การวัดมอสFET
การ ทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมด ก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน
การวัดหาขาเกต
1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. ให้ทำการวัดขาของเฟททีละคู่จนครบ 6 ครั้ง จะพบว่ามีขาอยู่ 1 คู่ ที่ไม่ว่าจะวัดอย่างไรก็จะมีค่าความต้าน
ทานขึ้น นั่นหมายความว่าขาคู่นั้นคือขา D กับขา S
3. ส่วนขาที่เหลือคือขา G เพราะมอสเฟทถูกสร้างให้ G เป็นขาลอย คือไม่มีการต่อขาเกตเข้ากับเนื้อสารใดๆ
เลย ดังนั้นเมื่อวัดเทียบกับขาอื่นๆ เข็มมิเตอร์จึงไม่ขึ้น
การวัดหาขาเดรนและซอร์ส
1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. วัดคร่อมไปที่ขา D และขา S เข็มมิเตอร์จะขึ้น จากนั้นให้ย้ายสายวัดสายใดสายหนึ่งไปแตะที่ขา G
3. จากนั้นให้นำสายวัดที่ไปแตะที่ขา G นำกลับมาจับที่ขาเดิม แล้วสังเกตุเข็มของมิเตอร์
- หากค่าความที่วัดได้มีค่าลดลงจากเดิมจนเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่าขานั้นคือขา D
- หากค่าความที่วัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม แสดงว่าขานั้นคือขา S
การหาชนิดของมอสเฟท
เมื่อทราบขาของมอสเฟตแล้วว่าขาใดคือขา D และขา S ให้สังเกตุสายของมิเตอร์ที่วัด
1. ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด เอ็น-แชนแนล
- ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา D ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา S
2. ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด พี-แชนแนล
- ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา S ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา D
การวัดมอสเฟทว่าดีหรือเสีย
ลักษณะอาการเสียของมอสเฟทมีอยู่ 3 แบบ
1. โครงสร้างภายในชอร์ทถึงกัน
ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะมีมากกว่า 1 คู่ที่เข็มของความต้านทานแสดงค่าออกมา (เข็มของมิเตอร์ขึ้นมากกว่า 1 คู่ )
2. โครงสร้างภายในขาด
ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะไม่มีคู่ใดเลยที่มีค่าความต้านทานแสดงให้เห็น (เข็มมิเตอร์ไม่แสดงค่าความต้านทานขึ้นเลย)
3. โครงสร้างภายใน(Bias)บกพร่อง
- ให้วัดคร่อมที่ขา D และขา S 1 ครั้ง จนเข็มมิเตอร์ชี้ค่าความต้านทานขึ้น
- จากนั้นนำสายวัดที่ขา D มาแตะที่ขา G แล้วนำกลับไปแตะที่ขา D อีกครั้ง
- ให้สังเกตุเข็มมิเตอร์ ถ้าค่าความต้านทานมีค่าลดลงจากเดิมจนมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จากนั้นเข็มมิเตอร์ค่อยชี้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ค่าเดิม แสดงว่ามอสเฟทนั้นดี แต่ถ้าแตะที่ขา G แล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่ามอสเฟทตัวนั้นโครงสร้างการไบอัสภายในเสีย
การทำงานของมอ สเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมด ก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน
FET ภาค 2การวัด เพาเวอร์มอสเฟท ต่อครับ......วิธีง่ายๆ
จับเจ้าตัวนอนหงายหันหน้ามาตรง ๆ ห้อยขาลงข้างล่าง ส่วนใหญ่ ขาจะเรียง G - S - D ตามลำดับ
(การวัดนี้ เป็นตัวอย่างการวัดเฟทแบบ N)
1. วัด G - S โดยตั้งมีเตอร์ x10k วัดสลับสายไป มา ต้องได้อินฟินิตี้ทั้งสองครั้ง
2. วัด D - S โดยตั้งมีเตอร์ x1
2.1 ต่อสาย + เข้า ขา S , สาย - เข้าขา G
2.2 ย้ายสาย - ไปที่ขา D ทันที ผล เข็มมิเตอร์ จะขึ้นเกือบสุด แล้วค่อย ๆ ลดลงจนสุด
3. วัดสลับสาย 3.1 ต่อสาย - เข้า S, ต่อสาย + เข้า G
3.2 ย้ายสาย - ไป D, ย้ายสาย + ไป S เข็มไม่กระดิกเลย
3.3 ย้ายสลับสายระหว่าง D - S เข็มจะขึ้น ชี้ที่ความต้านทานต่ำ ๆ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น