วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ออทิสติก

ออทิสติก



ออทิสซึม คือ อะไร

จาก DSM IV—The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic
Manualof Mental Disorders-Fourth Edition (1994)
—จัดออทิสติก เป็น "pervasive developmental disorders" ซึ่งก็คือมีความผิดปกติในด้าน
พัฒนาการอย่างรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความ
สัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ ส่งผลให้มี พฤติกรรมความสนใจ และ
กิจกรรมที่ผิดปกติ

ลักษณะต่าง ๆ ในบุคคลออทิสติก

1.เข้ากับคนอื่นได้ยาก หรือไม่ได้เลย 10.ชอบอยู่คนเดียว
2.ทำอะไรซ้ำ ๆ 11.ไม่ชอบให้กอด
3.หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล 12.หมุนตัว หรือสิ่งของ
4.กลัวในสิ่งไม่สมควรกลัว 13.กระตุ้นตัวเอง
5.ไม่สบตาคน 14.หงุดหงิด งอแง โดยไม่มีเหตุผล
6.ไม่ตอบสนองต่อการสอนตามปกติ 15.เรียกไม่หัน
7.มีท่าทางการเล่นแปลก ๆ 16.ติดวัตถุ สิ่งของบางชิ้น
8.อาจไว หรือไม่ไวต่อความเจ็บปวด 17.กล้ามเนื้อใหญ่และเล็ก พัฒนาไม่ปกติ
9.ส่งเสียงประหลาด 18.แสดงความต้องการไม่ได้ ใช้ท่าทาง หรือจับมือผู้อยู่ใกล้ไปหยิบของที่ต้องการ


การสังเกตพฤติกรรมในบุคคลออทิสติก

บุคคลออทิสติก จะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ

1.ความสัมพันธ์ทางสังคม 2.การสื่อสาร 3.ความสนใจและกิจกรรม


ลักษณะพิเศษของบุคคลออทิสติก

1.บกพร่องในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม
2.บกพร่องในด้านการสื่อสาร
3.พฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างจำกัด และซ้ำ ๆ

บุคคลออทิสติกแต่ละคน มีความสามารถแตกต่างกันอย่างมาก
ออทิสติกแต่ละคน จะแตกต่างกัน สภาพปัญหาต่างกัน แนวทางการรักษาจึงย่อมแตกต่างกัน

สาเหตุการเกิดออทิสซึม
1.ทางพันธุกรรม อยู่ในระหว่างการศึกษา ค้นคว้า ยังไม่พบคำตอบที่ชัดเจน แต่พบว่าฝาแฝด
จากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเป็นออทิสติก อีกคนจะเป็นด้วย
2.โรคติดเชื้อ ปัจจุบันยังไม่พบว่า เชื้อโรคชนิดใด ที่ก่อให้เกิด กลุ่มอาการออทิสซึม
3.ประสาทวิทยา จากการศึกษาของ Magaret Bauman กุมารแพทย์ จากโรงพยาบาล บอสตัน
ซิติ พบว่า ออทิสติก จะมีความผิดปกติในสมอง 3 แห่ง คือ limbic system, cerebellum
และ cerebellar circuits ปัจจุบัน พบว่า ในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง มีความผิดปกติ ดังนี้

1.Purkinje cells เหลือน้อยมาก
2.ยังคงเหลือ "วงจร" เซลประสาท ซึ่งจะพบได้แต่ในตัวอ่อนเท่านั้น "วงจร" เซลประสาทที่
เหลือนี้จะเชื่อมต่อกับ ระบบประสาทส่วนกลางทั้งหมด
3.มีเซลประสาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในบริเวณ limbic system, hippocampus,
amygdala

จากการค้นพบนี้ Bauman สรุปว่า ออทิสซึม มีความผิดปกติด้านพัฒนาการของสมอง
ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อน ในระยะ 30 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินี้ ส่งผลให้
Limbic system ไม่มีการพัฒนา limbic system เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรม การรับรู้
และความจำ เมื่อบริเวณนี้ผิดปกติจึงมีผลให้ ความสัมพันธ์ทางสังคม ภาษา
และการเรียน ผิดปกติไปด้วย (Bauman, 1991)


4.Neurochemical Causes(สารประกอบทางเคมีในระบบประสาท) พบว่ามี neurotran
smittersบางตัว สูงผิดปกติ ได้แก่ serotonin, dopaminergic และ endogenous opioid
systems แต่เมื่อใช้ยาที่ต้านสารเหล่านี้ กลับไม่ทำให้อาการต่าง ๆ ในออทิสซึมดีขึ้น
5.การบาดเจ็บ ก่อน ระหว่าง และหลังการคลอด

แนวคิดและรูปแบบในการให้ความช่วยเหลือเด็กหรือบุคคลออทิสติกในระดับชุมชน

บุคคลออทิสติก คือบุคคลที่แสดงออกซึ่งกลุ่มอาการออทิซึม เด็กออทิสติกคือเด็กที่แสดงออก
ซึ่งกลุ่มอาการออทิซึ่ม

กลุ่มอาการออทิซึมเกิดจากความผิดปกติทางสมองและระบบประสามสัมผัสมาตั้งแต่ก่อนและ
หรือหลังคลอด จากหลายสาเหตุซึ่งกำลังอยู่ในระยะค้นคว้าศึกษาถึงปัจจัยของสาเหตุที่แน่นอน
ความผิดปกติดังกล่าวทำให้การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ผิวหนัง ตา หู จมูก ลิ้น เบี่ยงเบน
ผิดแผกไปจากคนปกติ ส่งผลให้การประมวลผลข้อมูลในสมองผิดปกติ ซึ่งที่ตัวเนื้อสมองเองก็
ผิดปกติอยู่แล้วยิ่งเมื่อได้ข้อมูลที่เบี่ยงเบนผิดแผกแตกต่างไปจากของคนปกติ ก็แน่นอนว่า
การประมวลผลข้อมูลในสมองของเด็กหรือบุคคลออทิสติกย่อมจะต้องผิดแผกแตกต่างไปจาก
คนปกติเช่นกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้การตอบสนองของเด็กหรือบุคคลออทิสติกก็จะต้องผิดปกติไปจากคนปกติ การตอบ
สนองผิดปกติก็คือ การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ผิดปกติ ดังนั้นกลุ่มอาการออทิซึ่ม จึงเป็นกลุ่ม
อาการที่แสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากพฤติกรรมของคนปกติโดยพฤติกรรมที่ผิดปกติ
นี้จะสังเกตเห็นชัดเจนเต็มที่ได้ที่อายุ ๓ ปีขึ้นไป แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะรู้ถึงความผิดปกตินี้ได้ตั้งแต่
แรกเกิดจนถึงปีกว่าๆ ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจทางการแพทย์ที่แน่นอนใดๆ ที่จะบ่งชี้ได้ว่าเด็กคน
ไหนจะเป็นออทิสติกหรือไม่ ข้อที่จะบ่งชี้ได้แต่เพียงประการเดียวก็คือ พฤติกรรมที่ผิดปกติ ที่จะได้
มาจากการสังเกตและการซักประวัติ เท่านั้น จะไม่มองเห็นได้ด้วยตาหรือตรวจรู้ได้ทันทีเฉกเช่น
ความผิดปกติอื่นๆ ที่เราคุ้นเคยกัน เป็นต้นว่า ผู้พิการแขนขา หูหนวกตาบอด ปัญญาอ่อนแบบ
กลุ่มอาการดาวน์ ฯลฯ

เพราะรูปลักษณ์ภายนอกทางสรีระร่างกายของเด็กกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างไปจากเด็กปกติหาก
ไม่มีความพิการอย่างอื่นซ้ำซ้อนร่วมด้วยนี่คือความแตกต่างไปจากผู้ด้อยโอกาสหรือผู้พิการกลุ่ม
อื่นๆ

ประการหนึ่งของเด็กกลุ่มออทิสติก พฤติกรรมที่ผิดปกติในเด็กหรือบุคคลออทิสติกดังกล่าวจะ
แสดงออกใน ๓ ลักษณะใหญ่ๆดังนี้

1.กิจกรรมความสนใจที่ซ้ำๆ ยากต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น ติดของบางอย่าง กินอาหารแต่เพียงบาง
อย่างซ้ำเล่นอะไรซ้ำๆ กิริยาบางอย่างซ้ำๆซากๆ เป็นต้นว่า การหมุนวนตัวเอง การเล่นมือ การเอา
วัตถุมาเคาะการเอามือเคาะตามพื้นผิวต่างๆ การเดินเขย่งเท้า การวิ่งพล่านไปมาไม่อยู่นิ่ง ชอบดม
สิ่งของต่างๆ ชอบแกะแคะเก็บกินสิ่งต่างๆ ที่เด็กหรือคนปกติไม่ทำ ชอบลงไปนอนคลุกกับพื้น ชอบ
ปีนป่าย สนใจแสงและวัตถุเคลื่อนไหว หยีตามองแสงอาทิตย์ได้นานๆ จ้องมองไฟนีออนได้นานๆ
ชอบปีนขึ้นไปนั่งบนโต๊ะ บนหลังตู้สูงๆ จะเอาอะไรก็ไม่พูดไม่บอกใช้วิธีจูงมือผู้ใหญ่ไปหยิบให้ ฯลฯ
กิจกรรมความสนใจเหล่านี้สะท้อนออกซึ่งความผิดปกติ เป็นอันดับแรกที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลย
คือ เขาไม่สนใจคน ความสนใจของเด็กออทิสติกอยู่ที่สิ่งอื่นๆทั้งหมด แต่ไม่ใช่ที่คนด้วยกัน ถ้าไม่ได้
รับการฝึกฝนหรือกระตุ้นเขาจะไม่สนใจคนไม่มองหน้าคนเด็กออทิสติกเมื่อตอนเล็กๆจึงไม่แปลก
หน้าใครเลย

2.การสูญเสียทางด้านภาษาและการสื่อความหมาย ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง เป็นที่ทราบกันดี
ว่าเด็กปกติเรียนรู้ภาษาและการสื่อความหมายจากการสังเกตุและเลียนแบบผู้คนรอบข้าง แต่เด็ก
ออทิสติกไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากกิจกรรมความสนใจที่หมกหมุ่นซ้ำซากดังกล่าวปิดกั้นและจำกัด
พวกเขาจากการสังเกตุผู้คนรอบข้างเมื่อไม่สังเกตไม่สนใจก็ไม่เกิดการเลียนแบบ เมื่อไม่เกิดการ
เลียนแบบการเรียนรู้ทางด้านภาษาและการสื่อความหมายก็จึงเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเด็กออทิสติกถ้า
ไม่ได้รับการฝึกฝน จะไม่เรียนรู้จากการสังเหตุหรือเลียนแบบใครหรืออะไรอย่างมีความหมายเลย
เด็กออทิสติกส่วนใหญ่จึงไม่พูด หรือถ้าพูดได้ก็ไม่ชัด ไม่เป็นคำกลายเป็นภาษาเฉพาะของตัวเขา
เอง หรือพูดได้ชัดเจนดีมากเป็นต่อยหอยแต่ก็ไม่รู้ความหมายเป็นเหมือนการสะท้อนเสียงคนแบบ
นกแก้วเท่านั้น

3.การสูญเสียทางด้านสังคม เมื่อไม่รู้ภาษาก็จึงสื่อความหมายไม่ได้ สื่อความหมายไม่ได้ก็ไม่เกิด
การเรียนรู้ทางสังคม เมื่อไม่ได้เรียนรู้ทางสังคมก็ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคลต่างๆ
ตั้งแต่พ่อแม่พี่น้องในครอบครัว ครู ตำรวจ ฯลฯ ในชุมชน ไปจนถึงบุคคลในสังคมระดับกว้าง

ก็จึงแน่นอนว่าพวกเขาจะต้องไม่สามารถมีปฏิกิริยาต่อสัมพันธภาพของบุคคลในสังคมได้อย่างถูก
ต้องเหมาะสมในทุกระดับ เมื่อไม่สามาถปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ก็จึงแยกตัวอยู่คนเดียวในโลกส่วน
ตัวของเขา เองความผิดปกติใหญ่ๆ ในทั้งสามลักษณะนี้เกี่ยวเนื่องต่อโยงกันเป็นวงจรปิด คือปิดให้
เด็กหรือบุคคลออทิสติกแยกตัวอยู่คนเดียวในโลกส่วนตัวภายในหัวสมองของเขาเท่านั้น

เด็กออทิสติกจึงมักเล่นคนเดียวไม่เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน
บุคคลออทิสติกก็ชอบอยู่คนเดียวไม่สุงสิงกับใคร
หัวใจของการช่วยเหลือเด็กหรือบุคคลออทิสติกนั้นกิจกรรมการเรียนการสอนการฝึกทักษะที่ทีมครู
จัดให้เด็กจะต้องมีแผนการสลายและดัดแปลงพฤติกรรมผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์และสร้างเสริม
พฤติกรรมแบบคนปกติที่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วยเสมอ จนกระทั่งไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติและหรือ
เหลือเป็นพฤติกรรมที่ปกติเท่านั้นในที่สุด

จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าออทิสติกเป็นปัญหาที่พฤติกรรม โดยเฉพาะ
พฤติกรรม การเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงพฤติกรรมทางสังคม นี่คือข้อแตกต่างจากผู้พิการหรือผู้
ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของเด็กกลุ่มออทิสติก ด้วยข้อบ่งชึ้ทางการแพทย์ที่ว่า
พฤติกรรมที่ผิดปกตินี้เกิดจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาทสัมผัสทั้งห้าทำให้เด็กหรือ
บุคคลออทิสติกมี การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและ การประมวลผลข้อมูลในสมองเบี่ยงเบนไปจากของ
คนปกติส่งผลให้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเบี่ยงเบนไปจาก ของคนปกติออทิสติกจึงไม่ใช่เรื่อง
ของคนโรคจิต จึงเป็นความผิดบาปอย่างมหันต์ที่จะปล่อยให้เด็กหรือบุคคลกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกับเด็ก
เล็กๆอายุเพียงสองสามขวบถูกปฎิบัติอย่างกับคนโรคจิตจากบุคลากร ทางการแพทย์ด้วยการให้ได้
รับยากดประสาทที่ใช้กับคนโรคจิตประสาท เข้าไปกดสมองและคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้
นิ่งให้ซึม ให้หลับและที่สำคัญที่สุดยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ ยืนยันว่ายารักษาคนโรคจิตจะทำให้เด็กหรือ
มนุษย์ฉลาดและรู้จักตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมดีขึ้นในระยะยาว

เราควรจะต้องตระหนักกันว่าเด็กจะฉลาดและเรียนรู้ได้ดีก็ด้วยการ
อบรมบ่มเพาะจากผู้ใหญ่และสังคมเท่านั้น

การผลักดันให้เด็กออทิสติกซึ่งมีปัญหาทางด้านการเรียนรู้และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่
ถูกต้องเข้าไปอยู่ในอุ้งมือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ถนัดแต่จะใช้ยาในการรักษาโรคเท่านั้นในบาง
รายบางกรณีจึงค่อนข้างเป็นการเสี่ยงภัยอย่างยิ่ง

ดังนั้นจึงคงจะต้องชี้ให้ชัดกันไปเลยว่า โดยหลักการบทบาทของแพทย์น่าจะเป็นเพียงผู้วินิจฉัยเท่านั้น
แพทย์ไม่ได้ ถูกอบรมบ่มเพาะมาให้ฝึกสอนเด็กโดยเฉพาะเด็กออทิสติก เมื่อผ่านการวินิจฉัยแล้วจะ
ต้องส่งต่อให้เป็นเรื่องของนักพฤติกรรมบำบัดหรือนักจิตวิทยาคลีนิค นักฝึกพูดบำบัด นักกายภาพบำบัด
นักกิจกรรมบำบัด อยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งเป็น ระยะที่ไม่น่าจะนานนักจากนั้นจึงเป็นเรื่องของครูการศึกษา
พิเศษอยู่อีกระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นในระยะยาวก็จะต้องเป็น เรื่องของครูทั่วไปเป็นด้านหลักเฉกเช่นเด็ก
ปกติ หากการกระตุ้นพัฒนาการกับนักบำบัดต่างๆและกับครูการศึกษา พิเศษตามที่กล่าวมานี้ประสบ
ผลสำเร็จทว่าในสภาพความเป็นจริงนักบำบัดต่างๆ รวมทั้งครูการศึกษาพิเศษที่ กล่าวถึงเหล่านี้มีอยู่
เพียงหยิบมือเดียวกระจุกตัวอยู่ในที่เจริญ และส่วนมากที่สุดยังไม่ตื่นตัวพอที่จะมาทำเรื่อง ออทิสติก
อย่างเป็นการเป็นงานหรือเป็นกิจลักษณะอย่างที่จังหวัดขอนแก่น ก็มีอยู่แต่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ครูการศึกษาพิเศษก็มีอยู่แต่ที่โรงเรียนการศึกษาพิเศษและศูนย์การศึกษาพิเศษเขต ๙ อยู่ไม่กี่คน
บุคคลากรที่ มีอยู่เพียงหยิบมือเดียวเหล่านี้จึงไม่อาจเป็นที่พึ่งของประชากรออทิสติกที่อยู่ห่างไกล
อย่างอำเภอบ้านไผ่ได้ จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าจะเป็นที่พึ่งของอำเภออื่นๆที่อยู่ห่างไกลกันดารออก
ไปอีก แต่ทั้งนี้ก็ในสภาพความเป็นจริงอีกเช่นกัน ที่ครูทั่วไปมีอยู่ทั่วไป ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ
ครูทั่วไปเหล่านี้มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหงของเมืองไทย และมีอยู่อย่างลงลึกถึงระดับหมู่บ้าน

ทำอย่างไรจึงจะยกระดับครูทั่วไปเหล่านี้ ให้ขึ้นหรือเข้ามาทำงานกับเด็กออทิสติกได้ ทำอย่างไรจึง
จะให้ครูทั่วไป ที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหงเหล่านี้เปิดโลกเปิดใจตอบรับเด็กกลุ่มออทิสติก นี่เป็นเรื่องที่
กระทรวงศึกษาฯจะต้องเร่งศึกษาและมีนโยบายตลอดจนแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมลงมา

เพราะพฤติกรรมที่ผิดปกติของเด็กออทิสติกจะหมดไปได้ในระยะยาวก็โดยการสอน
ให้เขารู้จักตอบสนอง ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง นั่นคือการฝึกการสอนให้เขามี
พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในทุกๆด้าน ไม่ใช่ด้วยการให้กินยา และไม่ใช่
ด้วยการให้ความรักแบบอวิชาของพ่อแม่ ความรักจะไม่ช่วยอะไรเลย
ถ้าคุณไม่มีเวลาที่จะสอนและถ้าคุณไม่รู้จักวิธีที่จะสอน


วิธีการฝึกวิธีการสอนสำหรับเด็กออทิสติก ปัจจุบันเรามีอยู่แล้วอย่างเป็นระบบเป็นหลักสูตรแต่เรา
ขาดครูขาดหน่วยงานที่จะมาบริหาร ขาดบุคลากรขาดทุนทรัพย์ที่จะถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาไทย ทุกหน่วยงานส่วนใหญ่ ในชุมชนยังมองไม่เห็นแนวทางที่จะเดินไป แต่ถ้าหากได้รับ
ความร่วมมือจากครูทั่วไปและจากหน่วยงานโดยเฉพาะโรงเรียนในชุมชนที่ครูทั่วไปสังกัด เด็ก
ออทิสติกรุ่นหลังๆจะเดินทางสู่ความเป็นคนเต็มคนอย่างเต็มศักยภาพได้ทุกเศษฐะฐานะ เพราะ
ความผิดปกติของเด็กออทิสติกดังกล่าวทำให้เด็กออทิสติกอยู่ในภาวะที่ต้องสอนกันทุกอย่างๆ
ต้องสอนกันอย่างรอบด้านทุกๆ ด้าน พวกเขาจึงต้องการครู และครูหลายคน เป็นทีม พวกเขาก็
จึงเช่นเดียวกับเด็กปกติต้องการโรงเรียน ต้องการห้องเรียน และต้องการเพื่อนในวัยเดียวกัน เป็น
ความจำเป็นพื้นฐานที่เด็กกลุ่มนี้จะต้องได้รับสิ่งเหล่านี้ สังคมทุกส่วนจะต้องตระหนักและเห็นใจ
และเข้าใจว่าครอบครัวหรือเพียงแม่เท่านั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กกลุ่มนี้ให้ไป
สู่จุดสูงสุดได้

อันดับแรกต้องทำให้เด็กออทิสติกให้ความสนใจคน มองหน้าและสบตาคน นั่นคือทักษะการให้ความ
ตั้งใจจากนั้นการฟังคำสั่งของคนโดยตอบสนองต่อคำสั่งอย่างง่ายก่อน เช่น “ลุกขึ้น-นั่งลง”
“นั่งเรียบร้อย” เป็นอันดับต่อมา นั่นคือ ทักษะการให้ความร่วมมือเนื่องจากเด็กออทิสติกมีความผิด
ปกติที่สมองซึ่งเป็นส่วนสั่งการการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กมัดใหญ่ของร่างกายทั้งระบบด้วย
คำสั่งว่า “ทำอย่างนี้” เราสามารถทำให้เด็กออทิสติกเข้าใจ มโนคติของการเลียนแบบการเคลื่อน
ไหวกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กมัดใหญ่

นั่นคือ ทักษะการเลียนแบบ ด้วยทักษะพื้นฐานทั้งสามนี้เราสามารถจะทำให้เด็กออทิสติกฝีกฝนทักษะ
ที่สูงขึ้นไป เป็นลำดับขั้นได้นั่นคือ ทักษะการรับรู้ทางภาษา ทักษะการแสดงออกทางภาษา ทักษะก่อน
วัยเรียน ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง ทักษะทางวิชาการ ทักษะการใช้และเข้าใจภาษานามธรรม และ
ทักษะทางสังคม ในที่สุดเพราะ เด็กออทิสติกเป็นปัญหาที่พฤติกรรม ฉะนั้นการสอนทักษะต่างๆ ดัง
กล่าวนี้ จึงต้องใช้เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้
ของศาสตร์ทางด้านวิชาพฤติกรรมที่ว่า

“สิ่งเร้ากระตุ้นให้เกิดการตอบสนองและผลที่ติดตามมา หากผลที่ติดตามมาเป็นที่
น่าพึงพอใจการตอบสนองนั้นก็มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกได้เรื่อยๆหากไม่ก็มีแนวโน้มว่า
จะลดน้อยถอยลงหรือกระทั่งไม่มีการตอบสนองเลย”


เทคนิคการสอนเชิงพฤติกรรมประกอบด้วยเทคนิคการแตกงานหรือทักษะที่จะสอนออกเป็นส่วนย่อย
หลายๆส่วนหลายๆขั้นตอนให้ง่ายที่สุดจนกระทั่งเด็กสามารถทำได้แล้วเอาส่วนย่อยๆนั้นมาสอนให้เด็ก
ทำได้ทีละส่วนเทคนิคการแนะเพื่อประกันให้เด็กสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้องผู้สอนจะต้องใช้
เทคนิคการแนะจากมากที่สุดตั้งแต่การจับมือให้ทำ ชี้บอก บอก ฯลฯ ไปจนกระทั่งไม่มีการแนะเลย
เทคนิคการให้รางวัลและลงโทษสำหรับการตอบสนองที่ถูกและผิดในการสอนทักษะแต่ละส่วน เทคนิค
นี้เป็นหัวใจของเทคนิคตามหลักการของทฤษฏีของศาสตร์ทางด้านวิชาพฤติกรรมดังที่กล่าวแล้วข้าง
ต้น

เทคนิคการสานต่อพฤติกรรมเอาทักษะแตกย่อยแต่ละส่วนที่เด็กทำได้จนคล่องแล้วมาสานต่อกันเป็น
ทักษะหนึ่งทั้งหมดเทคนิคการขยายผลพฤติกรรม

เอาทักษะหนึ่งทั้งหมดที่เด็กทำได้แล้วกับครูผู้สอนคนหนึ่งในสถานที่หนึ่งและเวลาหนึ่งให้ไปทำได้กับ
ครูผู้สอนหรือคนอื่นๆหลายๆคนในสถานที่อื่นๆที่หลากหลายหรือในช่วงเวลาต่างๆกันออกไป

เทคนิคการรักษาไว้ซึ่งทักษะที่ทำได้แล้วให้คงทำได้อยู่ตลอดไป หมายถึงว่า ทักษะใดๆ ที่เด็กทำได้
แล้วจะต้องถูกทบทวนเป็นช่วงๆ สลับกับทักษะใหม่ๆ ที่เด็กได้รับการฝึกสอนเพิ่มเติมเข้ามาเรื่อยๆ
และที่จะลืมเสียไม่ได้ เป็นอันขาดคือ เทคนิคในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ที่จะจัด
การกับพฤติกรรมที่ขัดขวางการเรียนรู้การเข้าสังคม การรบกวนผู้อื่น การทำร้ายผู้อื่น เช่น การโมโห
อาละวาด การเอาวัตถุมาเคาะ การเล่นมือ ฯลฯ


เราจึงต้องเปิดโลกของเด็กออทิสติกเข้าสู่สังคมของเด็กและคนปกติ การเปิดโลกของพวกเขาเข้าสู่
สังคมของผู้ด้อยโอกาสอื่นๆด้วยกันอาจจะไม่ช่วยพัฒนาศักยภาพของพวกเขาให้เป็นปกติได้อย่าง
เต็มที่ เป็นต้นว่า
การเอาเด็กออทิสติกไปเรียนปนกับผู้พิการแขนขา เขาจะเลียนแบบการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่
ของแขนหรือขาได้อย่างไร?
การเอาเด็กออทิสติกไปเรียนร่วมกับผู้พิการทางหู เขาจะเลียนแบบการพูดและการฟังได้อย่างไร?
การเอาเด็กออทิสติกไปเรียนร่วมกับผู้พิการทางตาเขาจะเลียนแบบการมองการกวาดสายตาได้อย่างไร?

หรือการเอาเด็กออทิสติกไปเรียนรวมกับผู้พิการทางสมองแบบกลุ่มอาการดาวน์ซึ่งก็มีปัญหาทางด้าน
พฤติกรรมที่ช้าที่ต้องการความช่วยเหลือในการกระตุ้นเช่นกันแล้วเด็กออทิสติกจะได้รับการกกระตุ้น
พัฒนาการอะไรจากกลุ่มเพื่อน?

สรุปแล้วเด็กออทิสติกเข้ากันได้ดีที่สุดกับกลุ่มเด็กปกติ เนื่องเพราะเด็กออทิสติกหูก็ได้ยินเสียง ตาก็
มองเห็น แขนก็มี ขาก็มี รับสัมผัสทางผิวหนังได้ ลิ้นก็รับรู้รสได้ เราจึงจะต้องกระตุ้นพัฒนาการของ
เด็กออทิสติก โดยมีเด็กปกติในวัยเดียวกันเป็นมาตรวัด ดังนั้นพวกเขาจะได้ประโยชน์สูงสุดกับการ
กระตุ้นพัฒนาการอย่างมีการวางแผนอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเด็กหรือคนปกติมากกว่าจะอยู่ใน
กลุ่มคนอปกติด้วยกัน

เด็กออทิสติกแต่ละคนมีพัฒาการต่างระดับกันและมีลีลาการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในออทิสติกแต่
ละแบบทั้งนี้จะเห็นว่าเด็กออทิสติกจะขาดครูพี่เลี้ยงไม่ได้อย่างเด็ดขาดเพราะเทคนิคการสอนเชิง
พฤติกรรมในการสอนทักษะบางด้านต้องเป็นการสอนตัวต่อตัว หรือเด็กหนึ่งครูสองด้วยซ้ำเพราะ
เด็กออทิสติกมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดต่างๆทั้งใหญ่และเล็ก ทักษะบางอย่างจึง
ต้องแนะด้วยการจับมือให้ทำ จับศรีษะให้หันมามอง เป็นต้น

ในเบื้องต้นประมาณ ๒-๕ ปี ครูพี่เลี้ยงมีความสำคัญต่อความเป็นไปได้ของการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น
ต่างๆให้แก่เด็กกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมของเด็กปกติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น