วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ท่านรู้จัก Q Code แล้วหรือ ?

ท่านรู้จัก Q Code แล้วหรือ ?

บทความจาก คู่มือนักวิทยุสมัครเล่น HS5AYO
ประมวล Q Code จะมีประกอบด้วยตัวอักษร 3 หลัก ซึ่งขึ้นต้นด้วย ตัว Q ความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือ สามารถอยู่ในรูปของคำถาม และอยู่ในรูปของคำตอบ Q Code จะเริ่มตั้งแต่ QAA ถึง QUZ โดยที่ QAA to QNZ ใช้สำหรับกิจการทางการบิน QOA-QOZ ใช้สำหรับกิจการทางทะเล ส่วน QRA-QUZ สำหรับทุกกิจการ รวมทั้งวิทยุสมัครเล่น
นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เขาใช้ Q Code กันอย่างไร
นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เขาใช้ Q Code กันอย่างไร
คำอธิบายมีดังนี้
  • ในสมัยที่การติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลขเป็นวิธีการที่ดีทีสุดนั้น การติดต่อระหว่างเรื่อเดินสมุทรกับสถานีชายฟั่ง หรือระหว่างเรือกับเรือ เรือกับเครื่องบิน การส่งข่าวสารระหว่างเมืองกับเมือง ประเทศกับประเทศ จะใช้วิธีการส่งแบบนี้ทั้งนั้น เมื่อผู้คนนิยมใช้วิทยุโทรเลขกันมาก ปริมาณข่าวสารจะมี Q - Code จึงถูกนำมาใช้เพื่อความรวดเร็ว ข้อความจะสั้นกระทัดรัดลง ยิ่งในขณะที่มีสัญญาณรบกวน สภาพอากาศ ไม่เอื้ออำนวย สัญญาณอ่อน การรับฟังข้อความยาว ๆ เป็นประโยคทำได้ยาก Q - Code จะช่วยขจัดปัญหาข้อนี้ได้เป็นอันมาก
  • ARRL ได้พร่ำสอนนักวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้นของเขาไว้ดังนี้ครับ ถึงแม้ว่า นักวิทยุสมัครเล่นบางท่านจะใช้ Q - Code ในการคุยกันแบบ Face To Face QSO ก็ช่างเขา เมื่อตัวท่านขึ้น ความถี่ออกอากาศสนธนากับคู่สถานี จงใช้ Q -Code เมื่อท่านใช้ CW หรือ รหัสมอร์สเท่านั้น ใช้ภาษาพูดปกติ (Plain Text) จะเป็นการดีที่สุด ไม่ต้องมานั่งนึกถึงความหมายให้เมื่อยตุ้ม
  • ความหมายของ Q - Code ต่าง ๆ ที่จะได้พบต่อไปนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว จะอยุ่ในรูปของคำถามที่สั้นกระทัดรัด
ยกตัวอย่าง สถานีชายฟังเคาะรหัสมอร์สไปยังเรื่อเดินสมุทรลำหนึ่งว่า "QRD ?" (Where are you bound for and where are you from? ) (มีเครื่องหมาย ? ต่อท้าย Q - Code) Q - Code นี้จะมีตัวอักษร 3 ตัวอักษร กับ 1 เครื่องหมายคำถาม เคาะรหัสมอร์แป๊ปเดียวก็จบ ความหมายของ QRD? มีดังนี้
ท่าน (เรือของท่าน) กำลังมุ่งหน้าไปที่ใด (ท่าเรืออะไร ประเทศอะไร และท่านมาจากที่ใด ?) เป็นคำถามที่ถามถึงเส้นทางการเดินเรือ เมืองไทยเราเอามาใช้ในความหมาย ว่า เป็นการเดินทาง ...ไป เช่น "ผมจะ QRD ไป กทม. ครับ" คำว่า QRD ก็ใช้ คำว่า ไป ก็ใช้ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง
"QRX ?" ก็เช่นกัน ความหมายจริง ๆ นั้น เป็นคำถามว่า ท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีกเมื่อใด ? (When will you call me again?) "ไม่ใช่รอเดี๋ยว"
"QTR ?" ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้กันไม่ถูกต้อง QTR คือขอทราบเวลาที่แน่นอน (What is the correct time?) ขอทราบไปทำไม ?
  • ในการติดต่อสื่อสารย่าน HF คู่สถานีบางคู่อยู่ไกลคนละซีกโลก การทราบเวลาของคู่สถานีจะเป็นการประหยัดเวลา ไม่ต้องมานั่งคิดคำนวณ ว่าบ้านเราต่างกับบ้านเขากี่ชั่วโมง รู้ได้ทันที
  • การทราบเวลาจะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนี้ คู่สถานีของเราอยู่ในช่วง เช้า สาย บ่าย เย็น หรือ ดึกแค่ไหน การกล่าวคำอำลาจะได้ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้อง ถ้าทางโน้นดึกมากก็ไม่ต้องคุยนาน
  • การทราบเวลา จะช่วยให้เรารู้ถึงสภาวะของการแพร่กระจายคลื่นที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้ความถี่ Mode และอื่น ๆ ได้อย่างพอเหมาะ
  • อื่น ๆ
นักวิทยุสมัครเล่นบ้านเรา ใช้คำว่า QTR เป็น "เวลา" การสนธนามักจะใช้คำว่า "ไม่มี QTR" "QTR ว่างเว้นผมจะไป EYEBALL ท่าน" ดังนี้เป็นต้น มันคนละเรื่องกันเลยครับ เมื่อใช้กันบ่อย ๆ ก็จะติดเป็นนิสัย พอไปสนธนากับนักวิทยุชาวต่างประเทศ Q - Code ของเมืองไทยก็จะไม่เหมือนใครในโลกนี้

บทความจากหนังสือเก่า

นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เขาใช้ Q Code กันอย่างไร
OM,YL มาจากคำว่า Old Man, Young Lady เป็นคำยกย่องหมายถึง ท่านสุภาพบุรุษ ถ้าแปลกันหนังสือกำลังภายในว่า ท่านผู้อาวุโส อย่าไปเข้าใจผิด แปลว่า คุณพ่อ นะครับ
นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เขาใช้ Q Code กันอย่างไร
R มาจากคำว่า Roger แปลว่ารับทราบข้อความ นิยมใช้ใน Mode CW มากว่า (ผมได้ยินบนความถี่ VHF เช่น ท่าน Roger ข้อความหรือไม่ Roger เลย ฯลฯ ประโยคเช่นนี้ไม่ถูกหลักภาษา Ham เลย)
นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เขาใช้ Q Code กันอย่างไร
QTR คือ What is the correct time? เขาถามว่าเวลานี้กี่นาฬิกาแล้ว เราต้องตอบ Time is ... (เวลาขณะถาม) Q - Code ตัวนี้ได้ใช้อย่างผิด ๆ เช่น QTR นี้ว่างหรือไม่ QTR นี้ไม่อยู่บ้าน ฯลฯ เป็นต้น
นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เขาใช้ Q Code กันอย่างไร
73 คำนี้ให้อ่านว่า เจ็ดสิบสาม ภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงว่า Seventy three ไม่ต้องมีคำต่อหน้าและเติมท้าย ระยะหลังมีการต่อคำท้ายด้วยคำว่า 61 (หกสิบหนึ่ง) บ่อย ๆ ทำไมต้องบอกให้เขารู้ว่าท่านเคยใช้งานความถี่อื่น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น