จะเลือกซื้อ UPS คิดว่ารู้จัดมันดีพอแล้วหรือยัง?
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อ UPS
ขนาดกำลังไฟฟ้า (VA) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เป็นเท่าไร?
ขนาดกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ จะต้องไม่สูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS สามารถจ่ายได้ เช่น คอมพิวเตอร์ และจอสี 17 นิ้ว ใช้กำลังไฟประมาณ 300 VA ดังนั้น ควรเลือกใช้ UPS ขนาดกำลังไฟ 300 VA ขึ้นไป
ต้องการให้ UPS จ่ายพลังงานสำรองได้นานเท่าไร? (Backup Time)
โดยทั่วไป Backup Time จะมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ UPS และขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น UPS ขนาด 350 - 500 VA ซึ่งใช้แบตเตอรี่ 7 Ah จะสามารถจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ และจอสี 15 นิ้ว 1 จอ ได้นาน 15 - 30 นาที และหากเป็น UPS ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้ 25 - 40 นาทีเลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน)
มีซอฟต์แวร์พิเศษหรือไม่?
ซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นี้มีไว้เพื่อตรวจสอบสภาวะทางไฟฟ้าและการทำงานของ UPS โดยการสื่อสารระหว่าง UPS กับคอมพิวเตอร์ จะมีสายข้อมูลเชื่อมต่อกัน โดยทั่วไป ผู้ใช้มักไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องซอฟต์แวร์พิเศษนี้ เพราะอาจจะไม่ทราบถึงประโยชน์ ดังนั้น จะขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีเกิดไฟดับเป็นระยะเวลานานจนพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ของ UPS หมด โดยที่ไม่สามารถ Shutdown คอมพิวเตอร์ได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์พิเศษนี้จะช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ (Auto Save) และทำการ Shutdown คอมพิวเตอร์ของคุณให้ก่อนที่แบตเตอรี่ของ UPS จะหมดลง
การคำนวณขนาดของ UPS
การคำนวณขนาดกำลังจ่ายของ UPS ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ปฏิบัติดังนี้
ที่มา http://wanrat.exteen.com/20080229/ups
ขนาดกำลังไฟฟ้า (VA) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เป็นเท่าไร?
ขนาดกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ จะต้องไม่สูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS สามารถจ่ายได้ เช่น คอมพิวเตอร์ และจอสี 17 นิ้ว ใช้กำลังไฟประมาณ 300 VA ดังนั้น ควรเลือกใช้ UPS ขนาดกำลังไฟ 300 VA ขึ้นไป
ต้องการให้ UPS จ่ายพลังงานสำรองได้นานเท่าไร? (Backup Time)
โดยทั่วไป Backup Time จะมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ UPS และขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น UPS ขนาด 350 - 500 VA ซึ่งใช้แบตเตอรี่ 7 Ah จะสามารถจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ และจอสี 15 นิ้ว 1 จอ ได้นาน 15 - 30 นาที และหากเป็น UPS ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้ 25 - 40 นาทีเลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน)
มีซอฟต์แวร์พิเศษหรือไม่?
ซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นี้มีไว้เพื่อตรวจสอบสภาวะทางไฟฟ้าและการทำงานของ UPS โดยการสื่อสารระหว่าง UPS กับคอมพิวเตอร์ จะมีสายข้อมูลเชื่อมต่อกัน โดยทั่วไป ผู้ใช้มักไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องซอฟต์แวร์พิเศษนี้ เพราะอาจจะไม่ทราบถึงประโยชน์ ดังนั้น จะขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีเกิดไฟดับเป็นระยะเวลานานจนพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ของ UPS หมด โดยที่ไม่สามารถ Shutdown คอมพิวเตอร์ได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์พิเศษนี้จะช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ (Auto Save) และทำการ Shutdown คอมพิวเตอร์ของคุณให้ก่อนที่แบตเตอรี่ของ UPS จะหมดลง
การคำนวณขนาดของ UPS
การคำนวณขนาดกำลังจ่ายของ UPS ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ปฏิบัติดังนี้
- ทำรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS ทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์, จอ, โมเด็ม, สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ
- อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) เพื่อระบุถึงแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่ต้องการสำหรับใช้งาน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ด้านหลังของเครื่อง
- ให้คำนวณค่า VA โดยคูณค่า Volt และ Amps เข้าด้วยกัน
- อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดอาจให้ค่ามาในรูปของพลังงานไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ (Watt-W)
ให้แปลงกลับเป็นค่า VA โดยการคูณค่าวัตต์ด้วย 1.4
- รวมค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในรายการที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS
- เลือก UPS ที่จะสามารถจ่ายไฟได้พอเพียงต่อระดับค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด
ตัวอย่างการคำนวณจากสูตร
ต้องการคำนวณขนาดของ UPS ที่สามารถใช้กับ คอมพิวเตอร์ ขนาด 220 V 1.5 A, เครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 50 Watt และโมเด็ม ขนาด 20 Watt
จะได้ว่า
- VA ของคอมพิวเตอร์ ขนาด 220 V 1.5 A = 220 x 1.5 = 330 VA
- VA ของเครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 50 Watt = 50 x 1.4 = 70 VA
- VA ของโมเด็ม ขนาด 20 Watt = 20 x 1.4 = 28 VAVA รวม = 330 + 70 + 28 = 428 VA
ดังนั้น ขนาดของ UPS ที่สามารถต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย คือ 428 VA ขึ้นไป (หรือตรงกับผลิตภัณฑ์ LEONICS UPS รุ่น GREEN, OA Extra 525, ACURA 525 และ ASTRA 525)
หมายเหตุ: | โดยทั่วไปหากเลือก UPS ที่มีกำลัง VA เท่ากับค่า VA รวมของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปต่อพ่วงทั้งหมด UPS จะจ่ายไฟที่ Full Load และจะทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองได้ประมาณ 5 นาทีเท่านั้น หากต้องการระยะเวลาการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เพิ่มขึ้น ต้องขยายค่า VA ของ UPS หรือเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่ให้มากขึ้น |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น