ปัญหาผมร่วง
เส้นผม แต่ละเส้นงอกมาจากเซลล์ในชั้นหนังแท้ เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ผลิตเส้นผม ซึ่งเมื่อแบ่งตัวมากขึ้น จะดันเซลล์เหล่านี้ขึ้นไปทางข้างบนจนอยู่เหนือผิวหนัง เซลล์ผมที่ถูกผลักขึ้นมาเรื่อยๆ จะค่อยๆ ตาย ขณะเดียวกันก็ผลิตสารเคอราตินพอกพูนขึ้น สารเคอราตินเรียงตัวเป็นเส้นขนาน เมื่อถูกผลักให้สูงขึ้นๆ จะมีการเรียงตัวแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นแกนกลาง ชั้นนอก และชั้นผิวนอกสุด
ชั้นแกนกลางมีเซลล์รูปร่างกลม ระหว่างเซลล์มีช่องอากาศแทรกอยู่ ทำให้แลดูคล้ายฟองน้ำ ส่วนชั้นนอกมีเซลล์รูปร่างกระสวยซึ่งเป็นเซลล์ตายที่เต็มไปด้วยเคอราติน ชั้นนอกเป็นชั้นที่แสดงลักษณะของผม ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนนุ่ม สีสันและความอวบอ้วนหรือความผอมของผม ส่วนชั้นผิวนอกสุดเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์ตายทับซ้อนกัน 7 ชั้น แต่ละเซลล์เต็มไปด้วยสารเคอราตินใสๆ ส่วนชั้นผิวนอกสุดมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลาผายออก ช่วยทำให้การดึงผมหลุดออกมาได้ยาก เส้นผมส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมามีแต่เซลล์ตายที่เต็มไปด้วยสารเคอราติน ส่วนของเม็ดสีที่ทำให้ปรากฏเป็นสีของเส้นผมนั้นอยู่ที่ส่วนชั้นแกนกลาง เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายหยุดสร้างสารเม็ดสี ก็จะทำให้ผมเริ่มหงอก
เส้นผม เปรียบเสมือนแขนขาของผิวหนังเส้นผม และขนในแต่ละส่วนของร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คนเรามีขนหลายชนิด ภาษาไทยเรียกขนบนหัวว่า "ผม" แต่ขนที่บริเวณอื่น จะเรียกว่า "ขน" ส่วนภาษาอังกฤษเรียกว่า "hair" หมดทุกที่ หน้าที่หลักของเส้นผม คือ ป้องกันผิวหนังหรือศีรษะไม่ให้เสียความร้อนมากเกินไป ปกติหนังศีรษะของคนเรามีเลือดมาเลี้ยงมาก และทำหน้าที่ควบคุมการกระจายความร้อนของร่างกาย
การเจริญเติบโตของเส้นผม
เส้นผมแต่ละเส้นมีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเจริญงอกงาม ระยะหยุดงอก และระยะพักเส้นผมบนหนังศีรษะยาวประมาณเดือนละ 1 เซ็นติเมตร โดยระยะเจริญงอกงาม จะมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3 ปี หรืออาจถึง 7 ปี เช่นในเด็ก โดยเฉลี่ยเส้นผมใช้เวลาในการเจริญเติบโตทั้งสิ้น 5 ปี เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระยะเจริญงอกงามนี้จะสั้นลงๆ คนที่ไม่ตัดผมเลยตลอดชีวิต จะมีผมยาวประมาณ 36
เซ็นติเมตร
เมื่อสิ้นสุดระยะเจริญงอกงาม ก็จะเข้าสู่ระยะหยุดงอก ในระยะนี้เซลล์ในชั้นหนังแท้จะแยกออกมา ทำให้เส้นผมขาดอาหารมาเลี้ยง ระยะนี้พบว่าต่อมผมจะหดเล็กลง และหยุดทำงานนานประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะพัก ซึ่งกินเวลาประมาณ 3 เดือน เส้นผมเส้นนั้นจึงหลุดร่วงไป เส้นผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่
ในมนุษย์ร้อยละ 90 ของเส้นผมบนหนังศีรษะ เป็นเส้นผมที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในระยะเจริญงอกงาม ส่วนอีกร้อยละ 10 ที่เหลือจะอยู่ในระยะพัก สำหรับสัตว์ส่วนใหญ่มีขนเป็นขนเส้นหนาที่เริ่มงอกพร้อมกัน แล้วงอกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงฤดูกาลที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผมร่วงพร้อมกัน ส่วนในมนุษย์จะแตกต่างออกไป ผมบนศีรษะแต่ละเส้นมีวัฏจักรของตัวเองไม่ขึ้นต่อกัน
ชนิดของเส้นผม
1. ขนเส้นหนา เป็นขนที่มีลักษณะหนาและทำให้แลดูดีบนศีรษะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ขนเทอร์มินัล" นอกจากจะพบที่ศีรษะแล้ว อาจจะพบได้ที่หัวหน่าว รักแร้ หน้าอก ขนเส้นหนาเป็นเส้นผมชนิดที่จะมีปัญหาเมื่อขาดไป ทำให้เกิดภาวะผมบาง หรือหัวล้าน
2. ขนอ่อน มักพบตามหน้า ตามลำตัว และแขนขาของเด็กและผู้หญิง
3. ขนอุย พบตามตัวทารก มักไม่มีสี แม้ว่าขนอุยนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก แต่เป็นต้นตอที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นขนเทอร์มินัลหรือขนอ่อนได้
ปริมาณเส้นผมบนหนังศีรษะ
บนหนังศีรษะมีเส้นผมรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000 เส้นผมสีบลอนด์จะมีเส้นผมมากกว่าสีอื่น โดยมีประมาณ 140,000 เส้น ผมสีเข้มมีประมาณ 105,000 เส้น ในขณะที่ผมสีแดงจะมีประมาณ 90,000 เส้น นอกจากเส้นผมบนหลังศีรษะแล้ว ทั่วร่างกายมีขนและผมรวมทั้งสิ้น 5 ล้านเส้น ในร่างกายของคนเรา ส่วนที่ไม่มีผมและขนเลย คือ ริมฝีปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทั้งนี้พบว่าในแต่ละวันเส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะไม่เกิน 100 เส้น
ปัจจัยที่ทำให้ผมร่วง
1. อายุ พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น การเจริญเติบโตของเส้นผมจะโตช้าลง
2. พันธุกรรม ปัจจุบันพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องค่อนข้างซับซ้อนกว่าที่เคยเข้าใจกับ การแสดงออกของยีนเกิดขึ้นทั้งจากที่ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ รวมทั้งค้นพบว่ายีนที่เกี่ยวข้องมีมากกว่า 6 ชนิด
3. ฮอร์โมนเพศชาย
ผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจน
ผมร่วงชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากพันธุกรรมผมร่วงชนิดที่เป็นผลจากฮอร์โมนเพศชาย ที่มีชื่อเรียกว่าแอนโดรเจน ทั้งนี้พบว่าระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายที่สูงทำให้ผมร่วง ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนแอนโดรเจนเช่นกัน ดังนั้นทั้งผู้ชายและ ผู้หญิงจึงเกิดปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจนได้ทั้งสองเพศ
ผมร่วงจากยาเคมีบำบัด
ผมร่วงที่เป็นผลจาก การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดเป็นสิ่งที่พบเห็นและทราบกันดี แม้ว่าไม่ได้เกิดขึ้นกับยาเคมีบำบัดทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
นอกจากยาเคมีบำบัดยังมียาอื่นที่ทำให้ผลร่วงได้เหมือนกัน เช่น ยารักษาโรคเก๊าต์ ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต และยาโรคหัวใจบางชนิด การใช้วิตามินเอในขนาดสูงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้มาก และมักจะดีขึ้นเมื่อหยุดยาแล้ว
ผมร่วงขณะตั้งครรภ์
ในเพศหญิงขณะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดมาเป็นเวลานานอาจเกิดอาการผมร่วง ได้ซึ่งจะหายเป็นปกติหลังเลิกกินยาเม็ด คุมกำเนิดหรือหลังคลอดบุตรประมาณ 4-6 เดือน
ผมร่วงจากโรคภัยไข้เจ็บ
สาเหตุของผมร่วงที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่ต้องนึกถึงเสมอ โรคที่พบได้บ่อยๆ ในเวชปฏิบัติที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง ได้แก่ โรคของต่อมไทรอยด์ โรคลูปุส โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อราที่หนังศีรษะ
อีกภาวะที่ต้องนึกถึงเสมอ คือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้ในผู้หญิงที่เสียเลือดจากการมีประจำเดือนครั้งละมากๆ ภาวะขาดโปรตีนในร่างกาย รวมทั้งโรคเรื้อรังทั้งหลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้
การรักษา
1. การรักษาผมร่วงขึ้นกับสาเหตุเป็นสำคัญ
2. การใช้ยาทา minoxidil วันละสองครั้งช่วยเพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่บริเวณรากผมและโคนเส้นผม
3. ยาต้านฤทธิ์ฮอร์โมนแอนโดรเจนชื่อ finasteride ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและจากการศึกษาวิจัยพบว่า ได้ผลในการรักษาพอสมควร ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดคือยานี้ทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ ห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์อย่างเด็ดขาด
4. ในกรณีผมร่วงเป็นหย่อมๆ แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่เพื่อรักษาอาการดังกล่าว หรือพิจารณาใช้ยาแอนทราลินชนิดทา หรือทาร์ชนิดทา ช่วยในการรักษาเพิ่มเติม
ที่มา: BangkokHealth.com
ชั้นแกนกลางมีเซลล์รูปร่างกลม ระหว่างเซลล์มีช่องอากาศแทรกอยู่ ทำให้แลดูคล้ายฟองน้ำ ส่วนชั้นนอกมีเซลล์รูปร่างกระสวยซึ่งเป็นเซลล์ตายที่เต็มไปด้วยเคอราติน ชั้นนอกเป็นชั้นที่แสดงลักษณะของผม ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนนุ่ม สีสันและความอวบอ้วนหรือความผอมของผม ส่วนชั้นผิวนอกสุดเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์ตายทับซ้อนกัน 7 ชั้น แต่ละเซลล์เต็มไปด้วยสารเคอราตินใสๆ ส่วนชั้นผิวนอกสุดมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลาผายออก ช่วยทำให้การดึงผมหลุดออกมาได้ยาก เส้นผมส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมามีแต่เซลล์ตายที่เต็มไปด้วยสารเคอราติน ส่วนของเม็ดสีที่ทำให้ปรากฏเป็นสีของเส้นผมนั้นอยู่ที่ส่วนชั้นแกนกลาง เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายหยุดสร้างสารเม็ดสี ก็จะทำให้ผมเริ่มหงอก
เส้นผม เปรียบเสมือนแขนขาของผิวหนังเส้นผม และขนในแต่ละส่วนของร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คนเรามีขนหลายชนิด ภาษาไทยเรียกขนบนหัวว่า "ผม" แต่ขนที่บริเวณอื่น จะเรียกว่า "ขน" ส่วนภาษาอังกฤษเรียกว่า "hair" หมดทุกที่ หน้าที่หลักของเส้นผม คือ ป้องกันผิวหนังหรือศีรษะไม่ให้เสียความร้อนมากเกินไป ปกติหนังศีรษะของคนเรามีเลือดมาเลี้ยงมาก และทำหน้าที่ควบคุมการกระจายความร้อนของร่างกาย
การเจริญเติบโตของเส้นผม
เส้นผมแต่ละเส้นมีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเจริญงอกงาม ระยะหยุดงอก และระยะพักเส้นผมบนหนังศีรษะยาวประมาณเดือนละ 1 เซ็นติเมตร โดยระยะเจริญงอกงาม จะมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3 ปี หรืออาจถึง 7 ปี เช่นในเด็ก โดยเฉลี่ยเส้นผมใช้เวลาในการเจริญเติบโตทั้งสิ้น 5 ปี เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระยะเจริญงอกงามนี้จะสั้นลงๆ คนที่ไม่ตัดผมเลยตลอดชีวิต จะมีผมยาวประมาณ 36
เซ็นติเมตร
เมื่อสิ้นสุดระยะเจริญงอกงาม ก็จะเข้าสู่ระยะหยุดงอก ในระยะนี้เซลล์ในชั้นหนังแท้จะแยกออกมา ทำให้เส้นผมขาดอาหารมาเลี้ยง ระยะนี้พบว่าต่อมผมจะหดเล็กลง และหยุดทำงานนานประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะพัก ซึ่งกินเวลาประมาณ 3 เดือน เส้นผมเส้นนั้นจึงหลุดร่วงไป เส้นผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่
ในมนุษย์ร้อยละ 90 ของเส้นผมบนหนังศีรษะ เป็นเส้นผมที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในระยะเจริญงอกงาม ส่วนอีกร้อยละ 10 ที่เหลือจะอยู่ในระยะพัก สำหรับสัตว์ส่วนใหญ่มีขนเป็นขนเส้นหนาที่เริ่มงอกพร้อมกัน แล้วงอกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงฤดูกาลที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผมร่วงพร้อมกัน ส่วนในมนุษย์จะแตกต่างออกไป ผมบนศีรษะแต่ละเส้นมีวัฏจักรของตัวเองไม่ขึ้นต่อกัน
ชนิดของเส้นผม
1. ขนเส้นหนา เป็นขนที่มีลักษณะหนาและทำให้แลดูดีบนศีรษะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ขนเทอร์มินัล" นอกจากจะพบที่ศีรษะแล้ว อาจจะพบได้ที่หัวหน่าว รักแร้ หน้าอก ขนเส้นหนาเป็นเส้นผมชนิดที่จะมีปัญหาเมื่อขาดไป ทำให้เกิดภาวะผมบาง หรือหัวล้าน
2. ขนอ่อน มักพบตามหน้า ตามลำตัว และแขนขาของเด็กและผู้หญิง
3. ขนอุย พบตามตัวทารก มักไม่มีสี แม้ว่าขนอุยนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก แต่เป็นต้นตอที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นขนเทอร์มินัลหรือขนอ่อนได้
ปริมาณเส้นผมบนหนังศีรษะ
บนหนังศีรษะมีเส้นผมรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000 เส้นผมสีบลอนด์จะมีเส้นผมมากกว่าสีอื่น โดยมีประมาณ 140,000 เส้น ผมสีเข้มมีประมาณ 105,000 เส้น ในขณะที่ผมสีแดงจะมีประมาณ 90,000 เส้น นอกจากเส้นผมบนหลังศีรษะแล้ว ทั่วร่างกายมีขนและผมรวมทั้งสิ้น 5 ล้านเส้น ในร่างกายของคนเรา ส่วนที่ไม่มีผมและขนเลย คือ ริมฝีปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทั้งนี้พบว่าในแต่ละวันเส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะไม่เกิน 100 เส้น
ปัจจัยที่ทำให้ผมร่วง
1. อายุ พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น การเจริญเติบโตของเส้นผมจะโตช้าลง
2. พันธุกรรม ปัจจุบันพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องค่อนข้างซับซ้อนกว่าที่เคยเข้าใจกับ การแสดงออกของยีนเกิดขึ้นทั้งจากที่ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ รวมทั้งค้นพบว่ายีนที่เกี่ยวข้องมีมากกว่า 6 ชนิด
3. ฮอร์โมนเพศชาย
ผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจน
ผมร่วงชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากพันธุกรรมผมร่วงชนิดที่เป็นผลจากฮอร์โมนเพศชาย ที่มีชื่อเรียกว่าแอนโดรเจน ทั้งนี้พบว่าระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายที่สูงทำให้ผมร่วง ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนแอนโดรเจนเช่นกัน ดังนั้นทั้งผู้ชายและ ผู้หญิงจึงเกิดปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจนได้ทั้งสองเพศ
ผมร่วงจากยาเคมีบำบัด
ผมร่วงที่เป็นผลจาก การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดเป็นสิ่งที่พบเห็นและทราบกันดี แม้ว่าไม่ได้เกิดขึ้นกับยาเคมีบำบัดทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
นอกจากยาเคมีบำบัดยังมียาอื่นที่ทำให้ผลร่วงได้เหมือนกัน เช่น ยารักษาโรคเก๊าต์ ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต และยาโรคหัวใจบางชนิด การใช้วิตามินเอในขนาดสูงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้มาก และมักจะดีขึ้นเมื่อหยุดยาแล้ว
ผมร่วงขณะตั้งครรภ์
ในเพศหญิงขณะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดมาเป็นเวลานานอาจเกิดอาการผมร่วง ได้ซึ่งจะหายเป็นปกติหลังเลิกกินยาเม็ด คุมกำเนิดหรือหลังคลอดบุตรประมาณ 4-6 เดือน
ผมร่วงจากโรคภัยไข้เจ็บ
สาเหตุของผมร่วงที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่ต้องนึกถึงเสมอ โรคที่พบได้บ่อยๆ ในเวชปฏิบัติที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง ได้แก่ โรคของต่อมไทรอยด์ โรคลูปุส โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อราที่หนังศีรษะ
อีกภาวะที่ต้องนึกถึงเสมอ คือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้ในผู้หญิงที่เสียเลือดจากการมีประจำเดือนครั้งละมากๆ ภาวะขาดโปรตีนในร่างกาย รวมทั้งโรคเรื้อรังทั้งหลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้
การรักษา
1. การรักษาผมร่วงขึ้นกับสาเหตุเป็นสำคัญ
2. การใช้ยาทา minoxidil วันละสองครั้งช่วยเพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่บริเวณรากผมและโคนเส้นผม
3. ยาต้านฤทธิ์ฮอร์โมนแอนโดรเจนชื่อ finasteride ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและจากการศึกษาวิจัยพบว่า ได้ผลในการรักษาพอสมควร ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดคือยานี้ทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ ห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์อย่างเด็ดขาด
4. ในกรณีผมร่วงเป็นหย่อมๆ แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่เพื่อรักษาอาการดังกล่าว หรือพิจารณาใช้ยาแอนทราลินชนิดทา หรือทาร์ชนิดทา ช่วยในการรักษาเพิ่มเติม
ที่มา: BangkokHealth.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น