วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เปิดเคล็ด-เมนูสู้หนาว รักษาผิวพรรณ-สุขภาพ

เปิดเคล็ด-เมนูสู้หนาว รักษาผิวพรรณ-สุขภาพ


ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว พร้อมคำพยากรณ์ว่า ปีนี้อาจจะหนาวกว่าหลายปีที่ผ่านมา สิ่งสำคัญที่มากับความหนาวเย็น คือ ผลที่ส่งต่อสภาพผิวพรรณของร่างกาย ทั้งสภาพผิวที่แตกลอกเป็นขุย อาการไข้หวัด และรังแค
ภญ.ดร.สุภากรณ์ ปิติพร แห่งมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร แนะนำวิธีดูแลสุขภาพจากภาย ในสู่ภายนอก ว่า ผิวที่แห้งทำให้แก่เร็ว เกิดเป็นไฝ ฝ้า กระ ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ชั้นในของผิวหนังได้ง่าย ระคายเคือง แพ้ง่าย เกิดการกำเริบของโรคเรื้อนกวาง หรือเกิดเป็นโรคเซ็บเดิมขึ้นได้
เราป้องกันไม่ให้ผิวแห้งด้วยวิถีไทย ซึ่งมักจะมีตำรับอาหารเฉพาะ ส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่มีไขมันบ้าง เช่น ข้าวปุ๊กหรือข้าวตำงา ข้าวหลาม บัวลอยไข่หวาน จะได้ประโยชน์จากกะทิที่มีความมัน
ส่วนรำหมกกล้วย มีคุณประโยชน์จาก รำข้าว วิตามินอี ช่วยให้ผิวยืดหยุ่น เต่งตึง ลดจุดด่างดำและริ้วรอย ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัย ฯลฯ อีกทั้งยังมีแร่ธาตุสำคัญ อาทิ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ช่วยเพิ่มพลังงานการเผาผลาญ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของสมอง เพิ่มการทำงานของระบบฮอร์โมน กล้วยน้ำว้ายังมีกรดอะมิโน อาร์จินิน ฮีสติดิน วิตามินเอ วิตามินบี ร่วมทั้งแมกนีเซียม โพแทสเซียม ช่วยป้องกันโรคความดัน อาหารเหล่านี้จะทำให้ต่อมไขมันมีการขับน้ำมันธรรมชาต ิเคลือบผิวไว้ ไม่ให้แห้งแตก


ภญ.ดร.สุภากรณ์ กล่าวต่อไปว่า ในอดีตเราจะใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันงารวมทั้งน้ำมั นหมู ทาเคลือบผิวไม่ให้ผิวแตก ปัจจุบัน นิยมใช้ครีม โลชั่น แต่ถ้าอากาศหนาวมากควรใช้เนื้อครีมที่มีความเข้มข้นข ึ้น หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรงเกินไป ไม่ควรล้างหน้า ล้างมือบ่อยเกินไป


ผู้สูงอายุอาจใช้มะขามเปียกอาบน้ำแทนสบู่ และควรป้องกันไม่ให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง ด้วยการดื่มน้ำมากๆ รับประทานสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เพื่อขับเสมหะให้มาเคลือบบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจใ ห้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ หากเยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง จะทำให้เชื้อโรค ฝุ่นละออง เข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เกิดการติดเชื้อ คนสมัยก่อนจึงนิยมรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้มดอกแค แกงบอน เป็นต้น ถ้ามีอาการไอ จะนิยมทำยาแก้ไอจากผลไม้สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขามป้อมและสมอไทย

"หน้าหนาวนี้เราควรทำร่างกายให้อบอุ่นด้วยการกินอาหาร ที่มีรสเผ็ดร้อน เพิ่มธาตุไฟให้ร่างกาย เช่น ข้าวหมาก พืชในตระกูลขิงข่า พริก ดีปลี พริกไทย ตะไคร้ ใบกะเพรา เป็นต้น หมอยาไทยยังนิยมใช้ยาตำรับที่มีรสร้อน เช่น พิกัดตรีสาร ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีรสร้อน คือ รากเจตมูลเพลิงแดง เถาสะค้าน รากช้าพลู ช่วยในการไหลเวียนของเลือด ช่วยย่อยอาหาร และขับเสมหะ ฯลฯ นอกจากนี้ ต้องทำให้ร่างกายแข็งแรง เพราะสภาพอากาศที่หนาวเย็น แสงแดดน้อย ทำให้เชื้อไวรัสหลายชนิดมีความทนทานในสภาพแวดล้อมได้ ดี การทำร่างกายให้มีภูมิต้านทานนั้น ต้องได้รับแสงแดด เพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ทำให้มีภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามินซี วิตามินอี ผักผลไม้ที่มีสี เช่น ดอกอัญชัน พืชตระกูลเบอร์รี่ มะขามป้อม เป็นต้น" ภญ.ดร.สุภากรณ์ กล่าว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น