สร้างใหม่ ต่อเติม หรือ ซ่อมแซม
ท่านเป็นหนึ่งในบรรดาเจ้าของบ้านซึ่งมีที่ดินว่างรอบบริเวณบ้านเหลือขนาดพอที่จะสร้างบ้านอีกหลังหรือไม่ สิ่งนี้มักจะไม่เกิดกับท่านเจ้าของบ้านที่อยู่อาศัยในย่านดาวน์ทาวน์สักเท่าไหร่ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านราคาที่ดินที่สูงลิ่วทำให้บ้านเดี่ยวสองชั้นขนาดพื้นที่ใช้สอยพอเหมาะบนที่ดินขนาด 50 ตารางวาไม่ห่างจากย่านดาวน์ทาวน์นั้น ราคาซื้อขายอย่างต่ำๆพุ่งขึ้นไปเกือบ 10 ล้านบาท ขณะที่บ้านรูปแบบเดียวกันในย่านชานเมืองราคาซื้อขายลดลงไปกว่าครึ่ง ส่วนต่างอีกครึ่งหนึ่งนั้นถูกใช้จ่ายไปเพื่อซื้อความสะดวกสบายซึ่งมีมูลค่ามิใช่น้อย ไม่ว่าบ้านหลังนั้นจะตั้งอยู่ในย่านใด ท่านเจ้าของบ้านจะพยายามใช้สอยพื้นที่ดินที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด ความคิดที่จะเพิ่มพื้นที่ใช้สอยมักจะเกิดเป็นลำดับถัดมาหลังจากที่ท่านเจ้าของบ้านเข้าอยู่อาศัยได้ไม่นานนัก จนแทบจะเป็นมาตรฐาน ในทางกฎหมาย การเพิ่มหรือลดพื้นที่บ้านหรือหลังคาเกินห้าตารางเมตร หรือมีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสา คาน โครงสร้างที่ทำให้โครงสร้างเดิมรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินร้อยละสิบ จะต้องทำการขออนุญาตก่อสร้างกับทางเจ้าพนักงานของเขตท้องที่นั้น สิ่งที่จะต้องยื่นพร้อมกับใบคำร้องขอทำการก่อสร้างอาคาร เช่น ใบประกอบวิชาชีพและหนังสือรับรองสภาพบุคคลของสถาปนิก วิศวกร ผู้ควบคุมงาน แบบก่อสร้างพร้อมรายการงานก่อสร้าง วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดการก่อสร้าง ตลอดจนค่าธรรมเนียม เป็นต้น **
ในกรณีที่ อาคารหลังใหม่นั้นตั้งแยกออกมาจากบ้านหลังเดิมอย่างชัดเจน ตามกฎหมายระบุระยะถอยห่างระหว่างอาคารไว้อย่างน้อยสี่ถึงหกเมตร ให้ยื่นคำร้องเป็นการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ในกรณีที่ อาคารหลังใหม่นั้นก่อสร้างประชิดบ้านหลังเดิม แล้วมีการเชื่อมต่อการใช้สอยเข้าไว้ด้วยกัน ให้ยื่นคำร้องเป็นการขออนุญาตดัดแปลงอาคารแต่ถ้าต้องการเพียงแค่ปรับปรุง หรือ ซ่อมแซมอาคารโดยไม่มีการเพิ่มหรือลดพื้นที่บ้านหรือหลังคา หรือว่ามีการเพิ่มหรือลดพื้นที่บ้านหรือหลังคาแต่ไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสา คาน โครงสร้าง และไม่ทำให้โครงสร้างเดิมต้องรับน้ำหนักเพิ่มเกินกว่าร้อยละสิบจากเดิม ในกรณีนี้ไม่ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารกับเขตท้องที่ เพียงควรแจ้งให้ทางเจ้าพนักงานรับทราบ และมีการป้องกันเศษวัสดุ ฝุ่นละออง ที่ดีระหว่างงานก่อสร้าง สำหรับหน้าตาอาคารจะต้องเหมือนเดิม ทั้งส่วนที่เป็นผนังทึบ และส่วนผนังที่มีช่องเปิด
**
เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
1. แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร ( แบบ ข.1) หรือแบบคำขออนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ ข.2)
2. สำเนาหนังสือการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และมีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน ขนาดเท่าต้นฉบับ และเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
4. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน หรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
5. สำเนาบัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ขออนุญาตก่อสร้าง ผู้รับมอบอำนาจผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลและเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด6. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิก วิศวกรผู้ออกแบบ และคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภทเป็นวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด
7. แบบผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
8. กรณีเป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร และวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
ต้องแสดงแบบแปลน แผนผัง แบบก่อสร้าง จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณ โครงสร้างจำนวน 1 ชุด
9. กรณีอาคารที่อยู่ในข่ายต้องมีระบบจำกัดน้ำเสีย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ตลาดสดภัตราคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจต้องแสดงแบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสียจำนวน 1 ชุด
1. แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร ( แบบ ข.1) หรือแบบคำขออนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ ข.2)
2. สำเนาหนังสือการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และมีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน ขนาดเท่าต้นฉบับ และเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
4. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน หรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
5. สำเนาบัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ขออนุญาตก่อสร้าง ผู้รับมอบอำนาจผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลและเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด6. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิก วิศวกรผู้ออกแบบ และคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภทเป็นวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด
7. แบบผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
8. กรณีเป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร และวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
ต้องแสดงแบบแปลน แผนผัง แบบก่อสร้าง จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณ โครงสร้างจำนวน 1 ชุด
9. กรณีอาคารที่อยู่ในข่ายต้องมีระบบจำกัดน้ำเสีย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ตลาดสดภัตราคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจต้องแสดงแบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสียจำนวน 1 ชุด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น