ในงานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมูลนิธิสถาบันวิจับและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เผยว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุไทย 88.5% ยังได้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ โดย 60.6% เน้นทานอาหารรสชาติจืด และส่วนมากไม่รับประทานอาหารขยะ
ปัจจุบัน ด้วยหน้าที่การงานที่รัดตัว หรือเหตุอันใดก็ยากที่จะบอกได้ แต่ลูกๆ หลายคนเริ่มไม่ทราบเสียแล้วว่า พ่อแม่ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราของตนนั้น ต้องการรับประทานอาหารประเภทใด
พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจับและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่าจากรายงายสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยได้รวบรวมผลสำรวจข้อมูลด้านการบริโภคอาหารในกลุ่มผู้สูงอายุ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปีล่าสุด ในด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ พบว่าในการรับประทานอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 88.5 รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ รองลงมาวันละ 2 มื้อร้อยละ 7.4 วันละ 1 มื้อ ร้อยละ 0.1 และรับประทานเกินวันละ 3 มื้อ ร้อยละ 4 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.6 เลือกรับประทานอาหารรสชาติจืด รองลงมาเป็นรสชาติเผ็ดและเค็มร้อยละ 14.3 และ 10.9 ตามลำดับ ขณะที่รสชาติหวานและรสชาติอื่นๆ อย่างละร้อยละ 7.1 เท่ากัน ส่วนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ผู้สูงอายุเกินครึ่ง หรือ ร้อยละ 64.9 รับประทานชอบอาหารระหว่างมื้อ ร้อยละ 42.2 รับประทานเพราะอยาก และเพราะหิวร้อยละ 38.6
พญ.ลัดดา กล่าวต่อว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่เป็นความต้องการของร่างกาย ได้แก่ กลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 61.3 กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ร้อยละ 29.9 กลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน ร้อยละ 6.2 ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลือกรับประทานน้อยที่สุดร้อยละ 3.8 ส่วนการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ร้อยละ 96.6 ไม่รับประทานอาหารจานด่วนทางตะวันตก ร้อยละ 55.4 ไม่ดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มรสหวาน ร้อยละ 80.9 ไม่รับประทาน ขนมทานเล่นหรือขนมกรุบกรอบ ขณะที่ร้อยละ 19.7 หลีกเลี่ยงไม่รับประทาน อาหารที่มีไขมันสูง
พญ.ลัดดา กล่าวว่า การรับประทานอาหารของผู้สูงอายุมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ควรรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ควรลดปริมาณอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันลดลง การใช้พลังงานและการเผาผลาญอาหารจึงลดลงตาม เน้นรับประทานพืชผักผลไม้ที่มีใยอาหาร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและโรคมะเร็งบางชนิด และควรรับประทานเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์ติดมันซึ่งจะย่อยได้ง่ายกว่า
“หากผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้มากเกินไป มีผลซ้ำเติมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อมอยู่แล้วให้เสื่อมยิ่งขึ้น การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงต้องคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร โดยเน้นความสมดุลความพอเหมาะพอดี และความหลากหลายของอาหาร” พญ.ลัดดากล่าว
และว่านอกจากนี้การออกกำลังกายการผ่อนคลายทางกาย และจิต และการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษก็เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับพื้นฐานการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ และดื่มน้ำประมาณวันละ 6 – 8 แก้ว เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหาร และการขับถ่ายของเสีย ซึ่งส่วนมากผู้สูงอายุมักมีปัญหาดื่มน้ำไม่เพียงพอ
ลูกกตัญญูทุกท่านอ่านแล้ว ปฏิบัติตามด่วนในงานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมูลนิธิสถาบันวิจับและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เผยว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุไทย 88.5% ยังได้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ โดย 60.6% เน้นทานอาหารรสชาติจืด และส่วนมากไม่รับประทานอาหารขยะ
ปัจจุบัน ด้วยหน้าที่การงานที่รัดตัว หรือเหตุอันใดก็ยากที่จะบอกได้ แต่ลูกๆ หลายคนเริ่มไม่ทราบเสียแล้วว่า พ่อแม่ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราของตนนั้น ต้องการรับประทานอาหารประเภทใด
พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจับและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่าจากรายงายสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยได้รวบรวมผลสำรวจข้อมูลด้านการบริโภคอาหารในกลุ่มผู้สูงอายุ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปีล่าสุด ในด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ พบว่าในการรับประทานอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 88.5 รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ รองลงมาวันละ 2 มื้อร้อยละ 7.4 วันละ 1 มื้อ ร้อยละ 0.1 และรับประทานเกินวันละ 3 มื้อ ร้อยละ 4 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 60.6 เลือกรับประทานอาหารรสชาติจืด รองลงมาเป็นรสชาติเผ็ดและเค็มร้อยละ 14.3 และ 10.9 ตามลำดับ ขณะที่รสชาติหวานและรสชาติอื่นๆ อย่างละร้อยละ 7.1 เท่ากัน ส่วนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ผู้สูงอายุเกินครึ่ง หรือ ร้อยละ 64.9 รับประทานชอบอาหารระหว่างมื้อ ร้อยละ 42.2 รับประทานเพราะอยาก และเพราะหิวร้อยละ 38.6
พญ.ลัดดา กล่าวต่อว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่เป็นความต้องการของร่างกาย ได้แก่ กลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 61.3 กลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ร้อยละ 29.9 กลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน ร้อยละ 6.2 ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เลือกรับประทานน้อยที่สุดร้อยละ 3.8 ส่วนการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ร้อยละ 96.6 ไม่รับประทานอาหารจานด่วนทางตะวันตก ร้อยละ 55.4 ไม่ดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มรสหวาน ร้อยละ 80.9 ไม่รับประทาน ขนมทานเล่นหรือขนมกรุบกรอบ ขณะที่ร้อยละ 19.7 หลีกเลี่ยงไม่รับประทาน อาหารที่มีไขมันสูง
พญ.ลัดดา กล่าวว่า การรับประทานอาหารของผู้สูงอายุมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ควรรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ควรลดปริมาณอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันลดลง การใช้พลังงานและการเผาผลาญอาหารจึงลดลงตาม เน้นรับประทานพืชผักผลไม้ที่มีใยอาหาร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและโรคมะเร็งบางชนิด และควรรับประทานเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์ติดมันซึ่งจะย่อยได้ง่ายกว่า
“หากผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้มากเกินไป มีผลซ้ำเติมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อมอยู่แล้วให้เสื่อมยิ่งขึ้น การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงต้องคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร โดยเน้นความสมดุลความพอเหมาะพอดี และความหลากหลายของอาหาร” พญ.ลัดดากล่าว
และว่านอกจากนี้การออกกำลังกายการผ่อนคลายทางกาย และจิต และการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษก็เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับพื้นฐานการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ และดื่มน้ำประมาณวันละ 6 – 8 แก้ว เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหาร และการขับถ่ายของเสีย ซึ่งส่วนมากผู้สูงอายุมักมีปัญหาดื่มน้ำไม่เพียงพอ
ลูกกตัญญูทุกท่านอ่านแล้ว ปฏิบัติตามด่วน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น