วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและก้าวร้าวในเด็กออทิสติก (Hyperactive and Aggressive Behavior)

พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและก้าวร้าวในเด็กออทิสติก (Hyperactive and Aggressive Behavior)

 

บทความนี้กล่าวถึงพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งและพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งพบได้บ่อยๆ ในเด็ก
ออทิสติกและพัฒนาการบกพร่อง สำหรับผู้ปกครองและผู้ที่ให้การดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติกและเด็กพัฒนาการบกพร่อง
โดยมีแนวคิดว่านอกเหนือจากทีมผู้รักษาแล้ว ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่สำคัญและมีบทบาทในการดูแลเด็กมาก
ที่สุด ดังนั้นผู้ปกครองควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติหรือความบกพร่องของเด็ก และมีส่วนร่วมในการ
รักษา เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กได้ผลดียิ่งขึ้น ผู้ปกครองต้องอาศัยประสบการณ์ที่จะต้องฝึฝนและอดทน รวมทั้งการแลก
เปลี่ยนประสบการณ์จากผู้อื่น และทั้งนี้จะอยู่บนพื้นฐานของความรักและความต้องการที่จะช่วยเหลือเด็กอย่างแท้จริง

พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactive Behavior)

พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง หมายถึงการกระทำหรือการแสดงออกมากเกินไป ไม่สามารถนั่งนิ่งอยู่กับที่ได้นาน ไม่มีสมาธิ
ไม่สนใจอะไรจริงจังมีความสนใจช่วงสั้น

อาการแสดงออกที่มักพบได้เสมอคือ

เด็กทำอะไรจับจด ไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ฟังคำสั่ง เปลี่ยนความสนใจบ่อย ไม่สนใจอะไรจริงจัง เบื่อง่าย สมาธิ
สั้น เล่นอะไรก็เล่นช่วงเวลาสั้น ๆ และเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อย ๆ หันเหความสนใจต่อสิ่งกระต้นภายนอกได้ง่าย
เด็กจะทำอะไรออกไปโดยปราศจากความยั่งคิด ทำให้เหมือนคนวู่วาม ใจร้อน ทำอะไรก็ทำไปทันที ไม่มีการรั้งรอ
และมักจะเปลี่ยนเรื่องง่าย ด้วยเหตุนี้เด็กจึงมักจะทำอะไรไม่เป็นระบบ ต้องการความช่วยเหลือแนะนำอยู่เสมอ
ความอดทนในการเล่นและรวมกลุ่มมีน้อยมาก และรอคอยไม่เป็น ถ้าอยู่รวมกลุ่มมักชอบส่งเสียงดัง ร้องตะโกน
เด็กอยู่ไม่เป็นที่ ชอบวิ่งกระโดด ปีนป่าย มักทำตนเสี่ยงต่ออันตรายอยู่เสมอ ถ้าจับนั่งก็จะอยู่ไม่สุข คว้าโน่น คว้านี้
เคลื่อนไหวตลอด เด็กดูจะสงบลงเวลาเดียวคือเวลาหลับแต่บางคนก็นอนดิ้น การอยู่ในที่จำกัดเด็กมักจะดูซุกซน
มากขึ้น
การช่วยเหลือหรือการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง

คุณพ่อ คุณแม่ควรมีความพร้อมเพื่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างแท้จริง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และ
ความรู้ความสามารถที่จำเป็นจะต้องมี

ด้านร่างกาย : ได้แก่ การมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงเหมาะสมไม่อยู่ในสภาพของการเจ็บป่วย

ด้านจิตใจ : ได้แก่ การมีความพร้อมที่จะฝึกเด็ก มีจิตใจเมตตา รัก และเข้าใจเด็ก มีความตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือ
เด็ก มีความอดทนและอดกลั้นต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างความภูมิใจในตนเองที่ได้ช่วย
เหลือเด็ก

ด้านความรู้ : ได้แก่ การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสภาพและอาการของเด็กอาจทำได้โดยการค้นหาตำรา หรือ
สอบถามปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้อื่น

ก่อนที่จะเริ่มให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรผ่านขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพหรือสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก
ก่อน โดยการพูดคุย หยอกเล่น หาของที่เด็กชอบเป็นรางวัล กอดสัมผัส โอบหลัง - ไหล่ เด็กขณะพูดคุยด้วยท่าทีที่เป็น
มิตรยิ้มแย้มแจ่มใน น้ำเสียงที่พูดอ่อนโยนและมั่นคง การทักทายเด็กจะต้องสม่ำเสมอ ทำทุกวัน เรียกชื่อเด็กและพึง
ตระหนักว่าเด็กที่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับการฝึกได้ คือเด็กสบายดี ไม่เจ็บป่วยได้รับการดูแลทางด้านความสะอาดของ
ร่างกาย การรับประทานอาหาร การขับถ่ายการพักผ่อนมาอย่างเหมาะสมแล้ว

กิจกรรมการฝึกประกอบด้วย

การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งมากขึ้น เช่น จัดห้องหรือมุม
เฉพาะ ให้เด็กนั่งหันหลังให้หน้าต่าง เพื่อหลีกเลี่ยงแสง สี เสียง ที่จะดึงสมาธิและความสนใจเด็กจากกิจกรรมที่จะ
ให้ทำ สถานที่จะต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น อาวุธ และสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
กิจกรรมที่ให้เด็กทำระยะแรก ควรกำหนดให้ทำเสร็จภายในระยะเวลาไม่นาน เช่น วางบล็อกไม้ซ้อนกัน ภาพตัดต่อ
ร้อยลูกปัดใส่แท่งรูปทรงต่าง ๆ ในกล่อง ระบายสี ปั้นแป้ง ตัดกระดาษ เป็นต้น อาจกำหนดไว้ 4 - 5 นาที ก่อน
หรือแล้วแต่สมาธิของเด็กแต่ละคนแล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้น
ทันทีที่เสร็จงานที่ให้เด็กทำ ไม่ว่าจะทำเสร็จเองหรือผู้ฝึกช่วยจับมือให้ทำ จะต้องให้รางวัลที่ตกลงกับเด็กไว้เสมอ
รางวัลที่ให้อาจจะเป็นของที่เด็กชอบ เช่น ขนมลูกอม หรือสิ่งที่เด็กอยากจะทำ เช่น เด็กยอมทำเพื่อที่จะได้ลุกออก
ไป 1 ครั้ง เป็นต้น และการกล่าวคำชม “ดีมาก” “เก่งมาก” เป็นกำลังใจที่ดี สำหรับเด็กทุกคน
จัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อให้ได้ใช้พลังงาน เช่น การวิ่ง เล่นกระสอบทราย กระโดด เตะลูกบอล
สถานที่ที่ควรพาเด็กไปเที่ยวควรเป็นสถานที่เพิ่มความสนใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น สวนสัตว์ หรือเป็นที่ที่เด็กจะวิ่ง
เล่นได้อย่างปลอดภัย เช่น ทุ่งหญ้า สนามกว้าง ๆ หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปยังสถานที่ที่มีสิ่งกระตุ้นมาก ๆ เช่น เสียง
อึกทึกครึกโครม บริเวณที่มีอันตรายต่าง ๆ เช่น ดาดฟ้า บริเวณใกล้น้ำลึกที่ไม่มีเครื่องป้องกัน
หากเด็กไม่ยอมทำกิจกรรมหรือต่อต้านการฝึก ควรหาสาเหตุต่าง ๆ เสียก่อนซึ่งเด็กอาจไม่พร้อมที่จะรับการฝึก
เช่น เด็กเป็นหวัด เป็นไข้ ไม่สบาย ปวดท้อง อารมณ์หงุดหงิด หรือไม่คุ้นเคยกับผู้ฝึก และสถานที่ ควรอนุโลมให้
เวลาจนกว่าเด็กจะพร้อม
พึงตระหนักว่ากิจกรรมทุกอย่างยืดหยุ่นได้ ไม่ตายตัว หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผู้ฝึกจะต้องเป็นนักสังเกตที่ดี และ
ปรับให้เมาะสมกับเด็กได้เสมอ
ในเด็กบางรายอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย เช่น การทำร้ายตนเอง และผู้อื่น การทำลายข้าวของ จึงขอ
กล่าวถึงเรื่องของพฤติกรรมก้าวร้าวได้พอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้

พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior)

พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นการแสดงออกทางด้านความคิด คำพูด และการกระทำที่รุนแรงขาดความยับยั้งชังใจ
ไม่เป็นมิตร คุกคามและรุกรานผู้อื่น เพื่อระบายความโกรธ ความคับข้องใจ หรือปกปิดความกลัว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด
อันตรายต่อตนเอง บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมรอบตัว พฤติกรรมก้าวร้าวที่พบในเด็กออทิสติกและพัฒนาการบกพร่องใน
การสื่อภาษากับผู้อื่น

อาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรมก้าวร้าว

การแสดออกทางสีหน้า มักพบว่า

สีหน้าบึ้งตึง โกรธ ที่ทางไม่พอใจแววตาไม่เป็นมิตร
การเคลื่อนไหว และการกระทำ คือ

กระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้
กระแทกหรือกระทำด้วยความรุนแรง
หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่อย่างทันทีทันใด
การแสดงออกทางคำพูด ในเด็กที่สามารถพูดได้โดย

เงียบเฉยผิดปกติ
โต้ตอบด้วยน้ำเสียงห้วน
พูดก้าวร้าว วิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิติเตียน
ระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก้าวร้าว

1. ระดับอ่อน (MILD ANGER)

สีหน้าบึ้งตึง โกรธ แววตาไม่เป็นมิตร แสดงท่าทางไม่พอใจ พูดโต้ตอบด้วยน้ำเสียงห้วน ขึ้นเสียง

2. ระดับปานกลาง (MODERATE AGGRESSIVE)

ส่งเสียงดัง กระแทก หรือกระทำด้วยความรุนแรง เอะอะ วางอำนาจ ขู่ตะคอก

3. ระดับรุนแรง (SEVERE VIOLENCE)

ขาดสติ ขาดความยับยั้งชังใจ ชกต่อย ทุบตี ทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ

สาเหตุ

พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กออทิสติก อาจเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุร่วมกัน เช่น

ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่คาดหวังไว้หรือมีความคับข้องใจ
มีความกลัว ความรู้สึกไม่มั่นคง คิดว่าความสามารถของตนเองลดลง
เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงเส้นคงวา
เกิดจากการเลียนแบบการแสดงออกของอารมณืและพฤติกรรมซึ่งเป็นการเลียนแบบบุคคลสำคัญที่ตนเองชื่นชอบ
และบุคคลในครอบครัว (IDENTIFICATION WITH THE AGGRESSOR)
มีบุคลิกภาพผิดปกติ เชิงก้าวร้าว เช่น ANTISOCIAL PERSONALITY, BORDERLINE PERSONALITY
มีสถานการณ์ที่คุกคาม ทำให้เด็กเกิดความรุนแรง เช่น แสง เสียง ที่มากเกินไป
มีความผิดปกติทางด้านความคิดการรับรู้ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้
มีความผิดปกติทางสมองร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคลมชัก
มีความผิดปกติทางสมองร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคลมชัก
มีพยาธิสภาพทางร่างกาย เช่น เจ็บป่วยเรื้อรัง มีความพิการ
อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไร้ระเบียบแบบแผน
“การช่วยเหลือ” หรือ “การกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว”

1. แยกเด็กออกจากสถานการณ์ หรือสิ่งรบกวน ให้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย
2. ขจัด / ลดสิ่งกระตุ้นที่เป็นสาเหตุโดยตรง เช่น เสียงและแสงที่กระตุ้นให้เด็กเบี่ยงเบนความสนใจจากกิจกรรม
ที่กำลังทำอยู่
3. ให้ความช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงโดย

ต้องพร้อมเผชิญหน้าด้วยความระมัดระวัง มีท่าทีสงบไม่ตื่นเต้นหรือแสดงอาการก้าวร้าว หรือโกรธตอบ
เรียกชื่อเพื่อให้เด็กรู้สึกตัวและหยุดพฤติกรรมที่ทำอยู่ชั่วคราว พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน ไม่ตำหนิ ถ้าเด็กสามารถ
พูดได้ให้เด็กมีโอกาสได้ระบายความคับข้องใจ ความรู้สึกโกรธ ความไม่พอใจ โดยมีเราเป็นผู้ฟังที่ดี กระตุ้นให้พูด
เช่น มีอะไรทำให้ไม่พอใจหรือ ? ถามความต้องการของเด็ก เช่น หนูไม่พอใจอะไรถึงได้ทำแบบนี้, เพราะอะไรถึง
เอะอะโวยวายเช่นนี้ เด็กบางรายพูดไม่ได้บอกความต้องการไม่ได้ บิดามารดาจึงต้องอาศัยความช่างสังเกตว่าอะไร
เป็นสาเหตุของความโกรธนั้น
ช่วยเหลือให้เด็กได้ระบายความก้าวร้าวได้เหมาะสม โดยจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กลดระดับความก้าวร้าวลง
การจัดกิจกรรมที่ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวและเจ้าอารมณ์ ได้แก่

หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้เด็กโกรธ
เมื่อเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น ผู้ฝึกควรพูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น พูดด้วยถ้อยคำสั้น ๆ ที่เด็กเข้าใจไม่ยืดยาว อด
ทนด้วยท่าทีที่มั่นคง สงบ ใจเย็น ไม่รีบร้อนหรือตกใจแยกเด็กออกจากเหตุการณ์นั้น หรือเบี่ยงเบนความสนใจเด็ก
ด้วยกิจกรรมอื่นที่เด็กชอบ การลงโทษทันทีโดยไม่ให้เด็กได้รับในสิ่งที่เด็กชอบ เช่น ไม่ให้ขนม ไม่ให้อยู่ร่วมกลุ่ม
ให้ยืนกอดอกคนเดียว หรืออยู่ห้องแยก เด็กจะค่อย ๆ เรียนรู้ว่าสิ่งไหนไม่ควรกระทำ อาจต้องใช้เวลานานที่จะค่อยๆ
แก้ไขพฤติกรรมเช่นนี้
กิจกรรมที่ต้องเหมาะสมกับความสามารถ และใช้เวลาให้เหมาะสมกับช่วงความสนใจของเด็ก
เป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานใช้พละกำลัง เช่น เตะฟุตบอล ตอกค้อน วิ่งกระโดด เล่นกระสอบทราย เล่นน้ำ ถีบจักรยาน

ดูแลเด็กที่ได้รับยาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เด็กที่กำลังอยู่ในระยะที่มีพฤติกรรมรบกวนตนเองและผู้อื่นน้อยลง ลดอาการ
ลุกลี้ลุกลน ผู้ปกครองควรดูแลให้เด็กได้รับยาตรงตามการรักษาของแพทย์ และสังเกตอาการหากมีอาการเปลี่ยน
แปลงใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้รักษาทันที
4. ช่วยให้เด็กมีรูปแบบในการปรับตัวช่วยเหลือให้เด็กได้แสดงความโกรธอย่างเหมาะสมและสังคมยอมรับ เช่น

เด็กตีเพื่อนเพราะอยากเล่นด้วยแต่เล่นไม่เป็น เราต้องจับมือเด็กเข้าไปหาเพื่อนแตะเบา ๆ พูดนำ “นี่น้องเมย์นะ
โหน่งของเล่นด้วยคน”
เด็กวิ่งชนเพื่อนหกล้ม เราต้องจูงมือเด็กเข้าไปพยุงเพื่อนให้ลุกขึ้น (บางทีต้องทำให้เด็กดู) บอกเด็กให้พูดว่า ขอ
โทษ ปลอบเพื่อนให้หยุดร้อง เตือนเด็กว่าเพื่อนเจ็บไม่ชอบ ไม่ดี ทีหลังไม่ทำ
แสดงการขอแทนการแย่งชิง ถ้าเด็กทำได้ ให้รางวัลและชมเชยทันที
กรณีที่เด็กบกพร่องด้านภาษา ไม่เข้าใจที่เราพูด จะทำอย่างไรเพื่อให้รู้ว่าการกระทำของเขาไม่เหมาะสม การ
ลงโทษทางสังคม ให้แยกเด็กออกจากกลุ่ม ไม่ให้รางวัลที่เด็กชอบ เช่น ขนมที่เคยได้รับ หรือเราเฉยเมยต่อพฤติกรรม
ของเขาเสีย จะทำให้เด็กเรียนรู้จากท่าทีและรูปแบบใหม่ที่เหมาะสม

การพิจารณาจำกัดพฤติกรรม เช่น การผูกมัด การใช้แยกห้องจากผู้อื่น ต้องทำด้วยท่าทีที่ไม่ใช่การลงโทษรุน
แรง แต่เพื่อความปลอดภัยของเด็กเองและของคนอื่น ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เด็กได้รับอันตราย ถ้าเด็ก
สามารถเข้าใจภาษาได้ดี ควรบอกเด็กว่าเพราะหนูทำแบบนี้จึงต้องปล่อยให้อยู่คนเดียว ในห้องนี้เป็นเวลา 1 นาที
“หรือจนกว่าอาการจะสงบลง” ระหว่างนี้ต้องเดินมาดูเป็นระยะ ๆ ไม่ทิ้งเด็กไว้นานเกินไปเพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย พอ
เด็กสงบลงก็พาออกมาล้างหน้าตา ทาแป้ง พูดคุยด้วย เมื่อแสดงพฤติกรรมได้เหมาะสมก็ให้รางวัลและชมเชยเพื่อเป็น
แรงจูงใจให้เด็กปฏิบัติได้อีก

พึงระลึกว่าการฝึก ต้องอาศัยความอดทน มีความสม่ำเสมอคงเส้นคงวา ไม่ใช่วันนี้ปล่อยตามสบาย อีกวันเข้ม
งวด จะทำให้เด็กสับสนและไม่เกิดผลดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว

และสิ่งสำคัญคือกัลใจของท่านที่ต้องให้แก่ตนเองเพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นเป็นไป
ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้โดยมีความรักต่อเด็กเป็นพื้นฐาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น