การพูดและการได้ยิน
การพูดมีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ส่งเสริมพัฒนาการทางการพูด เช่น การได้ยิน ระดับสติปัญญา ความสมบูรณ์ของอวัยวะ และหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด ฯลฯ
ปัจจัยที่สำคัญมาก คือ การได้ยิน การพูดจะพัฒนาโดยอาศัยการได้ยิน จะเห็นได้ว่า เด็กที่หูหนวกนั้นการพูดจะไม่พัฒนา ถ้าเด็กคนนั้นไม่ได้รับการฝึกที่เหมาะสมหรือถ้าเด็กหูตึง การพูดจะล่าช้ากว่าเด็กที่มีอายุวัยเดียวกัน
พัฒนาการทางการได้ยินของเด็กปกติ
0-4 เดือน ได้ยินเสียงแล้วผวาหรือกระพริบตาทั้ง 2 ข้างหรือกรอกตา ตื่นจากการหลับตื้นๆ เช่น เมื่อเด็กเพิ่งหลับ ถ้ามีเสียงมากระตุ้น เด็กจะตื่น
4-6 เดือน มีการหันหาเสียง
7-9 เดือน หันหาเสียงทันทีในระดับเดียวกัน แล้วค่อยๆหันหาเสียงที่อยู่ในระดับต่ำกว่า หรือสูงกว่า
10-12 เดือน หันหาเสียงได้ทุกทิศทาง
13-24 เดือน เด็กจะใช้การหันหาเสียงเป็นสำคัญ
2 ปีขึ้นไป มีการตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินครั้งแรก ต่อไปสามารถหยุดการตอบสนองต่อเสียงได้
2-4 ปี สามารถเล่นเกมส์ที่ใช้ในการตรวจการได้ยินได้
4 ปีขึ้นไป สามารถรับการตรวจการได้ยินแบบผู้ใหญ่ได้
พัฒนาการทางด้านการพูดของเด็กปกติ
เดือนแรก เด็กจะส่งเสียงร้องเพื่อแสดงความต้องการทางร่างกาย เช่น หิว เปียก ร้อน ฯลฯ
เดือนที่ 2 เด็กจะส่งเสียง อือ อา และในขณะที่เด็กเปล่งเสียง อือ อา เด็กจะได้ยินเสียงของตนเอง ทำให้เกิดความสนุกสนานที่จะเลียนเสียงตนเองมากขึ้น ระยะนี้ดำเนินไปจนถึงอายุ 3-6 เดือน
อายุ 3-6 เดือน ในขณะที่เด็กกำลังเล่นเสียงกับตนเองนั้น ถ้ามีผู้อื่นมาพูดด้วย เด็กจะส่งเสียงโต้ตอบกับผู้พูดนั้น
อายุ 6-9 เดือน เด็กจะเลียนเสียงของผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะคำท้ายของประโยค ซึ่งเป็นการฝึกออกเสียงตามแบบที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ ประกอบกับมีผู้สอน
อายุ 1 ปี เด็กจะพูดคำแรกที่มีความหมายได้ 1 คำ บางคนอาจพูดได้เร็วหรือช้ากว่าวัย เด็กชายอาจเริ่มพูดช้ากว่าเด็กหญิง เมื่อพูดคำโดดมากขึ้น ก็เริ่มพูดคำที่ยาวขึ้นเป็น 2 คำ 3 คำ เป็นวลี หรือเป็นประโยค
พัฒนาการทางการพูดของเด็กที่มีประสาทหูพิการ
ในเด็กที่มีประสาทหูพิการ พัฒนาการทางการพูดจะไม่เป็นไปตามลำดับขั้นพัฒนาการปกติ เด็กอาจจะมีระยะส่งเสียง อือ อา แต่จะไม่สามารถส่งเสียงเลียนคำพูดของผู้อื่นได้ เมื่ออายุ 1 ปี ก็ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ เด็กพวกนี้จะร้องเสียงดังเพราะไม่สามารถปรับความดังค่อยของเสียงตนเองได้ ถ้าหูตึงมากก็อาจพูดเป็นคำได้ช้า คือ อายุเกิน 2 ปี แล้วจึงเริ่มพูด หรือถ้าหูหนวกก็ไม่สามารถพูดเป็นคำได้เลย
ในกรณีที่ความผิดปกติของหูเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อเด็กผ่านพ้นระยะหัดพูดมาแล้ว เด็กก็อาจจะพูดได้ในลักษณะที่แตกต่างกัน เด็กที่เพิ่งพูดได้เป็นคำอาจพูดได้เป็นคำอยู่อย่างนั้นไม่สามารถพูดเป็นประโยคหรือพูดได้เป็นประโยคง่ายๆ แต่ถ้าความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นเมื่อเด็กผ่านพ้นวัยที่กำลังมีพัฒนาการทางการพูดและภาษาไปแล้ว เด็กสามารถพูดมากได้เหมือนผู้ใหญ่ ความผิดปกติทางหูก็จะไม่เป็นสาเหตุให้เด็กพูดช้ากว่าวัย แต่จะมีผลในแง่ความเข้าใจคำพูดของผู้อื่นไม่ดี เสียงพูดอาจจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหูตึงมากหรือน้อย และอายุที่มีความผิดปกติหูเกิดขึ้น
พูดช้า
เป็นภาวะที่เด็ก อายุ 2 ปี แล้ว ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย
สาเหตุ
การได้ยินผิดปกติ เช่น หูตึง หูหนวก
สมองพิการ มีความผิดปกติของสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพูด อาจเกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดมาเลี้ยงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
ปัญญาอ่อน ระดับสติปัญญามีความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างมาก ถ้าระดับสติปัญญาต่ำ การพูดก็จะพัฒนาช้า หรือต่ำมากก็พูดได้
ปัญหาทางอารมณ์ พบในเด็กที่ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เช่น เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เด็กที่ปล่อยให้ดูโทรทัศน์นานเกินไป เด็กที่พ่อแม่เป็นใบ้ หรือเด็กที่บ้านพูดกันหลายภาษา
เด็กออทิสติก เป็นเด็กที่มีปัญหาทางด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเหมือนอยู่ในโลกส่วนตัว ไม่สนใจ ไม่สบตากับผู้อื่นเหมือนอยู่ในโลกส่วนตัว ไม่สนใจ ไม่สบตากับผู้อื่น มีปัญหาด้านภาษา เช่น ไม่พูดเลย หรือพูดภาษาที่ผู้อื่นไม่เข้าใจ และมีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ชอบเล่น หรือจ้องมองสิ่งที่หมุน หรืออาละวาดกรีดร้องไม่มีเหตุผล
การฝึกพูด
การฝึกพูดในผู้ป่วยที่พูดช้ากว่าวัยเหล่านี้ ดำเนินร่วมไปกับการรักษาสาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้า เช่น
เด็กที่พูดช้ากว่าวัยเนื่องจากการได้ยินผิดปกติก็ต้องใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อให้เด็กได้ยินเสียงดีขึ้น แล้วจึงสอนพูด
เด็กที่มีความผิดปกติของระบบประสาทก็ต้องได้รับการรักษาทางระบบประสาทร่วมด้วย
เด็กที่ระดับสติปัญญาด้อยกว่าปกตินั้น ถ้าระดับสติปัญญาต่ำมาก การพูดก็ไม่สามารถพัฒนาได้เลย
เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ บางรายต้องการรักษาทางจิตเวชกุมารร่วมด้วย
มีเด็กพูดช้าจำนวนไม่น้อยที่มีสาเหตุหลายอย่างร่วมกัน เช่น สมองพิการ หูตึง ปัญญาอ่อน ฯลฯ พวกนี้การเริ่มฝึกพูดทำได้ค่อนข้างลำบาก และได้ผลน้อย
วิธีการแก้ไขทางด้านการพูดเน้นในเรื่องของการส่งเสริมพัฒนาการทางการพูดให้เร็วที่สุด โดยใช้หลักการเรียนรู้และพัฒนาการพูดของเด็กปกติ ฝึกเด็กให้รู้ภาษาตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้น ถ้าเด็กได้รับการตรวจวินิจฉัยได้เร็วมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เริ่มสอนการสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษาและการพูดได้เร็วขึ้น
พ่อแม่ผู้ใกล้ชิดกับเด็กมีความสำคัญมากในการสอนพูดเด็กเหล่านี้ เด็กควรได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสื่อภาษาได้ เห็นความสำคัญของการพูด และได้รับการกระตุ้นให้พูด พ่อแม่ต้องร่วมมือกับนักแก้ไขการพูด ในการดำเนินการสอนภาษากับเด็กเป็นขั้นตอน เมื่ออยู่ในบ้านสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำตลอดเวลาคือ พูดประกอบการทำกิจกรรมทุกอย่าง เป็นการเร้าให้เด็กสนใจต่อการพูดได้เรียนรู้ความหมายของคำพูด และได้ยินคำพูดของผู้อื่น เพื่อจะได้เลียนแบบคำพูดนั้นๆ ต่อไป
ปัจจัยที่สำคัญมาก คือ การได้ยิน การพูดจะพัฒนาโดยอาศัยการได้ยิน จะเห็นได้ว่า เด็กที่หูหนวกนั้นการพูดจะไม่พัฒนา ถ้าเด็กคนนั้นไม่ได้รับการฝึกที่เหมาะสมหรือถ้าเด็กหูตึง การพูดจะล่าช้ากว่าเด็กที่มีอายุวัยเดียวกัน
พัฒนาการทางการได้ยินของเด็กปกติ
0-4 เดือน ได้ยินเสียงแล้วผวาหรือกระพริบตาทั้ง 2 ข้างหรือกรอกตา ตื่นจากการหลับตื้นๆ เช่น เมื่อเด็กเพิ่งหลับ ถ้ามีเสียงมากระตุ้น เด็กจะตื่น
4-6 เดือน มีการหันหาเสียง
7-9 เดือน หันหาเสียงทันทีในระดับเดียวกัน แล้วค่อยๆหันหาเสียงที่อยู่ในระดับต่ำกว่า หรือสูงกว่า
10-12 เดือน หันหาเสียงได้ทุกทิศทาง
13-24 เดือน เด็กจะใช้การหันหาเสียงเป็นสำคัญ
2 ปีขึ้นไป มีการตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินครั้งแรก ต่อไปสามารถหยุดการตอบสนองต่อเสียงได้
2-4 ปี สามารถเล่นเกมส์ที่ใช้ในการตรวจการได้ยินได้
4 ปีขึ้นไป สามารถรับการตรวจการได้ยินแบบผู้ใหญ่ได้
พัฒนาการทางด้านการพูดของเด็กปกติ
เดือนแรก เด็กจะส่งเสียงร้องเพื่อแสดงความต้องการทางร่างกาย เช่น หิว เปียก ร้อน ฯลฯ
เดือนที่ 2 เด็กจะส่งเสียง อือ อา และในขณะที่เด็กเปล่งเสียง อือ อา เด็กจะได้ยินเสียงของตนเอง ทำให้เกิดความสนุกสนานที่จะเลียนเสียงตนเองมากขึ้น ระยะนี้ดำเนินไปจนถึงอายุ 3-6 เดือน
อายุ 3-6 เดือน ในขณะที่เด็กกำลังเล่นเสียงกับตนเองนั้น ถ้ามีผู้อื่นมาพูดด้วย เด็กจะส่งเสียงโต้ตอบกับผู้พูดนั้น
อายุ 6-9 เดือน เด็กจะเลียนเสียงของผู้ใกล้ชิดกับเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะคำท้ายของประโยค ซึ่งเป็นการฝึกออกเสียงตามแบบที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ ประกอบกับมีผู้สอน
อายุ 1 ปี เด็กจะพูดคำแรกที่มีความหมายได้ 1 คำ บางคนอาจพูดได้เร็วหรือช้ากว่าวัย เด็กชายอาจเริ่มพูดช้ากว่าเด็กหญิง เมื่อพูดคำโดดมากขึ้น ก็เริ่มพูดคำที่ยาวขึ้นเป็น 2 คำ 3 คำ เป็นวลี หรือเป็นประโยค
พัฒนาการทางการพูดของเด็กที่มีประสาทหูพิการ
ในเด็กที่มีประสาทหูพิการ พัฒนาการทางการพูดจะไม่เป็นไปตามลำดับขั้นพัฒนาการปกติ เด็กอาจจะมีระยะส่งเสียง อือ อา แต่จะไม่สามารถส่งเสียงเลียนคำพูดของผู้อื่นได้ เมื่ออายุ 1 ปี ก็ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ เด็กพวกนี้จะร้องเสียงดังเพราะไม่สามารถปรับความดังค่อยของเสียงตนเองได้ ถ้าหูตึงมากก็อาจพูดเป็นคำได้ช้า คือ อายุเกิน 2 ปี แล้วจึงเริ่มพูด หรือถ้าหูหนวกก็ไม่สามารถพูดเป็นคำได้เลย
ในกรณีที่ความผิดปกติของหูเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อเด็กผ่านพ้นระยะหัดพูดมาแล้ว เด็กก็อาจจะพูดได้ในลักษณะที่แตกต่างกัน เด็กที่เพิ่งพูดได้เป็นคำอาจพูดได้เป็นคำอยู่อย่างนั้นไม่สามารถพูดเป็นประโยคหรือพูดได้เป็นประโยคง่ายๆ แต่ถ้าความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นเมื่อเด็กผ่านพ้นวัยที่กำลังมีพัฒนาการทางการพูดและภาษาไปแล้ว เด็กสามารถพูดมากได้เหมือนผู้ใหญ่ ความผิดปกติทางหูก็จะไม่เป็นสาเหตุให้เด็กพูดช้ากว่าวัย แต่จะมีผลในแง่ความเข้าใจคำพูดของผู้อื่นไม่ดี เสียงพูดอาจจะผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหูตึงมากหรือน้อย และอายุที่มีความผิดปกติหูเกิดขึ้น
พูดช้า
เป็นภาวะที่เด็ก อายุ 2 ปี แล้ว ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย
สาเหตุ
การได้ยินผิดปกติ เช่น หูตึง หูหนวก
สมองพิการ มีความผิดปกติของสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพูด อาจเกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดมาเลี้ยงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
ปัญญาอ่อน ระดับสติปัญญามีความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างมาก ถ้าระดับสติปัญญาต่ำ การพูดก็จะพัฒนาช้า หรือต่ำมากก็พูดได้
ปัญหาทางอารมณ์ พบในเด็กที่ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เช่น เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เด็กที่ปล่อยให้ดูโทรทัศน์นานเกินไป เด็กที่พ่อแม่เป็นใบ้ หรือเด็กที่บ้านพูดกันหลายภาษา
เด็กออทิสติก เป็นเด็กที่มีปัญหาทางด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเหมือนอยู่ในโลกส่วนตัว ไม่สนใจ ไม่สบตากับผู้อื่นเหมือนอยู่ในโลกส่วนตัว ไม่สนใจ ไม่สบตากับผู้อื่น มีปัญหาด้านภาษา เช่น ไม่พูดเลย หรือพูดภาษาที่ผู้อื่นไม่เข้าใจ และมีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ชอบเล่น หรือจ้องมองสิ่งที่หมุน หรืออาละวาดกรีดร้องไม่มีเหตุผล
การฝึกพูด
การฝึกพูดในผู้ป่วยที่พูดช้ากว่าวัยเหล่านี้ ดำเนินร่วมไปกับการรักษาสาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้า เช่น
เด็กที่พูดช้ากว่าวัยเนื่องจากการได้ยินผิดปกติก็ต้องใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อให้เด็กได้ยินเสียงดีขึ้น แล้วจึงสอนพูด
เด็กที่มีความผิดปกติของระบบประสาทก็ต้องได้รับการรักษาทางระบบประสาทร่วมด้วย
เด็กที่ระดับสติปัญญาด้อยกว่าปกตินั้น ถ้าระดับสติปัญญาต่ำมาก การพูดก็ไม่สามารถพัฒนาได้เลย
เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ บางรายต้องการรักษาทางจิตเวชกุมารร่วมด้วย
มีเด็กพูดช้าจำนวนไม่น้อยที่มีสาเหตุหลายอย่างร่วมกัน เช่น สมองพิการ หูตึง ปัญญาอ่อน ฯลฯ พวกนี้การเริ่มฝึกพูดทำได้ค่อนข้างลำบาก และได้ผลน้อย
วิธีการแก้ไขทางด้านการพูดเน้นในเรื่องของการส่งเสริมพัฒนาการทางการพูดให้เร็วที่สุด โดยใช้หลักการเรียนรู้และพัฒนาการพูดของเด็กปกติ ฝึกเด็กให้รู้ภาษาตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้น ถ้าเด็กได้รับการตรวจวินิจฉัยได้เร็วมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เริ่มสอนการสร้างเสริมพัฒนาการทางภาษาและการพูดได้เร็วขึ้น
พ่อแม่ผู้ใกล้ชิดกับเด็กมีความสำคัญมากในการสอนพูดเด็กเหล่านี้ เด็กควรได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสื่อภาษาได้ เห็นความสำคัญของการพูด และได้รับการกระตุ้นให้พูด พ่อแม่ต้องร่วมมือกับนักแก้ไขการพูด ในการดำเนินการสอนภาษากับเด็กเป็นขั้นตอน เมื่ออยู่ในบ้านสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำตลอดเวลาคือ พูดประกอบการทำกิจกรรมทุกอย่าง เป็นการเร้าให้เด็กสนใจต่อการพูดได้เรียนรู้ความหมายของคำพูด และได้ยินคำพูดของผู้อื่น เพื่อจะได้เลียนแบบคำพูดนั้นๆ ต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น