วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จะมีวิธีการฝึกและดูแลเด็กออทิสติกอย่างไร

จะมีวิธีการฝึกและดูแลเด็กออทิสติกอย่างไร

การฝึกเด็กออทิสติกเป็นวิธีการฝึกตามธรรมชาติ มีวิธีปฏิบัติตามขั้นตอนของการพัฒนาของเด็กทั้งทางด้านสังคม การสื่อความหมาย การช่วยตนเองในชีวิตประจำวัน การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก การเล่นและการับรู้ทางอารมณ์ซึ่งเป็นการแก้ไขความบกพร่องของเด็กออทิสติก เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนนำเด็กสู่สังคม
นอกบ้าน เข้าสู่สังคมของเด็กในโรงเรียนต่อไป
วิธีที่จะนำเด็กออกจากโลกของตนเองสู่สังคมในบ้าน
1. การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า
- การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า
- การกระตุ้นสัมผัสทางตา
- การกระตุ้นสัมผัสทางหู
- การกระตุ้นสัมผัสทางจมูก
- กระกระตุ้นสัมผัสทางลิ้น
2. การจัดมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง เด็กออทิสติกส่วนมากเมื่อต้องการอะไรไม่สามารถชี้บอกถึงความต้องการนั้นได้ จึงใช้วิธีจับมือบุคคลที่อยู่ใกล้ไปทำสิ่งนั้นแทน กิจกรรมนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องฝึกสอนให้เด็กสามารถทำกิจกรรมที่ตัวเองต้องการได้ด้วยตนเองเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้เด็กออทิสติกและช่วยลดปัญหา
ทางอารมณ์ด้วย
3. การหันตามเสียงเรียก เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักชื่อของตนเอง ตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อเด็กโดยการหันตามเสียง เป็นการกระตุ้นให้เด็กพัฒนาทางด้านการสื่อความหมาย และนำ เด็กให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลได้มากขึ้น
4. การสอนให้เด็กรู้จักตนเองและสมาชิกในครอบครัว การสอนให้เด็กได้รับรู้ว่าตัวเองชื่ออะไร คนไหนคือ พ่อแม่ พี่น้องเป็นการสอนให้เด็กได้รับรู้และเข้าใจว่าสมาชิกในครอบ
ครัวมีความแตกต่างกัน
การฝึกกิจวัตรประจำวัน
1. การสอนให้เด็กรู้จักการใช้ในชีวิตประจำวันก่อนที่จะเริ่มฝึกให้เด็กสามารถเรียนรู้ในการช่วยตัวเองได้ในกิจวัตรประจำวัน ควรให้เด็กได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องใช้ในกิจกรรมนั้นๆ ก่อนจนสามารถหยิบจับหรือชี้สิ่งของแต่ละอย่างได้ถูกต้อง จึงจะสอนสาธิตวิธีการใช้ในกิจกรรมนั้นๆ ต่อไป
2. การทำความสะอาดร่างกายควรฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองตามขั้นตอนทีละน้อยในการแปรงฟัน การล้างหน้า การอาบน้ำ เด็กออทิสติกทุกคนจะรู้สึกภูมิใจเมื่อสามารถทำได้ด้วยตนเอง
3. การฝึกการแต่งกายควรใช้เสื้อ กางเกงที่เป็นผ้ายืดซึ่งจะทำให้เด็กทำตามด้วยตนเองได้ง่ายเพื่อเสริมแรงจูงใจให้เด็กเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้าโรงเรียนต่อไปเด็กออทิสติกส่วนใหญ่สามารถถอดเสื้อและกางเกงได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องฝึกสอน แต่ไม่สามารถสวมเสื้อและกางเกงได้เอง
4. การฝึกใช้ช้อนรับประทานอาหารเด็กออทิสติกส่วนมาก จะชอบใช้มือหยิบอาหารรับประทาน จึงควรสอนให้สามารถใช้ช้อนตักอาหารรับประทานได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
5. การฝึกการขับถ่าย โดยเด็กปกติจะมีความพร้อมที่จะรับการฝึกการขับถ่ายได้เมื่ออายุระหว่าง 2-3 ปี เด็กบางคนอาจจะมีความพร้อมก่อนอายุ 2 ปีก็ได้สำหรับเด็กออทิสติกจะมีความพร้อมที่จะฝึกการขับถ่ายไม่เหมือนเด็กปกติจึงใช้อายุเป็นเกณฑ์ไม่ได้ เมื่อเริ่มฝึกจึงควรให้เลิกให้เลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เพื่อจะได้ทราบว่าเด็กขับถ่ายเวลาใดทั้งปัสสาวะและอุจจาระ แล้วพาเด็กมาฝึกในเวลาใกล้เคียงกันพร้อมทั้งใช้คำง่ายๆ สอนเด็กคือ "ฉี่" "อึ" เด็กจะสามารถรับรู้ได้ไม่เร็วเหมือนเด็กปกติ การฝึกการขับถ่ายนี้เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมก่อนส่งเด็กเข้าเรียน

การเล่นและการรับรู้ทางอารมณ์
1. การเล่นของเล่น เด็กออทิสติกจะเล่นของเล่นไม่เป็น เนื่องจากขาดจินตนาการ ทำให้เด็กหันเข้าหาตัวเองและอยู่ในโลกของตนเอง เพราะไม่รู้สึกสนุกสนานในการเล่นของเล่นเหมือนเด็กปกติ เมื่อเด็กได้รับการฝึกให้เล่นของเล่นเป็นแล้วจะเป็นการเชื่อมโยงในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลการสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น และปรับอารมณ์ให้ดีได้ด้วย
2. การสื่อสารโดยใช้ท่าทาง เด็กออทิสติกที่ยังไม่สามารถพูดได้มักจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ จึงควรฝึกให้เด็กสามารถสื่อสารโดยใช้ท่าทางก่อนเพื่อเป็นการสื่อความหมายบอกถึงความต้องการของเด็กได้ก่อนที่เด็กจะสามารถสื่อความหมายด้วยการพูด ซึ่งจะเป็นการนำทางให้เด็กสามารถพูดได้เร็วขึ้น
3. การรับรู้การแสดงอารมณ์ทางสีหน้า เด็กออทิสติกจะไม่สามารถอ่านจิตใจ และอารมณ์ของผู้อื่นจากการแสดงออกทางสีหน้าได้ เนื่องจากขาดกระบวนการความคิดซึ่งเป็นนามธรรม จึงเห็นได้เสมอว่าเด็กออทิสติกจะหัวเราะเมื่อเห็นแม่กำลังร้องไห้ แม้แต่เด็กออทิสติกที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติแล้ว ยังหัวเราะเมื่อเห็นเพื่อนถูกครูทำโทษ จึงควรฝึกสอนแบบรูปธรรมให้เด็ได้รับรู้ถึงสีหน้าที่แสดงออกทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เด็กอยู่ในสังคมนอกบ้านได้อย่างเหมาะสม
การฝึกเด็กออทิสติกนั้น ต้องมีความตั้งใจจริง อดทนฝึกช้ำ ๆ ใช้ระยะเวลาไม่นานเกินไป ฝึกขณะที่เด็กและผู้สอนมีอารมณ์ผ่อนคลาย การฝึกไม่ควรเร่งรัด ต้องทำใจยอม
รับด้วยว่า การฝึกเด็กออทิสติกนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและการตอบสนองได้ช้ากว่าเด็กปกติมาก แต่เมื่อเด็ก ออทิสติกสามารถกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้แล้วจะไม่ลืม
และช่วยเป็นแรงผลัดดันให้ทั้งตัวเด็กและทั้งผู้สอนไปพร้อมๆ กัน ควรระวังด้วยว่า การฝึกที่ใช้การบังคับและฝึกมากจนเกินไปกลับจะเป็นผลเสียทำให้เด็กหงุดหงิด มีปัญหาทาง
อารมณ์ ไม่ยอมปฏิบัติยอม อันเป็นเหตุให้ผู้สอน ท้อแท้และหมดกำลังใจได้ ทำให้การฝึกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
การรักษาเด็กออทิสติกนั้น จะใช้วิธีการหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวไม่ได้ ควรใช้หลายๆ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ ผสมผสานกันไป โดยให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ควรให้เด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอพร้อมกับฝึกสอนการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างถูกต้องเมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้ได้แล้วควรฝึกสอนเกี่ยวกับทักษะในการดำรงชีวิตให้เด็กด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น