วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

     เทคนิคการสอนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การเรียนการสอนของบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้ประสบความสำเร็จทางการเรียน ซึ่งเทคนิคการสอนมีหลายวิธี ดังนี้
     1. เทคนิคการกระตุ้นเตือน เป็นเทคนิคสำคัญประการหนึ่งที่ใช้ในการช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้ ประเภทของการกระตุ้นเตือนที่นิยมใช่มี 4 ชนิด
          1.1 การเรียกร้องความสนใจจากเด็ก ( Elicitaion X เช่นการเคาะวัตถุที่ใช้ฝึกกับพื้นโต๊ะ หรือให้เด็กสบตา (eye - contact )โดยใช้รางวัลหลอกล่อ
          1.2 การกระตุ้นเตือนทางกาย ( Physical Prompting ) คือ จับมือของเด็กให้ทำงานส่วนที่ครูต้องการให้ทำ เมื่อเด็กทำได้ครูจะลดการช่วยเหลือลงเป็นสัมผัสเบา ๆ และเลื่อนจากการจับมือเป็นแตะข้อศอกและลดความช่วยเหลือจนเด็กสามารถทำได้เอง
          1.3 การกระตุ้นเตือนด้วยท่าทาง ( Gestural Prompting ) คือ การสาธิตวิธีปฏิบัติงานให้เด็กดู ให้เด็กเลียนแบบถ้าเด็กทำไม่ได้ ให้ชี้แนะด้วยการชี้ไปที่งานหรือวัตถุนั้น หรือ การมองด้วยใบหน้า สายตา
          1.4 การกระตุ้นด้วยวาจา ( Verbal Prompting ) คือการออกคำสั่งหรือชี้แจงด้วยคำพูดซึ่งครูต้องพยายามใช้คำสั่งสั้น ๆ และ ง่ายพอที่เด็กจะเข้าใจได้
     2. เทคนิคการวิเคราะห์งาน คือ การแตกงานออกเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ หรือ จำแนกเนื้อหาที่จะสอนเป็นขั้นตอนย่อย ๆ หลายขั้นตอน จัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
     3. เทคนิคการให้รางวัล ควรให้อย่างทันทีทันใด ภายหลังพฤติกรรม หรือเด็กทำงานได้สำเร็จ
     4. เทคนิคการตะล่อมกล่อมเกลา ( shaping ) คือ วิเคราะห์งานก่อนและให้รางวัลแก่การตอบสนองในขั้นตอนที่เด็กทำได้ ซึ่งขั้นตอนเหล่านนี้จะต้องต่อเนื่องไปสู่จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
     5. เทคนิคการเลียนแบบ ให้เด็กเลียนแบบทำตามตัวอย่างที่ครูสาธิตให้ดู
     6. สื่อการสอน ครูจะต้องเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้เด็ก โดยสัมพันธ์กับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการ และวัสดุอุปกรณ์ต้องเพียงพอกับเด็กแต่ละคนในกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้อุปกรณ์ได้อย่างทั่วถึง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น