วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

‘นอนไม่หลับ’ ส่งผลร้ายกว่าที่คิด บั่นทอนสัมพันธ์-สุขภาพตัวหัวใจ

‘นอนไม่หลับ’ ส่งผลร้ายกว่าที่คิด บั่นทอนสัมพันธ์-สุขภาพตัวหัวใจ

มีคนเพียง 39% ที่ได้หลับพักผ่อนเพียงพอ ทั้งนี้ การนอนไม่พอนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตและกลายเป็นวงจรอุบ าทก์เพราะคนเหล่านั้นจะ ยิ่งนอนหลับยากขึ้น
เอเจนซีส์ - แนะปัญหาการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอควรได้รับการแก้ ไขในฐานะที่เป็นปัญหา สุขภาพสำคัญ เนื่องจากส่งผลต่อคุณภาพการทำงาน สุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงความสัมพันธ์

รายงานที่ตีพิมพ์ในเกรต บริติช สลีป รีพอร์ต บ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างการนอนไม่หลับกับความสัมพ ันธ์ที่ย่ำแย่ พลังงานลดลง ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถทำงานแม้แต่งานง่ายๆ ได้

การพักผ่อนไม่เพียงพอยังเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า ระบบภูมิคุ้มกันด้อยประสิทธิภาพ และโรคหัวใจ

การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 5,300 คนโดยเมนทัล เฮลธ์ ฟาวน์เดชันในอังกฤษพบว่าผู้ใหญ่ 60% มีปัญหานอนไม่หลับ และน้อยครั้งมากที่ได้หลับคืนละ 6-7 ชั่วโมงตามที่ควรจะเป็น

กว่า 1 ใน 3 เป็นโรคนอนไม่หลับ และอาจมีอาการนี้มาหลายปีแล้ว

จากการศึกษาล่าสุดพบว่า คนที่นอนไม่หลับมีแนวโน้มมากขึ้นถึง 4 เท่าที่จะมีปัญหาความสัมพันธ์ และคนเหล่านี้มีแนวโน้มมากขึ้น 3 เท่าที่จะมีปัญหาในการใช้สมาธิหรืออารมณ์เสียง่าย และมีอาการซึมเศร้า และมีแนวโน้มอ่อนเพลียไม่มีแรงมากขึ้น 2 เท่า

ผู้ใหญ่ 1 ใน 4 มีปัญหาที่เกี่ยวพันกับการนอนอื่นๆ เช่น กัดฟันหรือกรน ที่ทำให้ตื่นมากลางดึก และมีเพียง 39% เท่านั้นที่นอนหลับสนิทเพียงพอ

รายงานยังเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมารณร งค์ให้สังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพ อ เป็นต้นว่าโรงเรียนควรสอนเด็กให้รู้ถึงความเสี่ยงต่อ สุขภาพจากการนอนไม่พอ ขณะที่แพทย์ควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อวินิจฉัยปัญหาจา กการนอนไม่เพียงพออย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดร.แอนดริว แมคคัลล็อก จากเมนทัล เฮลธ์ ฟาวน์เดชัน กล่าวว่าแม้มีการเน้นย้ำอย่างมากถึงความสำคัญของอาหา รและการออกกำลังกาย แต่การนอนหลับกลับถูกละเลยทั้งที่มีนัยสำคัญต่อสุขภา พร่างกายและจิตใจของคน เรา ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักและรับมือก ับปัญหาการนอนหลับใน ฐานะที่เป็นข้อวิตกกังวลสำคัญด้านสาธารณสุขเช่นเดียว กัน

ดร.แดน โรโบแธม นักวิจัยอาวุโสของเมนทัล เฮลธ์ ฟาวน์เดชันและเป็นแกนนำการจัดทำรายงานฉบับนี้ เสริมว่า การพักผ่อนไม่เพียงพออาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตซึ่งส่ งผลให้นอนหลับยากขึ้น กลายเป็นวงจรอุบาทก์

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนวัยผู้ใหญ่ควรได้นอนหลับสนิทอย่างน้อยคืนละ 5 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อให้สามารถใช้สมาธิและทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม บางคนอาจต้องการนอนนานถึง 8 ชั่วโมง แต่บางคนนอนแค่ 3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

ขณะเดียวกัน นักวิจัยเผยว่าเกือบจะคลี่คลายปริศนาของนาฬิกาชีวภาพ ในร่างกายคนเราได้แล้ว

ดร.อากีเลช เร็ดดี้ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยกับวารสารเนเจอร์ว่า โปรตีนเพอรอกไซด์ด็อกซินในเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นฟันเ ฟืองสำคัญในวงจรนาฬิกา ชีวภาพ และการทำความเข้าใจวงจรการทำงานของนาฬิกาชีวภาพอาจนำ ไปสู่วิธีบำบัดอาการนอน ไม่หลับในอนาคต
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น