วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Green Building Design guide แนวทางการออกแบบให้ได้การรับรองอาคารเขียว (2)

Green Building Design guide แนวทางการออกแบบให้ได้การรับรองอาคารเขียว (2)

การออกแบบอาคารเขียวให้ได้ตามเป้าหมายการรับรองระดับอาคารเขียวที่ไม่มีผลทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่ม หรือเป็นการออกแบบให้ได้ตามเป้าหมายการรับรองระดับอาคารเขียว โดยที่ทำให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิมเมื่อคำนวณตามมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ออกแบบสามารถมองภาพองค์รวมและสามารถบูรณาการองค์ประกอบต่างๆ ของอาคารเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างที่พื้นฐานที่สุด คือ การออกแบบเปลือกอาคารเพื่อลดค่าการถ่ายเทความร้อนที่มีผลทำให้ระบบปรับอากาศมีขนาดเล็กลงยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกมาก ตามหัวข้อการประเมินอาคารเขียวดังต่อไปนี้
4. วัสดุและการก่อสร้าง (Material and Resources) (14) หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ยากที่สุด เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการและจัดหาวัสดุก่อสร้างที่เป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในแง่ของการลงทุนที่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มสำหรับอาคารที่ก่อสร้างใหม่ การใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้ฉลากเขียวและวัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนที่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการในการก่อสร้างให้การขุดดินและการถมดินสมดุล การจัดการเศษวัสดุจากการก่อสร้าง เป็นเรื่องที่อาจไม่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มได้ หากสามารถนำเศษวัสดุไปใช้ประโยชน์ การจัดให้มีศูนย์บริหารจัดการขยะ เป็นเรื่องที่ไม่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่ม และอาจได้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิล
fiber cement.jpgผสมวัสดุ.jpg 
5. คุณภาพสภาวะแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality) (15) ความสำเร็จของหัวข้อนี้อยู่ที่ทักษะในการออกแบบ โดยมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การใช้แสงสว่างตามธรรมชาติ คุณภาพอากาศภายในอาคาร และการควบคุมสารระเหยที่เป็นพิษในอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่จัดการได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างในเรื่องของการใช้แสงสว่างตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพสภาวะแวดล้อมในอาคาร เพราะแสงสว่างตามธรรมชาติช่วยใน การควบคุมเชื้อโรค ช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพที่ดี มีสภาพจิตใจที่ดี และช่วยในการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง อย่างไรก็ตามการออกแบบให้ได้แสงสว่างตามธรรมชาติที่ดีจะต้องให้แสงสว่างกระจายอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ และจะต้องสามารถป้องกันความร้อนได้ในเรื่องของคุณภาพอากาศภายในอาคารในกรณีที่ปรับอากาศ เป็นเรื่องของการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตำแหน่งของการนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่อาคาร และการจ่ายอากาศบริสุทธิ์ให้ทั่วถึงและเพียงพอ มีการระบายอากาศเสียออก และไม่ให้มีการสูบบุหรี่ภายในพื้นที่ปรับอากาศในเรื่องของการควบคุมสภาวะอากาศภายในอาคารให้อยู่ในสภาวะน่าสบาย ก็เป็นเรื่องของการออกแบบระบบปรับอากาศที่ดีอยู่แล้วในเรื่องการควบคุมสารระเหยที่เป็นพิษในอากาศ อยู่ที่การเลือกวัสดุตกแต่งอาคาร และเฟอร์นิเจอร์ การลดพื้นที่ปูพรม เป็นต้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบกับค่าก่อสร้างอาคาร หากแต่เป็นเรื่องของการออกแบบอาคารอย่างถูกต้องเท่านั้น
blog23 08.jpg
รูปที่ 7 ตัวอย่างของการนำแสงสว่างตามธรรมชาติเข้าสู่กลางอาคารด้วยปล่องนำแสง เพื่อให้ได้แสงสว่างตามธรรมชาติแบบทางอ้อมที่ปราศจากความร้อนและให้สามารถนำแสงให้ลงมาถึงชั้นล่างของอาคาร
blog23 10.jpg
รูปที่ 8 ตัวอย่างของการจัดวางระบบสำนักงานที่ได้รับแสงสว่างตาม
ธรรมชาติ และมีสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ดี
6. นวัตกรรมเขียว (Innovation in Design) (6) หัวข้อนี้เปิดไว้เป็นคะแนนเสริมสำหรับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ และมาตรการที่สูงกว่าข้อกำหนดปกติ ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า จะมีผลกระทบที่ทำให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้นหรือไม่ และเนื่องจากเป็นหัวข้อที่เป็นคะแนนเสริม หากจะมีค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะโดยหลักแล้ว หัวข้อนี้เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเชิงนวัตกรรมในด้านการออกแบบ

สวนถาดปลูก.jpg
 7. การเอื้อต่อสภาวะท้องถิ่น (Regional Priority) (4) ทำนองเดียวกันกับหัวข้อที่ 6 หัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อเสริมเพื่อให้คะแนนกับสภาวะท้องถิ่น และเป็นหัวข้อที่เปิดกว้างสำหรับการนำเสนอการใช้ประโยชน์จากสภาวะท้องถิ่น

ที่มา : เกชา ธีระโกเมน บทความจาก www.eec-academy.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น