เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ข้อ แตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงมีมากมาย และหนึ่งในนั้นก็เป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยสังเกตกัน นั่นก็คือ มีผลวิจัยออกมาว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีชั่วโมงนาฬิกาชีวิตใน 1 วันที่น้อยกว่าผู้ชาย นั่นทำให้ผู้หญิงมักจะเข้านอนเร็วกว่าผู้ชาย และตื่นเร็วกว่า และที่สำคัญผู้หญิงก็ยังมีแน้วโน้มที่จะเป็นโรคนอนไม ่หลับและเป็นโรคซึม เศร้าได้ง่ายกว่าผู้ชายเสียด้วย
โดยผลวิจัยชิ้นนี้ นักวิจัยแห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สำรวจจากช่วงเวลาการนอนของผู้หญิง 52 คนและผู้ชาย 105 คนในห้องสำหรับใช้ทดลองเป็นเวลา 2-6 สัปดาห์ พวกเขาได้ศึกษาถึง 2 ปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ถึงจังหวะการตื่นการนอนของร่างก าย นั่นคือ อุณหภูมิของร่างกายและฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นในต่อมไพเนียล ทำหน้าที่ให้เราหลับและตื่น โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องปฏิบัติตามตารางการทดลองอ ย่างเคร่งครัด ซึ่งผู้ทดลองได้ปรับนาฬิกาชีวิต หรือวงจรการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งนอนหลับของผู้เข้าร่วมการทดล องให้เป็น 20-28 ชั่วโมงต่อวัน แทนที่จะเป็น 24 ชั่วโมงตามปกติ ในห้องที่มีแสงไฟสลัว
จาก ผลการทดลองนี้ทำให้เรารู้ว่า นาฬิกาชีวิตแต่ละคนจะเริ่มต้นวันใหม่เมื่อมีแสงอาทิต ย์สาดส่องเข้ามาแยงตา เรา จากนั้น ร่างกายจะเริ่มดำเนินชีวิตประจำวันไปตามปกติ ซึ่งบางครั้งเราอาจใช้นาฬิกาชีวิตในวันหนึ่ง ๆ มากกว่า หรือน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็ได้ แต่สำหรับในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผู้หญิงกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ใช้นาฬิกาชีวิตในหนึ่งวันน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ขณะที่มีผู้ชายเพียง 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใช้นาฬิกาชีวิตในหนึ่งวันน้อย กว่า 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกับผู้หญิง และที่สำคัญคือ ยังพบอีกด้วยว่าผู้หญิงจะตื่นเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 30 นาที
ความแตกต่างนี้สำคัญมากต่อการบำบัดผู้ที่มีอาการซึมเ ศร้า เพราะถ้าผู้ป่วยมีแนวโน้มมีนาฬิกาชีวิตน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ก็ต้องจัดให้ผู้ป่วยนอนในห้องที่มีแสงสลัว ๆ ในช่วงเวลาเย็น ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศในการนอน แต่หากผู้ป่วยมีนาฬิกาชีวิตนานกว่า 24 ชั่วโมง ก็ต้องจัดให้นอนในห้องที่เปิดไฟเสมือนช่วงอรุณรุ่ง เพื่อให้รู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่า เตรียมพร้อมออกไปทำกิจกรรมข้างนอกนั่นเอง
แล้ว ทำไมถึงต้องเป็นผู้หญิงล่ะที่นอนน้อยกว่าผู้ชาย และมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าผู้ชาย นักวิจัยเผยว่า เป็นเพราะผู้หญิงและผู้ชายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนใน ระดับที่ต่างกัน ซึ่งมีผลต่อวงจรการนอนหลับ นอกจากนี้ภาวะการมีประจำเดือนของผู้หญิง ก็ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของฮอร์โมนกับวงจรการนอน หลับด้วย
เรา คงจะเห็นแล้วว่า ช่วงเวลาการทำงานของร่างกาย หรือนาฬิกาชีวิตของเรานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น เราก็ควรหาวิธีดูแลร่างกาย และควบคุมพฤติกรรมของตัวเองให้สัมพันธ์กับนาฬิกาภายใ นร่างกายด้วยนะคะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น