วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคไฮเปอร์แอคทีฟ

โรคไฮเปอร์แอคทีฟ

กลุ่มอาการสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนว่า
อะไรที่ทำให้สมองมีความผิดปกติ แต่จากวิทยาการและวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมีผลพอ
พิสูจน์ได้ว่าน่าจะเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่ว่าพันธุกรรมจะมีส่วนอย่างใดและมีการถ่าย
ทอดอย่างไร ยังไมีมีรายละเอียดที่ชัดเจน แต่มีผลต่อสมองทำให้การทำงานของสมองบาง
ส่วนเกิดการบกพร่อง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิของคนเรา ทำให้เกิด
การทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันต่อระบบสั่งงานอื่นๆ อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ในอดีตมีชื่อเรียกเกี่ยวกับกลุ่มอาการเหล่านี้ได้ในหลายชื่อเช่น
Hyper Kinetic Disorders / Minimal Brain Abnormality / Minimal Brain Disfunction

แต่จากการศึกษาในปัจจุบันเรารวมเรียกกลุ่มอาการต่างรวมมาเป็น
Attention Defecit Hyperactivity Disorders (ADHD) หรือใน
บ้านเรานิยมเรียกว่า โรคเด็กไฮเปอร์


จากการทำการวิจัยสำรวจเด็กไทยในเขตกรุงเทพมหานครพบว่ามีเด็กในกลุ่มสมาธิสั้นประมาณ
ร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียนหรือประมาณ 2-3 คนในห้องเรียนขนาด 50 คน สำหรับในต่างประเทศ
พบได้ประมาณร้อยละ 3-15 ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศและระบบการศึกษา

อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญุ่ๆคือ
1. อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity) ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วๆไป ซนแบบ
ไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี่ลุกร้น ตลอดเวลา
2. อาการสมาธิสั้น สามารถสังเกตุได้โดยเด็กจะมีความวอกแวกง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยก็สามารถ
ทำให้เด็กเสียสมาธิได้แล้ว เข่น ในขณะที่เด็กกำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ พอมีเสียงดังเบาๆเช่นเสียงของตก
พื้น หรือกิ่งไม้หล่นบนพื้น กลุ่มเด็กพวกนี้จะหันไปหาแหล่งต้นเสียงทันที หรือขณนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน
พอมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูโดยทันที เป็นลักษณะเป็นความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยผ่านทาง ตา / หู
นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวของเด็กเอง ในกรณีนี้จะแสดงออกในลักษณะอาการเหม่อ
ลอย นั่งนิ่งๆ เป็นนระยะเวลานานๆ เหม่อบ่อย เป็นต้น

กลุ่มอาการสมาธิสั่นนี้ยังแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะที่กำลังทำงาน
อย่างหนึ่งอยู่นั้น ใจก็จะคิดวอกแวกไปคิดถึงเรื่องอื่นๆต่อไป ทำให้งานกว่าจะเสร็จได้ต้องใช้เวลานาน
ต้องค่อยจ่ำจี้จ่ำไชงานถึงจะสำเร็จลุล่วงไปได้

3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsive) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น ยกตัวอย่าง
เช่น ในขณะที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่กำลังคุยกันอยู่ เมื่ออยากจะพูดเด็กก็จะพูดแทรกขึ้นมาในทันทีโดยไม่คำนึง
ถึงความเหมาะสม โดยเด็กจะไม่สามารถอดใจทนรอให้การสนทนานั้นเสร็จเสียก่อน
หรืออีกตัวอย่างเช่นผู้ปกครองเด็กบอกให้ช่วยหยิบน้ำให้แก้วหนึ่ง ลุกจะรีบว่างไปหยิบเอาแต่แก้วมายื่น
ให้ เหมือนกับยังไม่ทันฟังคำร้องขอให้เสร็จก่อน ก็รีบวิ่งไปก่อนเสียแล้วจะแสดงออกในลักษณะรีบเร่ง
หุนหันพลันแล่น รอคอยไม่เป็น มักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อกับตัวเด็กได้ง่าย

ซึ่งลักษณะอาการสำคัญทั้ง 3 ของกลุ่มเด็กสมาธิสั้นข้างต้น เด็กอาจมีลักษณะครบทั่ง 3 กลุ่มได้ หรือ
โดยอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นหรืออาจมีลักษณะเด่นร่วมกัน1-2 อาการเลยก็ได้

สรุปลักษณะที่สำคัญของเด็กสมาธิสั้นคือ วอกแวกง่าย ทำงานไม่ค่อยเสร็จ
ซนไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น
ดังนั้นการวินิจฉัยจึงมักต้องเปรียบเทียบกับเด็กธรรมดาทั่วๆไป ที่สำคัญคือมักทำงานใดๆไม่ค่อยสำเร็จและชอบรบกวนเด็กอื่นๆมากกว่าปกติทั่วๆไป
แม้แต่การเล่นก็เล่นก็มักเล่นไม่จบ เช่นการเล่นต่อตัวต่อเลโก้ โดยเด็กทั่วไปในวัย 7-8 ขวบ
น่าจะนั่งเล่นตัวต่อเลโก้จนได้เป็นรูปเป็นร่างได้ แต่ในเด็กกลุ่มสมาธิสั้นอาจทำไม่สำเร็จ



เรามักจะใช้เกณฑ์ของกลุ่มเด็กปกติทั่วไปเป็นเกณฑ์ในการช่วยเปรียบเทียบตัดสิน เช่นเด็กวัยประมาณ
7 ขวบจะสามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานประมาณ 15-30 นาที แต่ถ้าเด็กที่นั่งเล่นอยู่กับที่ไม่ได้ก็ให้ฉุก
คิดไว้ก่อน เป็นต้น

เมื่อกลุ่มเด็กสมาธิสั้นนี้ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ รักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ก็มีผลผลต่อเนื่องให้เป็นผู้ที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ณจุดนี้อาจแยกเป็น
2 กลุ่มได้คือ
- กลุ่มหนึ่งจะแปรเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเกเร กร้าวร้าว ต่อต้านสังคม
- อีกกลุ่มจะกลายเป็นคนที่ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า หงอยเหงา คนในกลุ่มนี้จะมองตัวเองไม่ดี ไร้ค่า อาจถึง
- อีกกลุ่มจะกลายเป็นคนที่ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า หงอยเหงา คนในกลุ่มนี้จะมองตัวเองไม่ดี ไร้ค่า อาจถึง
ขั้นฆ่าตัวตายได้
ทั้งสองกลุ่มข้างต้นมักจะพบได้บ่อนในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เริ่มโตขึ้น แต่ก็มีบ้างบางส่วนที่อาจจะไปใน
ทิศทางที่ดี สาเหตุเนื่องจากมีพรสวรรค์ด้านอื่นเป็นพิเศษมาช่วยชดเชย
มาช่วยทำให้เด็กมีความภูมิใจ หรือมีสภาพแวดล้อมและพ่อแม่มีความเข้าใจลูกเป็นอย่างดีคอยดูแล

ในวัยเรียนกลุ่มเด็กอาการสมาธิสั้นจะมีผลกระทบต่อการเรียน เด็กกลุ่มนี้จะไม่คอยมีช่วงที่มีสมาธิ
สำหรับการตั้งใจเรียน มีแนวโน้มที่จะล้มเหลวในการเรียนสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลและเข้าใจเป็นอย่างดี
เช่นในการเรียนบทเรียนวันนี้ยังไม่ทันจะทำความเข้าใจดี ในวันรุ่งขึ้นก็มีบทเรียนใหม่เข้ามาอีกแล้ว ทำ
ให้การเรียนไม่ค่อยทันเพื่อน แปรเปลี่ยนไปเป็นการเบื่อไม่อยากเรียนไป

อาจมีบ้างที่ให้ผลเป็นดีในทางกลับกันคือ เด็กมีพรสวรรค์ทางด้านไอคิว บวกกับอาการสมาธิสั้นทำให้
สามารถฟังการสอนแบบผ่านๆก็สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี ทั้งๆที่แสดงออกเหมือนไม่ได้ตั้งใจฟังที่
ครูสอนเลย ลักษณะอย่างนี้บางครั้งก็กลับกลายไปเป็นผลเสียต่อเพื่อนเรียนข้าง เพราะในช่วงไม่มีสมาธิ
ก็จะไปรบกวนสมาธิของเด็กข้างพลอยทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียนไปด้วย อาจดูเหมือนเป็นตัวปัญหา
ของชั้นเรียน ทำให้ความสัมพันธืต่อคนอื่นไม่ดีไปด้วย

เมื่อเราสังเกตุลักษณะอาการของเด็กและสงสัยว่าน่าจะเป็นกลุ่มอาการสมาธิสั่นแล้ว ผู้ปกครองควรจะ
พาไปพบจิตแพทย์เพื่อให้ผู้ชำนาญทำการทดสอบวินิจฉัยให้ชัดเจนแน่นอนก่อน แล้วค่อยไปสู่การทำการ
รักษาต่อไป ในการรักษานอกจากการใช้ยาร่วมด้วยแล้วทางด้านผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยในการรักษา
ในการตระเตรียมสภาพแวดล้อมโดยมีหัวข้อหลักๆ 3 ประการดังนี้
1. ต้องมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งรบกวนและสิ่งเร้าต่อเด็กมากเกินไป พยายามจัดห้อง
หรือบ้านให้มีระเบียบเช่นไม่มีของเล่นวางเกลื่อนไปหมด ไม่มีบรรยากาศวุ่นวายสับสน เสียงตะโกนโวก
เหวกเปิดเสียงเพลงดัง จนเด็กไม่สามารถรวบรวมสมาธิได้เลย แม้แต่การพาไปเที่ยวนอกสถานทีก็ไม่
ควรพาไปในที่อีกกระทึก วุ่นวายเสียงดัง เป็นต้น

2. การช่วยเสริมสร้างวินัยในตัวเด็ก เพราะจะเป็นตัวนำไปสู่การรู้จักควบคุมตนเอง เป็นการเสริมทาง
อ้อมให้รู้จักรวบรวมสมาธิได้แก่
- การสร้างเสริมวินัยในกิจวัตรประจำวัน โดยการจัดตารางงานให้ทำเป็นเวลา สร้างระเบียบพื้นฐานใน
บ้านแบบกิจวัตรว่าใครจะช่วยจัดการอะไรบ้าง ใครถูพื้น ใครกวาดบ้าน ใครล้างจาน เป็นประจำ
- วินัยในการตรงต่อเวลา ฝึกให้เด็กมีตารางเวลาในการทำงาน ว่าควรทำอะไร ในเวลาไหนทจะเสร็จ
เมื่อใด เป้นต้น
การสร้างระเบียบต่างๆข้างต้น ควรเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีทางสำเร็จถ้าจะให้ทำได้
ทุกอย่างในเวลาสั้นๆทันทีทันใด และที่สำคัญผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างในตอนเริ่มต้น
และค่อยๆลดตนเองลงที่ละน้อย จนเด็กสามารถทำด้วยตนเองทั้งหมด

3. การหากิจกรรมช่วยเสริมทักษะ เช่นการเรียนดนตรี การเรียนศิลปะ การอ่านหนังสือ กีฬา หลีกเลี่ยง
เกมส์ กีฬา หรือกิจกรรมที่มีความรุนแรงเพราะจะกลับกลายไปกระตุ้นอาการสมาธิสั้น เป็นการทำให้
อาการแย่ลงไปอีก

พ่อแม่ต้องมีความเข้าใจ อดทน มีความหนักแน่นในหลักการ และที่สำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการ
ลงโทษ โดยเปลี่ยนเป็นการลงโทษโดยการตกลงกันไว้ก่อนแทน เช่น งดเวลาการดูโทรทัศน์ลงแทน เมื่อ
ทำไม่ตรงตามกติกา เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น