วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีกระตุ้นพัฒนาการ

วิธีกระตุ้นพัฒนาการ

นั่งทรงตัวเอง
อายุ : 6 เดือน

วิธีการคัดกรอง
1. จับเด็กนั่ง (ท่านั่งอาจจะเป็นท่านั่งคล้ายนั่งสมาธิ,ท่านั่งเหยียดเท้าก็ได้) โดยนั่งบนพื้นที่มีผ้ารองหนาพอประมาณและมือเด็กจะต้องไม่ยันพื้น หรือพ่อ-แม่จะต้องไม่จับมือเด็ก
2. พ่อ-แม่ สังเกตความสามารถของเด็กในการทรงท่าไม่ให้หกล้ม ไม่ใช้มือยันพื้น
ผ่าน : หากเด็กทำได้ หรือทดสอบ 3 ครั้ง เด็กทำได้ 2 ครั้ง
วิธีการกระตุ้น
1. จับเด็กนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงด้านหลังใช้สายรัดผูกเด็กติดกับพนักพิงด้านหลังพ่อพยุงเด็กไว้ไม่ให้ล้มอาจใช้หมอนรองข้างลำตัวของเด็กทั้งซ้าย-ขวา
2. จับเด็กนั่งระหว่างเก้าอี้ที่ทำเป็นมุมฉาก ใช้สายรัดตัวเด็กด้านหลังของเด็กติดกับมุมฉากเพื่อช่วยพยุงตัว
3. จับเด็กนั่งระหว่างขาของพ่อ-แม่ ซึ่งจัดท่าขัดสมาธิโดยพ่อ-แม่จับบริเวณด้านหลังและสะโพกของเด็กหากเด็กทรงตัวได้จับเด็กโน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า-หลัง ข้างซ้ายขวาเบา ๆ ช้า ๆ
4. พ่อ-แม่ จับเด็กนั่งกับพื้น จัดเท้าเด็กให้ห่างออกไปคล้าย ๆ ท่านั่งสมาธิ พ่อ-แม่จับลำตัวเด็กก่อน จากนั้นเลื่อนมือลงมาจับที่สะโพกของเด็ก หากเด็กทรงตัวได้ จับเด็กให้โน้มศีรษะและลำตัวไปด้านหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา เบา ๆ อย่างช้า ๆ
5. จับเด็กนั่ง (เป็นท่าที่ต่อจากที่ 3,4) หากเด็กพอทรงตัวได้แล้ว จับเด็กนั่งท่าขัดสมาธิจับแขนทั้งสองข้างของเด็กยันพื้น เพื่อช่วยพยุงลำตัวของเด็ก
6. จากท่าที่ 3,4 หากเด็กทรงตัวได้แล้ว ลดการพยุงตัวเด็กลง ขระเดียวกันโยกศีรษะลำตัวเด็กไปทิศทางต่าง ๆ เช่น ด้านหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา โดยเริ่มดยกเด็กเบา ๆ ก่อน จากนั้นจึงเพิ่มการโยกขนาดปานกลาง หากเด็กพอทรงตัวได้ให้เด็กเล่นของเล่นในท่านั่ง
คว้าจับแท่งไม้ไว้ในมือข้างละแท่น
อายุ : 6 เดือน
วิธีการคัดกรอง
1. จับเด็กนั่ง เช่นเดียวกับท่านั่งทรงตัว
2. พ่อ-แม่ ยื่นแท่งไม้ให้เด็กจับข้างละแท่ง ทั้งด้านซ้าย-ขวา โดยยื่นทีละด้าน พ่อ-แม่สังเกตการเอื้อมมือจับแท่งไม้
ผ่าน : หากเด็กทำได้ หรือทดสอบ 3 ครั้ง เด็กทำได้ 2 ครั้ง
วิธีการกระตุ้น
1. พ่อ-แม่ ใช้มือลูบด้านหลังมือของเด็ก เพื่อให้เด็กแบนิ้วออก จากนั้นนำของชิ้นโตขนาดพอควรสอดเข้าที่ฝ่ามือเด็ก กระตุ้นให้เด็กกำสิ่งของ หรือกำมือ พ่อ-แม่
2. วางวัตถุสิ่งของให้ห่างออกไปจากวิธีการข้อที่ 1 กระตุ้นให้เด็กเอื้อมมือจับวัตถุสิ่งของ หากเด็กไม่เอื้อม นำวัตถุเข้าใกล้เด็กพอเด็กเอื้อมถึง จากนั้นกระตุ้นเด็กให้เรียนรู้การเอื้อมมือจับวัตถุ
3. นำของเล่นที่มีสีสัน ผูกไว้ที่เปลเด็กหรือด้านหน้าเด็กระยะพอที่เด้กจะเอื้อมถึงจากนั้น พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด็ก จับมือเด็กคว้าของเล่นที่อยู่ด้านหน้า
4. พ่อ-แม่ นำแท่งไม้สีสด ๆ ให้เด็กมอง จากนั้นกระตุ้นให้เด็กคว้าแท่งไม้ไว้ในมือทีละข้าง หากเด็กกระทำไม่ได้ พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด็ก จับมือเด็กกระทำ หากเด็กทำได้ให้คำชมเชย โดยการยิ้ม ชมเด็ก ปรบมือให้เด็ก อาจจะให้รางวัลแก่เด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรม่นั้น ๆ แต่หากเด็กทำได้ พ่อ-แม่ ผู้ปกครองลดการจับมือเด็กกระทำอาจจะเป็นการออกคำสั่งให้เด็กทำ
สนใจฟังคนพูด และดูของเล่น
อายุ : 6 เดือน
วิธีการคัดกรอง
1. จับเด็กในท่านั่ง หันหน้าเข้าหาพ่อ-แม่หรือของเล่น
2. พ่อ-แม่ พูดคุยกับเด็ก หรือนำของเล่นมาเล่นกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กร่วมเล่นของเล่น จากนั้นสังเกตพฤติกรรม ความสนใจ การตอบสนองต่อคำพูดของ พ่อ-แม่ และของเล่น
ผ่าน : หากเด็กทำได้ หรือทดสอบ 3 ครั้ง เด็กทำได้ 2 ครั้ง
วิธีการกระตุ้น
1. ถือของเล่นที่มีสีสด ๆ เช่น แดง ตรงหน้าเด็กในระดับสายตา กระตุ้นให้เด็กมอง หากเด็กมองวัตถุหรือของเล่นแล้วเคลื่อนวัตถุของเล่นไปด้านซ้าย-ขวา ขึ้นลง
2. ถือกระดิ่ง หรือวัตถุที่มีเสียง สั่นกระดิ่ง ตรงหน้าเด็กในระดับสายตา กระตุ้นให้เด็กมองแล้วเคลื่อนกระดิ่งไปด้านซ้าย-ขวา ขึ้น-ลง ตามวิธีการข้อที่ 1
3. พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด็กพูดกับเด็กบ่อย ๆ เสมือนหนึ่งว่าเด็กรู้ภาษากับผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ฟังขณะพูดอาจจะจับศรีษะเด็กเบา ๆ เพื่อให้เด็กสนใจและฟัง หากเด็กออกเสียง พ่อ-แม่ ผู้ปกครองเด้กควรออกเสียงเลียนแบบเด็ก เพื่อกระตุ้นทักษะด้านการฟังการพูดของเด็ก
4. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง พูดกับเด็กตรงด้านหน้าระดับสายตาของเด็ก พูดกับเด็กหรือพ่อ-แม่ เคลื่อนริมฝีปาก ท่าทาง อ้าปาก ห่อปาก แล้วออกเสียงกระตุ้นให้เด็ก มอง ฟัง และเลียนแบบการเคลื่อนไหวริมฝีปาก โดยการกระทำซ้ำบ่อย ๆ หากเด็กมองแต่ไม่สามารถจะเคลื่อนไหว อวัยวะภายในปากพ่อ แม่ผู้ปกครองจับเด็กกระทำและลดการจับเด็กกระทำ อาจจะเป็นการออกคำสั่งให้เด็กทำ
เปล่งเสียงโต้ตอบผู้อื่น
อายุ : 6 เดือน
วิธีการคัดกรอง
1. จัดเด็กให้หันหน้าเข้าหาพ่อ-แม่ และสายตาเด็กอยู่ในระดับมองเห็นหน้า พ่อ-แม่
2. พ่อ-แม่ สนทนาพูดคุยกับเด็กเสมือนเด็กรู้เรื่องที่สนทนาหรือพูดคุย จากนั้นรอดูพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กเปล่งเสียงโต้ตอบออกมา
ผ่าน : หากเด็กตอบได้ หรือทดสอบ 3 ครั้ง เด็กทำได้ 2 ครั้ง
วิธีการกระตุ้น
1. ขณะที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเล่นกับเด็ก หรือขณะที่กำลังทำงาน ควรให้เสียงแก่เด็ก อาจจะเรียนชื่อเด็ก เพื่อกระตุ้นการฟัง ให้เด็กมั่นใจว่า พ่อ-แม่ ผู้ปกครองอยู่ใกล้เด็ก
2. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ยิ้มกับเด็ก เล่นกับเด็กเพื่อเด็กจะได้มีความสนุกสนาน
3. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ออกเสียงสระให้เด็กฟัง แต่ละสระพูดหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ ให้เวลาและโอกาสเด็กพูดตาม
4. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง เคลื่อนไหวริมฝีปาก ออกเสียงสระ เช่น อ้าปาก ออกเสียง อา ห่อปาก ออกเสียง อู และทำท่ายิ้ม ออกเสียง อี นอกจากนั้นอาจจะเน้นเสียง ริมฝีปาก เช่น แม่ ริมฝีปากชิดกันก่อนจากนั้น อ้าปากพร้อมเปล่งเสียง ม. หรือเสียง แม่ กระตุ้นให้เด็กมอง แล้วเปล่งเสียงโต้ตอบผู้พูด เสียงแต่ละเสียงที่พูดกับเด็กควรซ้ำ ๆ กัน ประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งควรรอเวลาให้เด็กโต้ตอบเด็กอาจจะเคลื่อนไหวริมฝีปากของตนเอง เช่น อ้าปาก ห่อปาก ก็แสดงว่าเด็กมีการพัฒนา แม้ว่าเสียงระยะแรกเลียนแบบได้ไม่ถูกต้อง พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง อาจจะจับบริเวณริมฝีปากให้อ้าปากห่อริมฝีปาก เลียนแบบ หากเด็กเริ่มเลียนแบบได้ ลดการจับบริเวณริมฝีปากบอกเด็กให้กระทำเอง และให้คำชมเชยเด็ก
จ้องมองหรือร้องไห้ เมื่อเห็นคนแปลกหน้า
อายุ : 6 เดือน
วิธีการคัดกรอง
1. นำเด็กออกไปเล่นนอกบ้าน
2. พ่อ-แม่ สังเกตพฤติกรรมเมื่อพบคนแปลกหน้า หรือเมื่อมีคนแปลกหน้าทำท่าจะอุ้มเด็ก
ผ่าน : หากเด็กทำได้ หรือทดสอบ 3 ครั้ง เด็กทำได้ 2 ครั้ง
วิธีการกระตุ้น
1. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเล่นวัตถุอื่น ๆ อาจจะเป็นเล่นน้ำ เล่นดิน หรือสนามหญ้า เพื่อกระตุ้นการรับรู้หลาย ๆ ด้านแก่เด็ก
2. พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเปิดโอกาสให้เด้กได้มีโอกาสได้พบกับบุคคลต่าง ๆ ในครอบครัว เช่น พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย และบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว ไม่ใช่เพียงให้แม่อุ้มคนเดียว เช่นเดียวกันวิธีการอุ้มเด็ก พ่อ-แม่ ควรอุ้มเด็กให้หันด้านหน้า ออกจากอกแม่ (เอาด้านหลังของเด็กอยู่ด้านหน้าของแม่) เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเห็นสิ่งที่แปลกใหม่
3. พ่อ-แม่ นำเด็กออกเล่นข้างนอก กับเด็กรุ่นเดียวกันหรือเด็กอื่น ๆ แม้ว่าเด็กจะเล่นร่วมกลุ่มยังไม่ได้ก็ตามเพื่อให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
4. พ่อ-แม่ นำเด็กออกนอกบ้าน อาจจะเป็นสนามเด็กเล่น ให้โอกาสเด็กได้พบกับบุคคลมากหน้าหลายตา นอกจากสมาชิกภายในครอบครัว ระยะแรกอาจจะกลัวก็ตามหากเด็กลดการกลัว พ่อ-แม่ ผู้ปกครองควรให้รางวัล หรือชมเชยเด็ก
5. หากเด็กเปล่งเสียงออกมาเอง ขณะกำลังเล่น พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเลียนแบบเสียงของเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กพูดบ่อย ๆ หากเด็กพูดออกเสียงได้แล้ว อาจจะเปลี่ยนการเปล่งเสียงเป็นเสียงอื่น ๆ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น