจำ มักจะเจ็บปวดกล้ามเนื้อที่ใช้หุบปากบริเวณหน้าหูหรือ มุมกรามขณะตื่นนอนหรือ เคี้ยวอาหาร เราสามารถลดอาการปวด โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมือซ้ายและขวา ทำการนวดกดจุดที่ปวด 15 นาที สลับด้วยการประคบอุ่น 15 นาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ดีขึ้น ช่วยให้อ้าปากได้กว้างขึ้น ร่วมด้วยการใส่เครื่องมือกันกัดฟันเพื่อลดแรงกัดช่วย ให้อาการปวดกล้ามเนื้อ ลดลงได้
ในรายที่มีอาการขากรรไกรค้าง แก้ไขด้วยการขยับขากรรไกรล่างไปซ้ายทีขวาทีสลับกันจน เข้าที่ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้อาจต้องหาผู้ช่วย โดย ผู้ป่วยนั่งตัวตรงก้มหน้าเล็กน้อยและให้ผู้ที่มาช่วย เหลือยืนหันหน้าเข้าหา กัน นำนิ้วโป้งของทั้งสองมือวางที่ตำแหน่งฟันกราม นิ้วที่เหลือทั้งสี่รองใต้ขากรรไกร จากนั้นออกแรงกดขากรรไกรลงในแนวดิ่งเพื่อให้ข้อต่อขา กรรไกรเคลื่อนพ้นสัน กระดูกที่ติดอยู่ แล้วดันไปด้านหลังให้ขากรรไกรเคลื่อนกลับเข้าที่ รวมทั้งพยายามพูดคำว่า "เอ็ม" เพื่อลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวและข้ อต่อขากรรไกร เพราะในขณะที่พูด ฟันทุกซี่จะไม่กระแทกกัน วิธีการบริหารข้อต่อขากรรไกรทุกวันสามารถลดโอกาสเกิด ภาวะขากรรไกรค้างได้ เพราะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ยึดบริเ วณข้อต่อขากรรไกร โดยทำการบริหารวันละ 5-10 ครั้งๆ ละ 3 ท่า


ท่า 3 ใช้กำปั้นดันคางด้านขวาพร้อมกับ ออกแรงอ้าปากเยื้องด้านขวา ค้างไว้ 10 วินาที


นอกจาก นี้ผู้ที่มีอาการขากรรไกรค้าง ควรงดอาหารที่แข็ง เหนียว ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง งดเล่นเครื่องดนตรีชนิดเป่าและงดการดำน้ำ เพราะการใช้ฟันหน้ากัดเครื่องดนตรีหรือท่อช่วยหายใจ จะทำให้มีแรงกดต่อขากรรไกรมากขึ้น รวมทั้งรับประทานยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบในรายที่มีอาการเฉียบพลันและรุนแรง
ว่าแต่อย่าชะล่าใจ เมื่อได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว ก็อาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีก แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้ผู้ป่วยอ้าปากได้ กว้างขึ้น ปากไม่ค้างเวลาขยับ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวและระบบการย่อยอาหา รดีขึ้น
เรียบเรียง: นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น