วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาการที่มารดาหลังคลอดควรมาพบแพทย์

อาการที่มารดาหลังคลอดควรมาพบแพทย์

หรือพยาบาลทันทีหรือภายใน 12 ชั่วโมง หลังคลอด
1. มีเลือดออกมาทางช่องคลอด (ใน 1 ชั่วโมง ชุ่มผ้าอนามัย 1 อัน และเลือดที่ออกมาเป็นก้อน)
2. มีอาการปวดท้องมาก (ปวดจนบิด) โดยไม่สัมพันธ์กับอาหารที่รับประทานเข้าไป
3. มีไข้ หรือหนาวสั่น วัดอุณหภูมิร่างกายได้เกินกว่า 38 องศาเซลเซียส
4. มีอาการเจ็บปวด หรือแสบขัดเวลาถ่ายปัสสาวะ
5. มีน้ำหนอง หรือเลือดไหลจากแผลฝีเย็บ แผลฝีเย็บบวมแดงมากขึ้นจนปวดถ่วงไปถึงทวารหนัก
6. ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น
7. น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น มีสีแดงตลอดภายใน 15 วันหลังคลอด
8. มีอาการปวดศีรษะรุนแรง
9. มีก้อนที่เต้านม หรือเต้านมบวมแดง

________________________________________

น้ำคาวปลา
? ตามปกติจะมีประมาณ 2 สัปดาห์
? น้ำคาวปลาจะเปลี่ยนสีเป็นระยะ จากแดงจัดเป็นชมพู และน้ำตาลดำ ภายใน 10 วัน หลังคลอด ต่อจากนั้นจะเป็นสีขาวออกเหลืองๆ ในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 หลังคลอด
? ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในช่องคลอด ระหว่าง 2 - 4 สัปดาห์หลังคลอด
? ประมาณ 4 - 8 สัปดาห์หลังคลอดจะมีประจำเดือนมาครั้งแรก บางรายจะมีน้อย กว่าปกติ เพราะรังไข่ยังปรับตัวไม่ดี
? ในมารดาที่ให้นมบุตร มารดาจะไม่มีประจำเดือนนาน 6 - 8 เดือนหลังคลอด (ต้องให้นมบุตรอย่างสม่ำเสมอ) ทำให้มารดามีบุตรยากในขณะนั้น (แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการคุมกำเนิด)
________________________________________


การดูแลฝีเย็บ
? มารดาจะรู้สึกเจ็บฝีเย็บประมาณ 2 - 3 สัปดาห์หลังคลอด (ปกติแผลจะหายภายใน 7 วันหลังคลอด และไหมที่เย็บจะละลายเอง)
? ควรทำความสะอาดแผลด้วยสบู่ หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อนๆ กับน้ำประปาจาก ด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ย้อนจากก้นมาด้านหน้า เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากทวารหนักมาสู่แผลและ ช่องคลอดได้
? ถ้ามีอาการเจ็บปวด หรืออักเสบมาก อาจแช่ด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ ส่วน ผสมโดยประมาณ น้ำยา 1 ช้อนโต๊ะ (15 cc.) กับน้ำอุ่น 1 ลิตร หรือด่างทับทิม (ละลายน้ำจนเป็นสีชมพูอ่อน) แช่นานประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น แผลก็จะหายเร็ว
________________________________________

การปฏิบัติตัวของมารดาที่เป็นริดสีดวง
? ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก
? อาจประคบด้วยถุงน้ำแข็ง เพื่อลดความเจ็บปวด
? ป้องกันไม่ให้ท้องผูก โดยดื่มน้ำ และรับประทานผัก ผลไม้ ที่กากใยอาหาร (ไฟเบอร์) สูง เช่น ลูกพรุน สัปปะรด ส้ม แครอท ผักคะน้า
? ถ้าปวดมาก อาจใช้ครีมหรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง
________________________________________

การปฏิบัติตัวของมารดาขณะท้องผูก
? รับประทานผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากๆ
? ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยให้กากใยอาหารทำงานดีขึ้น
? หากอาการไม่ดีขึ้น อาจดื่มน้ำพรุนสกัดเข้มข้น ซึ่งมีกากใยอาหารสูง และ เป็นยาระบายตามธรรมชาติ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย
? อาจใช้ยาถ่ายตามแพทย์สั่ง (ควรงดให้นมบุตรระหว่างใช้ยาทุกชนิด)
________________________________________

อาการปวดมดลูก
การปวดมดลูก เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับมารดาใน 1 - 2 วันแรกหลังคลอด แต่ถ้ามีอาการปวด มากจนทนไม่ไหว ให้รับประทานยาแก้ปวดได้ (มารดาท้องหลังๆ จะมีอาการปวดมดลูกบ่อยกว่า มารดาท้องแรก)
________________________________________

การมีเพศสัมพันธ์
จะเริ่มได้ต่อเมื่อ 4 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว (หลังจากมารดาได้รับการตรวจหลังคลอด) เพราะปากมด ลูกยังไม่ปิดจะมีอาการติดเชื้อได้ง่าย
________________________________________

การคุมกำเนิด
ทำได้หลายวิธี เช่น การกินยาเม็ด การฉีดยา การใช้ห่วงอนามัย หรือถุงยางอนามัย การฝังยาใต้ผิว หนัง การทำหมันหญิงและชาย คู่สามีภรรยาจึงควรปรึกษากันว่าต้องการจะมีบุตรอีกเมื่อไร แล้วจึงปรึก ษาแพทย์หรือพยาบาลที่ทำหน้าที่นี้ เพราะยาคุมกำเนิดจะไม่ใช้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคหัวใจ โรคความดัน โลหิตสูง และห่วงอนามัยจะไม่ใช้กับสตรีที่มีการอักเสบของช่องคลอดหรือโพรงมดลูก ถ้าสามีทำหมันต้อง ใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นหลังทำหมัน 3 เดือน หรือใน 15 ครั้งที่มีเพศสัมพันธ์หลังทำหมัน เพราะอาจจะ ยังมีเชื้ออสุจิตกค้างอยู่ในถุงเก็บหรือท่อส่งได้
________________________________________

การทำความสะอาดร่างกาย
คุณแม่ควรอาบน้ำจากฝักบัว หรือใช้วิธีตักอาบ ไม่ควรอาบน้ำแบบแช่ (ไม่ว่าจะเป็นอ่างน้ำสมัยใหม่ หรือ แม่น้ำลำคลอง) จนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดแล้ว

ในรายมารดาที่ผ่าท้องคลอด ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยวิธีเช็ดตัวจนกว่าจะตัดไหมและสังเกตว่าแผล แห้งดีแล้ว ในเวลากลางวัน ควรใช้ผ้ารัดท้องเวลาเดิน แผลจะได้ไม่เคลื่อนไหว กระทบกระเทือน เพื่อลด อาการเจ็บปวดลงด้วย (เพราะขณะนี้หน้าท้องยังหย่อนมาก) ยกเว้นเวลานอนไม่ต้องใช้ผ้ารัดท้อง
________________________________________

การพักผ่อนมารดาควรพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวัน ควรได้หลับ พักผ่อนบ้างขณะทารกหลับ ถ้าไม่หาโอกาสพักผ่อนจะทำให้มารดารู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น
________________________________________

กิจกรรมคุณแม่หลังคลอดไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักของทารก และไม่ควรออกแรงเบ่งมากๆ หรือ นานๆ ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อยๆ และไม่ควรขับรถโดยไม่จำเป็น

ส่วนการออกกำลังกาย จะทำได้บ้างในบางท่าที่ไม่หนักมาก และควรมีข้อจำกัดจนกว่าจะได้รับการตรวจ หลังคลอดจากแพทย์เมื่อครบ 4 สัปดาห์หลังคลอดแล้ว ถ้าจะให้ได้ผลดี ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวัน ละ 2 ครั้ง จะทำให้น้ำคาวปลาออกดี และมดลูกเข้าอู่เร็ว
________________________________________

บริหารเพื่อทรวงอกสำหรับคุณผู้หญิงยุคอินเตอร์เนตทั้งหลาย ความคิดเรื่องการผ่าตัดทรวงอกเพื่อเพิ่มความสวยงามและ ความมั่นใจให้แก่ตัวเอง ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่น่ากลัว ไม่ยุ่งยาก ไม่น่าอับอาย และไม่เสียเวลาเท่า ไหร่เลย

อาจเป็นเพราะความก้าวหน้าของวิทยาการทางแพทย์ของมนุษยชาติในปัจจุบัน รวมทั้งเวลาอันรวดเร็ว ในการมองเห็นผลงานได้อย่างชัดเจน และค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงนัก (ในความเห็นของผู้มีกำลังจ่ายได้) อันเป็นแรงผลักดัน และเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจเหล่านี้
แต่หากมองดูให้ดีๆ ความสวยที่จะได้มาจากการผ่าตัดนี้ จะต้องแลกด้วยความเสี่ยงอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อนอันไม่พึงปรารถนา ยังไม่นับเรื่องการดูแลตลอดกาลหลัง การผ่าตัด ผลแทรกซ้อนจากวัสดุที่ใช้เสริม รอยแผลเป็นหรือผลของรูปทรงหลังการผ่าตัดที่อาจจะ ไม่ตรงตามที่คาดเอาไว้อีกด้วย ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ควรคิดคำนึงให้ดีเสียก่อนทั้งสิ้น
วิธีที่ดีที่สุดที่ดิฉันอยากจะแนะนำแก่บรรดาสาวใหญ่สาวน้อยทุกท่าน เพื่อให้ได้ทรวดทรงของเต้านม อันงดงาม คือ การฟิตเต้าด้วยการบริหาร ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะโลหิตที่จะฉีดแรงขึ้นจากภาวะปกติ ในการหล่อเลี้ยงผิวหนังและอวัยวะเพศทั้งหมดของร่างกาย แล้ว ยังไม่มีความเสี่ยงอันใดที่จะต้องพะวงถึงอีกด้วย
วิธีบริหารง่ายๆ ในการฟิตเต้าเพื่อให้ได้เต้าที่ฟิตอย่างธรรมชาติ (ซึ่งไม่หย่อนยาน เพราะมีกล้ามเนื้อ ที่แข็งแรง) ที่จะขอเสนอแนะมี 2 ท่า คือ
ท่าที่ 1
1 ยืนหลังตรงหรือนอนหงาย ยกมือขึ้นพนมอยู่หว่างอก สูดหายใจเข้าเต็มปอด
2 กลั้นหายใจ ดันมือทั้งสองข้างเข้าหากัน เกร็งอยู่อย่างนั้นให้นานประมาณ 10 วินาที
3 ผ่อนหายใจออก หยุดเกร็งแขนและพักประมาณ 5 วินาที แล้วเริ่มข้อ 1 ใหม่ (ต้องทำช้าๆ)
ควรทำวันละประมาณ 30 ครั้ง หรือมากกว่าตามกำลังและตลอดไป ท่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอก เกิดความแข็งแกร่ง ช่วยลดและชะลอการหย่อนยานของทรวงอก และยังเป็นการเสริมสร้างกล้าม เนื้อของหน้าอกอีกด้วย
ท่าที่ 2
1 ยืนหลังตรง ยกมือทั้งสองข้างขึ้น งอข้อศอกให้แขนขนานกับหน้าอก คว่ำมือลง ปลายนิ้วกลางชนกัน
2 ออกแรงดึงแขนทั้งสองข้างพร้อมกันไปด้านหลังทั้งยังงอข้อศอกอยู่
3 ดันแขนกลับไปท่าเดิม ทั้งยังงอข้อศอกอยู่
4 ทำซ้ำข้อ 2 และ 3 อีกสองครั้ง 5 แล้วออกแรงดึงแขนทั้งสองข้างพร้อมกัน กลับไปด้านหลังอีกครั้งพร้อมสะบัด แขนให้ตรง แล้ววกลับไปทำข้อ 1 ใหม่
ควรทำวันละ 30 ครั้ง หรือมากกว่าและตลอดไป ท่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอกกระชับขึ้น และช่วย ให้หน้าอกใหญ่หรือเล็กก็ได้ คือ ถ้าทำช้าๆ ก็จะทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้น แต่ถ้าทำเร็วๆ ก็จะเป็นการลด ขนาดของหน้าอกให้เล็กลง
นอกจากคุณจะไม่เสียเงินทอง (กองโต) ไม่ต้องทนเจ็บทนปวดจากการผ่าตัด และไม่ต้องพะวงถึงผล ที่จะตามมาจากวัสดุที่สอดใส่เข้าไปในร่างกายคุณแล้ว คุณยังมีทรวงอกที่งดงามขนาดเหมาะสมกับตัว และนุ่มนิ่มตามธรรมชาติอย่างเต่งตึงอีกด้วยค่ะ ขอกระซิบเคล็ดลับอีกข้อ คือ ควรใส่ยกทรงไว้เสมอ ยกเว้นเวลานอน
________________________________________

อาหารมารดาบางรายอาจยังไม่นึกอยากรับประทานอาหาร จึงควรได้รับวิตามินเสริมต่อไปจนกว่าจะได้ตรวจ หลังคลอด มารดาหลังคลอด ควรได้รับอาหารครบหมู่ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตนเอง และเพื่อทารก (ในรายที่ให้นมบุตร)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น