วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคออทิซึม(AUTISM)

โรคออทิซึม(AUTISM)

 

เด็กออทิสติกคือใคร
คือเด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติไป และความผิดปกตินี้จะพบได้ ก่อนวัย 30 เดือน
ออทิสติกเกิดขึ้นได้อย่างไร

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่า อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เด็กเป็นออทิสติก แม้ว่าจากการวิจัยใหม่ๆ จะพบว่ามีความผิดปกติของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเรื่อง ไวรัส กรรมพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกายด้วย
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นออทิสติก
การจะสังเกตว่าลูกเป็นเด็กออทิสติกหรือไม่นั้น ทำได้ตั้งแต่เขายังเล็กๆ โดยสังเกตตามขั้นตอนของการพัฒนาการที่เด็กควรจะเป็น ดังนี้
พฤติกรรมที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจเป็นออทิสติกในขวบปีแรก เช่น
1. เด็กดูดนมได้ไม่ดี
2. เงียบเฉย
3. ไม่สนใจให้ใครกอดรัด
4. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
5. ไม่สนใจใคร แต่บางรายอาจติดคนมากจนผิดปกติ
6. เด็กไม่สบตา
7. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
8. ไม่สนใจที่จะให้ใครอุ้ม
9. ไม่ตอบสนองทางด้านอารมณ์
10. ไม่ลอกเลียนแบบ
11. ไม่ส่งเสียงไม่อ้อแอ้
12. ชี้นิ้วไม่เป็น
13. เรียกให้คนอื่นเล่นด้วยไม่เป็น
14. ท่าทางเฉยเมยไร้อารมณ์เมื่อถูกชักชวนให้เล่น
15. ไม่แสดงอาการดีใจให้เห็นหรือทักทายคนที่เด็กชอบ หรือหากแสดงออกก็มากเกินไป
16. ผูกพันกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ เล่นติดเชือกฟาง ใบไม้ ผ้าอ้อม ถ้าดึงออกจะกรีดร้องอยู่นาน
17. ความรู้สึกของคนเลี้ยงดูว่าเด็กต่างจากคนอื่น หมายถึงผู้เลี้ยงสังเกตได้ว่าเด็กไม่เหมือนคนอื่น
นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่า เด็กที่อายุเกิน 1 ขวบ ขึ้นไป อาจเป็นออทิสติกได้คือ
1. ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและบุคคล ชอบแยกตัวเล่นกับคนอื่นไม่เป็น เช่น เข้ามาในห้องก็ไม่สนใจว่ามีใครอยู่ วิ่งเล่นกับสิ่งของ ไม่กลัวใครหรือถ้ากลัวก็กลัวมากเกินไป
2. เด็กไม่สามารถชี้นิ้วบอกถึงความต้องการ
3. เด็กเล่นสมมุติไม่เป็น เช่น เล่นตุ๊กตา หรือไม่เข้าใจว่าควรจะจับตุ๊กตาในลักษณะใด
4. ไม่สามารถแสดงความสนใจร่วมกับบุคคลอื่นได้ เมื่อมีกิจกรรมกลุ่ม เด็กจะไม่สนใจ

หากสังเกตพบว่าลูกมีพฤติกรรมข้างต้นเกิน 2 ข้อ พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ทันที
การช่วยเหลือเด็กออทิสติก
การรักษาเด็กที่เป็นออทิสติกเป็นการผสมผสานวิธีการต่าง ๆ ร่วมกันไป เช่น
 การกระตุ้นพัฒนาการที่หยุดยั้งในทุกๆ ด้านเป็นรายบุคคล
 การฝึกพูด
 พฤติกรรมบำบัด
 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเรียนรู้
 ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย
 ดนตรีบำบัด
 การทำกิจกรรมกลุ่ม
 การฝึกกิจวัตรประจำวัน
 การเรียนในชั้นการศึกษาพิเศษ
 การเรียนร่วมกับเด็กปกติ
การรักษาโดยการใช้ยา
ไม่มียาที่ใช้รักษาเด็กออทิสติกให้หายได้ จึงเป็นการใช้ยาตามอาการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิอารมณ์หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง การกระทำซ้ำซากเพื่อจะฝึกสอนเด็กให้มีพัฒนาการทางด้านสังคมการสื่อความหมายการฝึกพูด การกระทำพฤติกรรมบำบัดได้ง่ายขึ้น
เด็กออทิสติกที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง สามารถดีขึ้นจนสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติและอยู่ในสังคมได้โดยคนทั่วไปจะมองไม่เห็นความผิดปกติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น