"โรคพังผืดข้อมือ" ความเสี่ยงของสาวออฟฟิศ
เมื่อต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานอย่าง "สาวออฟฟิศ" ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน จดรายงานการประชุม ดูแลเอกสารต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นงานที่ต้องใช้มือหยิบจับทั้งสิ้น ถึงแม้งานบางอย่างจะไม่ได้ออกแรงมากมาย แต่ก็ต้องทำบ่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน แต่ใครจะคิดว่าในการทำงานแต่ละวันอาจจะได้รับของแถมท ี่เป็นอันตรายต่อร่าง กายมาด้วย โดยเฉพาะบริเวณ "ข้อมือ" ที่เป็นส่วนสำคัญในการทำงาน
โรคที่กำลังพูดถึงนี้ คือ "โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ" ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทั บโดยพังผืดที่หนาตัว ขึ้นที่บริเวณข้อมือด้านฝ่ามือ ทำให้เกิดมีอาการชาที่ฝ่ามือ โดยเฉพาะ นิ้วโป้ง ชี้ และกลาง รวมทั้งมี
อาการปวดและอ่อนแรงที่มือตามมา และสามารถทำ
"นพ. พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส"
ให้เกิดความพิการที่มือได้ "นพ. พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส" ผู้ อำนวยการสถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวให้ความรู้กับโรคนี้ว่า ส่วนใหญ่โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือจะพบในผู้ หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 80% สำหรับวัยที่มีความเสี่ยงสูงคือตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป คนไทยมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าคนยุโรป โดยมักจะเป็นทั้งสองมือและอาจจะมีอาการเกิดขึ้นพร้อม กันได้
"โรค นี้ไม่ใช่โรคที่เกิดทางพันธุกรรม แต่สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ข้อมือและมือ ในลักษณะซ้ำๆ กันเป็นเวลานานๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่การเงิน ครู คนงานโรงงาน เป็นต้น หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้มีการอักเสบของพังผืด กระดูกข้อมือหักแล้วไปกดทับเข้าไปในโพรงข้อมือ"
ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกและข้อท่านนี้ ยังบอกอีกว่า นอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น โรคนี้อาจเกิดจากอาการติดเชื้อโรคในโพรงข้อมือ โรครูมาตอยด์ หรือก้อนเนื้องอกในโพรงข้อมือก็ได้ โดยอาการเริ่มแรกจะมีอาการชาทั่วๆ ไปที่ฝ่ามือเหมือนเหน็บกิน ต่อมาอาการจะชัดเจนขึ้นที่นิ้วโป้ง ชี้ กลางและนิ้วนางก็มีอาการปวดร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีอาการชาและปวดรุนแรง โดยมักจะเป็นเวลากลางคืน ที่สำคัญจะเป็นมากเวลาใช้มือ เช่น หวีผม กวาดบ้าน ถุบ้าน ทำงานบ้านเป็นต้น หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ไปรักษาหรือพบแพทย์ กล้ามเนื้อฝ่ามือจะลีบลง ทำให้มืออ่อนแรงและมีอาการผิดรูปหรือพิการได้
สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ ทำได้โดยการตรวจร่างกาย การตรวจการนำคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาทข้อมือ การเอกซเรย์กระดูกข้อมือ ส่วนการรักษานพ. พูนศักดิ์ แนะนำว่า หากเป็นระยะเริ่มแรก ควรงดการใช้งานมือข้างนั้น หลีกเลี่ยงการยกของหนักและการใช้มือในลักษณะซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ หรือใช้หมอนรองข้อมือเวลาทำงานและเวลานอน ทั้งนี้ต้องทำร่วมกับการกินยาแก้อักเสบ หากอาการรุนแรงและปวดชามาก อาจต้องฉีดยาที่บริเวณข้อมือ เพื่อลดอาการอักเสบภายในโพรงข้อมือ
"การ ฉีดยาดังกล่าวส่วนใหญ่แพทย์จะไม่แนะนำให้ฉีดเกิน 3 ครั้ง เนื่องจากเป็นสารพวก สเตียรอยด์ ซึ่งอาจมีผลเสียได้ถ้าได้รับในปริมาณมาก ส่วนการรักษาขั้นสุดท้าย คือการผ่าตัดโดยแพทย์จะทำการผ่าตัดพังผืดให้ขาดออก เพื่อลดการกดทับที่เส้นประสาทข้อมือปัจจุบันการผ่าตั ดที่ข้อมือ สามารถทำได้โดยอาศัยกล้องส่องภายในข้อมือ ซึ่งการผ่าตัดโดยใช้กล้องช่วงนี้ จะทำให้แผลมีขนาดเล็กและหายเร็ว อาการปวดไม่มาก และสามารถใช้งานมือได้เร็วขึ้น" ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกและข้อฯ อธิบาย
อย่าง ไรก็ตาม หากไม่ต้องการของแถมเป็นโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ ข้อมือ ก็ควรจะปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยการหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือการใช้งานมือซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ และต้องหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะการออกกำลังกายบริเวณข้อมือด้วย มิฉะนั้นคุณสาวๆ ออฟฟิศทั้งหลายอาจจะต้องเสี่ยงกับโรคนี้ได้ทุกเวลา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น