วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝนตกทีไร..ผนังชื้นทุกที

ฝนตกทีไร..ผนังชื้นทุกที

ฤดูร้อนที่มีฝนตกหนักเป็นพักๆ แบบนี้ หลายๆ คนต้องรับมือกับปัญหาที่มากับฝนหลากหลายรูปแบบเลยนะคะ นอกจากปัญหาส้วมราดไม่ลง หลังคารั่ว น้ำรั่วซึมตรงนั้นทีตรงนี้ที ..แล้วก็ยังมีอีกปัญหาที่พบกันบ่อยๆ คือปัญหาความชื้นที่ผนังค่ะ เล่นเอาสีโป่งพองบ้าง ลอกบ้าง หนักหน่อยก็เชื้อราขึ้น หรือตะไคร่ขึ้นกันเลยก็มี ซึ่งการแก้ปัญหาความชื้นที่ผนังนั้นก็มีหลายหลายรูปแบบค่ะ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าความชื้นมาได้อย่างไร?
...เมื่อฝนตกหนัก ปริมาณน้ำในดินก็มีมากตามไปด้วย น้ำส่วนหนึ่งก็แทรกซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีตที่แช่อยู่ในดิน  ไล่ขึ้นมาตามเสา คาน พื้น และผนัง ส่วนใหญ่มักจะพบบริเวณช่วงล่างของบ้านที่สูงจากพื้นขึ้นมาประมาณ 1 เมตร และมักจะพบในบ้านที่มีระดับดิน หรือระดับพื้นภายในบ้านต่ำกว่าระดับถนนหรือบริเวณข้างเคียงโดยรอบค่ะ เพราะธรรมชาติของน้ำที่มักจะไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในชั้นดินเช่นกัน ดังนั้นดินที่อยู่ใต้บ้านเหล่านี้จึงมีปริมาณน้ำมากกว่าบริเวณโดยรอบที่มีระดับดินสูงกว่าค่ะ

การแก้ไขปัญหานั้น อาศัยหลักการ 2 ข้อค่ะ...

ข้อแรกคือการลดปริมาณน้ำในดินบริเวณใต้พื้นบ้าน โดยการทำรางระบายน้ำใต้ดิน (Sub Drain) โดยรอบตัวบ้าน รางระบายน้ำใต้ดินนี้ควรอยู่ในระดับที่ลึกลงไปจากระดับดินใต้พื้นบ้านพอสมควร เพื่อให้น้ำไหลมาอยู่ในรางนี้แทน แล้วจึงหาทางระบายน้ำออกสู่ทางระบายน้ำสาธารณะค่ะ
รูปแบบรางระบายน้ำใต้ดินนั้นมักจะเป็นการขุดดินให้เป็นร่อง โดยไล่ระดับความลาดเอียงจากต้นรางถึงปลายรางด้วย รองด้วยแผ่น Geotextile โดยรอบราง จากนั้นให้ใส่หินก่อสร้างลงไป แล้วจึงวางท่อระบายน้ำซึ่งมีลักษณะเป็นรูพรุนที่ด้านบนและด้านข้าง จากนั้นก็ถมทับรอบท่อด้วยหินก่อสร้างอีกที ห่อแผ่น Geotextile คลุมหินก่อสร้างก่อนที่จะถมด้วยทราย ชั้นบนสุดจะเป็นกรวดหินแม่น้ำสวยๆ หรือจะปลูกหญ้า ก็แล้วแต่ชอบเลยค่ะ

02.jpg                      http://www.houstonlandscapedesigns.com/page/drainage-systems
ข้อที่สองคือการทำให้ผนังหายใจได้ คือการหาทางให้ความชื้นระเหยออกไปสู่ภายนอกบ้านได้นั่นเอง ซึ่งก็มีหลายวิธี โดยเน้นที่บริเวณผนังตั้งแต่ระดับดินจนสูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตรนะคะ วิธีการเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ค่ะ
ทาสีหายใจได้ เป็นสีที่มีคุณสมบัติในเนื้อสีที่ยอมให้ความชื้นระบายออกได้ แต่กั้นน้ำไม่ให้ซึมผ่านเข้ามา 
ทำผนังกรวดล้าง/ทรายล้าง/บุหินธรรมชาติ ..อย่าลืมทาน้ำยากันตะไคร่ด้วยนะคะ
ก่ออิฐโชวแนวไว้ไม่ต้องฉาบปูน ปิดทับด้วยการติดตั้งโครงคร่าวผนังแล้วตีไม้ฝาแบบซ้อนเกล็ด โดยติดตั้งมุ้งลวดกันสัตว์รบกวนไว้ด้านหลังด้วยนะคะ

01.jpg
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างการแก้ปัญหาความชื้นที่ผนังส่วนหนึ่งค่ะ ใครมีวิธีการอื่นๆ อยากจะแนะนำเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมให้ท่านเจ้าของบ้านที่ประสบปัญหาแบบนี้ เรียนเชิญเลย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น