เด็กสมาธิสั้นและมีภาวะไม่อยู่นิ่ง (Attention Deficit Hyperactive Disorder)
เด็กสมาธิสั้นและมีภาวะไม่อยู่นิ่งเป็นอย่างไร?
เด็กสมาธิสั้นและมีภาวะไม่อยู่นิ่ง (Attention Deficit Hyperactive Disorder) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ADHD เป็นคำที่ใช้ในปัจจุบันโดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association) เรียกเด็กที่มีปัญหาในเรื่องสมาธิและอารมณ์ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน การทำกิจกรรมและสังคม โดยเด็กจะมีอาการ ดังนี้
1. สมาธิสั้น (Inattention)
ไม่ใส่ใจในรายละเอียดเวลาทำงานหรือเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักทำผิดบ่อยๆ ไม่ค่อยระวัง เลินเล่อ
ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมได้นาน ยกเว้นกิจกรรมที่ชอบมากๆ เช่น ดูวิดีโอ
ทำงานไม่เสร็จ ผลงานไม่เรียบร้อย ตกๆ หล่นๆ
ไม่ฟังเวลาคนอื่นพูดด้วย และเก็บรายละเอียดไม่ได้
ขี้ลืม ทำของหายบ่อย เช่น ดินสอ ตุ๊กตา สมุด
วอกแวกตามสิ่งเร้าภายนอกง่าย
2. ซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)
ซนยุกยิก อยู่ไม่สุข
นั่งนิ่งๆ ไม่ได้ ต้องลุกเดินหรือขยับตัวไปมา
ชอบปีนป่าย
เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมเสี่ยงอันตราย
พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด
3. หุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
วู่วาม ใจร้อน ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยไม่ได้คิด
ขาดความระมัดระวัง เช่น ข้ามถนนโดยไม่ดูรถ
รอคอยไม่ได้
พูดโพล่ง มักตอบคำถามโดยที่ฟังยังไม่ทันจบ
พูดแทรกในเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน
แย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจอาจจะทำลายของเล่นนั้น
อาการข้างต้นจะต้องพบมากกว่า 1 สถานการณ์ เช่น พบทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน และต้องมีผลขัดขวางการเรียน การคบเพื่อนจนทำให้เกิดปัญหา
สาเหตุ
1. พันธุกรรม เป็นสาเหตุของโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะพบว่าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กอื่นๆ ถึง 4 เท่า
2. มีปัญหาทางสมองมาก่อน เช่น เคยเป็นไข้สมองอักเสบ มีอุบัติเหตุทางสมอง โรคลมชัก ฯลฯ
3. หาสาเหตุไม่ได้แน่ชัด จากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Frontal Lobes) ทำให้เด็กมีความผิดปกติในการหยุดยั้งหรือควบคุมตนเอง
การรักษา
แนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้น ประกอบด้วยวิธีการมากมายและแต่ละวิธีการจะมีประโยชน์ มีความสำคัญไปคนละอย่าง เมื่อมาเสริมรวมกันจะส่งผลทำให้เด็กถูกพัฒนาขึ้นได้เต็มศักยภาพ แนวทางการรักษาประกอบด้วย
1. การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเด็กที่เป็นสมาธิสั้นแก่พ่อแม่และบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด ให้โอกาสพ่อแม่เข้าใจตนเอง รวมทั้งเทคนิคในการฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถของเด็ก
2. การใช้ยา
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ขัดขวางพัฒนาการทุกด้าน
4. ความช่วยเหลือด้านการเรียน
อาการสมาธิสั้นไม่สามารถหายเองได้ หากพบว่าเด็กมีอาการสมาธิสั้น ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ซึ่งเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาปกติ หากได้รับการรักษาและส่งเสริมที่ดี ก็จะทำให้เด็กมีอนาคตที่ดีได้
เด็กสมาธิสั้นและมีภาวะไม่อยู่นิ่ง (Attention Deficit Hyperactive Disorder) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ADHD เป็นคำที่ใช้ในปัจจุบันโดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association) เรียกเด็กที่มีปัญหาในเรื่องสมาธิและอารมณ์ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน การทำกิจกรรมและสังคม โดยเด็กจะมีอาการ ดังนี้
1. สมาธิสั้น (Inattention)
ไม่ใส่ใจในรายละเอียดเวลาทำงานหรือเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักทำผิดบ่อยๆ ไม่ค่อยระวัง เลินเล่อ
ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมได้นาน ยกเว้นกิจกรรมที่ชอบมากๆ เช่น ดูวิดีโอ
ทำงานไม่เสร็จ ผลงานไม่เรียบร้อย ตกๆ หล่นๆ
ไม่ฟังเวลาคนอื่นพูดด้วย และเก็บรายละเอียดไม่ได้
ขี้ลืม ทำของหายบ่อย เช่น ดินสอ ตุ๊กตา สมุด
วอกแวกตามสิ่งเร้าภายนอกง่าย
2. ซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)
ซนยุกยิก อยู่ไม่สุข
นั่งนิ่งๆ ไม่ได้ ต้องลุกเดินหรือขยับตัวไปมา
ชอบปีนป่าย
เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมเสี่ยงอันตราย
พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด
3. หุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
วู่วาม ใจร้อน ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยไม่ได้คิด
ขาดความระมัดระวัง เช่น ข้ามถนนโดยไม่ดูรถ
รอคอยไม่ได้
พูดโพล่ง มักตอบคำถามโดยที่ฟังยังไม่ทันจบ
พูดแทรกในเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน
แย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจอาจจะทำลายของเล่นนั้น
อาการข้างต้นจะต้องพบมากกว่า 1 สถานการณ์ เช่น พบทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน และต้องมีผลขัดขวางการเรียน การคบเพื่อนจนทำให้เกิดปัญหา
สาเหตุ
1. พันธุกรรม เป็นสาเหตุของโรคที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะพบว่าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กอื่นๆ ถึง 4 เท่า
2. มีปัญหาทางสมองมาก่อน เช่น เคยเป็นไข้สมองอักเสบ มีอุบัติเหตุทางสมอง โรคลมชัก ฯลฯ
3. หาสาเหตุไม่ได้แน่ชัด จากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Frontal Lobes) ทำให้เด็กมีความผิดปกติในการหยุดยั้งหรือควบคุมตนเอง
การรักษา
แนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้น ประกอบด้วยวิธีการมากมายและแต่ละวิธีการจะมีประโยชน์ มีความสำคัญไปคนละอย่าง เมื่อมาเสริมรวมกันจะส่งผลทำให้เด็กถูกพัฒนาขึ้นได้เต็มศักยภาพ แนวทางการรักษาประกอบด้วย
1. การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเด็กที่เป็นสมาธิสั้นแก่พ่อแม่และบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด ให้โอกาสพ่อแม่เข้าใจตนเอง รวมทั้งเทคนิคในการฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถของเด็ก
2. การใช้ยา
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ขัดขวางพัฒนาการทุกด้าน
4. ความช่วยเหลือด้านการเรียน
อาการสมาธิสั้นไม่สามารถหายเองได้ หากพบว่าเด็กมีอาการสมาธิสั้น ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ซึ่งเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาปกติ หากได้รับการรักษาและส่งเสริมที่ดี ก็จะทำให้เด็กมีอนาคตที่ดีได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น