วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

11 อ. เพื่ออายุยืนยาว

11 อ. เพื่ออายุยืนยาว



ประเทศไทยคาดว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 6.3 ล้านคนในอีก 6 ปีข้างหน้า และปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น คือ ผู้หญิง 70 ปี และผู้ชาย 68 ปี

แต่พออายุถึงวัย 50 บางคนก็ดูทำอะไรช้าลง ระวังตัวมากขึ้น ไม่ค่อยมีความสดชื่น ความเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ในตัว ในขณะที่อีกหลายๆ คน ทั้งที่อายุเลย 60 มาแล้ว แต่ก็ยังสดชื่นอยู่ ดูเป็นหนุ่มใหญ่ สาวใหญ่มาดดี มีเสน่ห์ และยังดูสนุกสนานกับสิ่งข้างๆ รอบตัว ดูมีคุณภาพชีวิตที่ดี

คุณภาพชีวิตที่ดี มีหัวใจสำคัญ 4 อย่าง
  1. ร่างกายที่แข็งแรง (Biological)
  2. จิตใจที่มีความสุข (Phychological)
  3. วิญญาณ หรือความภาคภูมิใจในตัวเอง
  4. สังคมดีๆ ที่อยู่รอบตัว (Social) เช่น ลูก หลาน ญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ รอบตัว
การปฏิบัติตน อย่างง่ายๆ ตามหลัก 11 อ.


1. อาหาร
ระยะอายุ 50 ปีเป็นวัยที่ควรจะช่วยประคับประคองการทำงานของเซลล์น ับล้านๆ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ เพราะวัยนี้มีการเสื่อมถอยของระบบการทำงานในอวัยวะทุ กระบบ และระบบการเผาพลาญอาหาร (metabolism) ดังนั้นควรลดปริมาณอาหารลง ให้สัมพันธ์กับการใช้พลังงานจริงคือประมาณ 1,500 กิโลแคลลอรี่ต่อวัน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานผัก และผลไม้วันละ 5 จานเล็ก

2.อากาศ
ถ้าได้ออกซิเจนที่ดีจากพื้นที่ดปร่งอย่างเช่น ในสวนสาธารณะตอนเช้าๆ จะทำให้เลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายมีปริมาณออกซิเ จนที่เพียงพอทำให้เซลล์ มีคุรภาพส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนทำงานได้อย่างมีประสิท ธิภาพ

ควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไอเสียจากรถยนต์หรือโรงงาน ตลอดจนสียงดังจากเครื่องยนต์ต่างๆ โดยอาจจะมีการปลูกต้นไม้รอบๆ บ้านและสร้างรั้วที่มิดชิด

3. ออกกำลังกาย
ช่วยทำให้คงสภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ และทำให้การสูบฉีดเลือดไหลเวียน (Blood Circulation) ไปเลี้ยงร่างกาย และเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างดี ทำไห้ร่างกาย และหัวใจทำงานได้อย่างราบรื่น
ผู้สูงอายุควรออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที

4. อนามัย
- ไม่สูบบุรี่ เนื่องจากวัยเสื่อมถอย การสูบบุรี่จะทำให้ถุงลมปอดทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่อง จากมีคราบนิโคติน และสารพิษอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในบุหรี่ไปเกาะติดในหลอดลม และถุงลมปอด
- ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ตลอดจนยาเสพติดประเภทต่างๆ
- สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและจิตใจวัยนี้มีการเปล ี่ยนแปลง ถ้าสังเกตพบความผิดความปกติในระยะเริ่ใต้น จะทำให้การรักษาได้ผลดี
- ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

5. (แสง)อาทิตย์
การรับแสงแดดอ่อน ในตอนเช้า เพื่อให้ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพิ จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสของร่างกาย สามารถป้องกันและซะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

6. อารมร์
ผู้สูงอายุจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิด โมโหโกรธง่าย ทำให้ขาดสติในการพิจารณาไตร่ตรองเหตุผล ต่อให้เกิดความขัดแข้งกับบุคคลอื่นได้ง่าย ต้องหาวิธีในการควบคุมอารมณ์ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การทำสมธิ การศึกษาธรรมะ จะช่วยให้เกิดอาการผ่อนคลาย มีสติมากขึ้น

7. อดิเรก
ผู้สูงอายุควรหางานอดิเรกทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือลดการหมกหมุ่นในสิ่งที่ทำ ให้ไม่สบายใจ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

8. อบอุ่น
การเป็นบุคคลที่มีบุคคลิกโอบอ้อม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้การช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวแ ละบุคคลอื่น เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

9. อุจจาระ / ปัสสาวะ
ถ้ามีปัญหาเรื่องท้องผูก ส่งผลให้มีสารพิษตกค้างในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ถ้าเป็นบ่อยๆ การป้องกันการเกิดท้องผูก โดยการรับประทานอาหารผักผลไม้ดื่มากๆ และออกกำลังกายอบ่างสม่ำเสมอ ป้องกันการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยการบริการกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราย เช่น การขมิบก้น และช่องคลอด

10. อุบัติเหตุ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุโดยวิธีการต่างๆ เช่น สายตายาวต้องใส่แว่นสายตา หูได้ยินไม่ชัดเจนต้องไปตรวจเพื่อแก้ไข สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมต้องไปปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะ สม

11. อนาคต
จะต้องมีการเตรียมเงินและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นหลักประกัน ในการดำเนินชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยอายุ

หลักการปฏิบัติตัวง่ายๆ เพื่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เท่านี้ก็สามารถเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แล้ว


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น