วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สุรา-บุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งศีรษะและลำคอ

สุรา-บุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งศีรษะและลำคอ



ศ.ดร.นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์ ภาควิชาศัลยศาสตร์:บทความ
นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์ : เรียบเรียง

สาเหตุของโรคมะเร็ง บริเวณศีรษะและลำคอเป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับโลก ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 540,000 รายทั่วโลก และเสียชีวิต 271,000 รายต่อปี ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอคืออะไรกันแ น่ มาฟังคำตอบพร้อมๆ กันค่ะ...
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอนั้น มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ซึ่งสารก่อมะเร็งจะไปกระตุ้นความผิดปกติระดับยีนของผ ู้ป่วย และนอกจากนี้ยังเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติทางพัน ธุกรรม ซึ่งอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งบริเวณนี้เพิ่มขึ้น
อาการของมะเร็งในระยะเริ่มแรกขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป ็น เช่น มะเร็งกล่องเสียง จะมีอาการเสียงแหบ มะเร็งช่องปาก จะมีแผลเรื้อรัง มีอาการปวด พูดไม่ชัด เลือดออกจากแผล และมีก้อนยื่นออกมา มะเร็งบริเวณโคนลิ้นและกล่องเสียง จะทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารหรือน้ำลำบาก เจ็บคอ เสียงเปลี่ยน หรือหายใจไม่สะดวก แต่สำหรับมะเร็งบริเวณหลังโพรงจมูกและใต้กล่องเสียงก ลับไม่มีอาการใดๆ ในระยะแรก
และเมื่อมะเร็งเข้าขั้นระยะลุกลามแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกันในทุกตำแหน่ง คือ น้ำหนักลดลง อาการปวดร้าวจากมะเร็งจะลุกลามไปที่เส้นประสาททั่วร่ างกาย ถ้าไปที่สมอง จะทำให้ตามองเห็นภาพซ้อน หายใจลำบาก เนื่องจากทางเดินหายใจอุดกั้น และอาการที่เห็นชัดคือ แผลที่ทะลุออกมาบริเวณผิวหนัง รวมทั้งมีเลือดออกจากบริเวณช่องปากหรือช่องคอ
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอมีโอกาสเสี่ยงสูงที่ จะเกิดมะเร็งขึ้นที่ บริเวณอื่นๆ เช่น ในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เนื่องจากการดื่มสุราและสูบบุหรี่ จะมีสารก่อมะเร็งที่ส่งผลต่อเยื่อบุทั้งหมดที่สัมผัส กับสารเหล่านี้ แม้ว่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงไปนานแล้วก็ตาม
สำหรับการวินิจฉัยมะเร็งบริเวณนี้ ทำได้ไม่ยาก แต่ปัญหาคือผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ในระยะที่โรคเป็ นมากแล้ว กว่าครึ่งหนึ่งพบว่าเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปที่บริเวณ ต่อมน้ำเหลืองในลำคอ และแพร่กระจายไปที่ปอดซึ่งพบมากที่สุด อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุและมีโรคร่ว มจากการสูบบุหรี่และ ดื่มสุรา ฉะนั้นการรักษาจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ฝ่าย
แต่หากคุณหรือคนใกล้ ชิดมีอาการที่น่าสงสัยหรือมีปัจจัยเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ยิ่งพบเร็ว โอกาสหายขาดก็มีมากขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น