วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ม้าบำบัด

ม้าบำบัด

ความเป็นมาของการขี่ม้ากับคนพิการในประเทศไทย
เนื่องจากเด็กที่เกิดมาพร้อมกับความพิการในประเทศไทยของเรามีจำนวนไม่น้อย หลายคนมักจะกล่าวว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม ปล่อยมันไปเถอะ แต่ความจริงแล้วความพิการทางร่างกายและสมอง สามารถที่จะบำบัดช่วยเหลือได้ จึงทำให้แพทย์และนักกายภาพบำบัดหลายต่อหลายคน อุทิศความรู้ความสามารถและเวลาเพื่อที่จะช่วยให้เด็กๆเหล่านี้ได้มีโอกาสที่จะฟื้นฟูสภาพเพื่อที่เขาจะได้อยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมได้ การทำกายภาพบำบัดถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการจะฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการไม่ว่าจะโดยกำเนิดหรือจากอุบัติเหตุ แต่ผู้ที่ต้องรับการทำกายภาพบำบัดส่วนใหญ่
มักจะรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ แต่ก็จำต้องอดทนเพื่อผลที่จะได้รับแพทย์และนักกายภาพจึงพยายามที่จะหาวิธีการใหม่ๆในการทำกายภาพบำบัดที่ได้ผล และไม่ทำให้ผู้รับการบำบัดรู้สึกเบื่อหน่าย
หลายแห่งในต่างประเทศได้มีการทดลองนำการขี่ม้าเข้ามาใช้ในการบำบัดผู้พิการเพราะเห็นว่าการขี่ม้านั้น นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้รับการบำบัด และที่สำคัญที่สุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นกีฬาก็คือม้าซึ่งเป็นสิ่งที่มีชีวิต
ผู้ขี่มิได้ใช้เพียงร่างกายในการบังคับ แต่ผู้ที่เล่นกีฬาขี่ม้าจะต้องมีการสื่อสารกับม้าด้วยจิตใจจะเห็นได้ว่านอกจากการขี่ม้าจะช่วยในเรื่องของ ความพิการทางร่างกายแล้ว ยังส่งเสริมใน
เรื่องของจิตใจด้วย ซึ่งผลจากการทดลองอยู่นานปีแพทย์และนักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่เห็นว่าการขี่ม้าเป็นการทำกายภาพบำบัดที่ได้ผลอย่างเห็นได้ชัด
ในประเทศไทยของเราก็ได้มีการนำกีฬาขี่ม้ามาทดลองใช้ในการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้พิการมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
โดยแรกเริ่มมิสซิส ซิวล์เวีย ฮานด์ (นักกายภาพบำบัดชาวต่างชาติซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทย)ผู้อุทิศตนเป็นอาสาสมัครอยู่ที่โรงเรียนศรีสังวาลย์ ได้มีแนวความคิดที่จะนำเอากีฬาขี่ม้าซึ่งเป็น
กีฬาที่บุตรสาวของเธอโปรดปรานมาทดลองใช้ในการทำกายภาพบำบัดให้กับเด็กนักเรียนพิการในโรงเรียนศรีสังวาลย์ เธอจึงเริ่มหาข้อมูลจากศูนย์กายภาพบำบัดในหลายๆประเทศที่มีการนำกีฬาขี่ม้ามาใช้กับผู้พิการ และได้ปรึกษากับ มิสซิส ลี โรด์ส (ปัจจุบันก็คือ คุณยายลี ผู้อำนวยการแคมป์ขี่ม้าและศูนย์กีฬาแห่งแม่น้ำแคว) ซึ่งเป็นครูสอนขี่ม้าของบุตรสาวของเธอในขณะนั้น ในเรื่องของความเป็นไปได้ ที่จะหาม้าที่สามารถใช้ในการบำบัด(ต้องเป็นม้าที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษเพื่อใช้กับ การฝึกเด็กหรือผู้ที่รับการฝึกขี่ม้าใหม่) รวมถึงการจัดหาผู้ช่วยในการดูแลความปลอดภัยและเงินทุน เมื่อได้ข้อมูลที่สมบูรณ์แล้วเธอทั้งสอง จึงได้นำขอมูลทั้งหมดไปมอบให้กับ คุณหญิงกอบลาภ เย็นมะโนช
(อดีตประธานกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการฯ หลายสมัย) ซึ่งท่านก็เห็นด้วยและได้ดำเนินการต่อจนได้มีการเริ่มการทำกายภาพบำบัดโดยใช้กีฬาขี่ม้า ให้กับเด็กพิการ จากโรงเรียนศรีสังวาลย์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ในระยะแรกการทำกายภาพบำบัดบนหลังม้าในประเทศไทย
ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มาก เราต้องพบกับอุปสรรคมากมาย
ต้องใช้อาสาสมัครจำนวนมากที่จะต้องอุทิศตนช่วยเหลือ จะ
ต้องใช้เงินทุนมากพอสมควร และที่สำคัญ หลายฝ่ายทั้งผู้ที่อยู่วงในและบุคคลภายนอกไม่ให้การยอมรับเท่าที่ควร หลายคนพยายาม
ที่จะต่อต้านและกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก แต่ในความจริงแล้ว ถ้าผู้ที่ให้การฝึกขี่ม้ามีความรู้ลึกซึ้งจริง และม้าที่ใช้เป็นม้าที่ได้รับ
การฝึกมาเป็นพิเศษแล้ว ผู้รับการบำบัดจะได้รับความปลอดภัยเต็มที่ รวมถึงผลของการบำบัดก็จะเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และด้วย
ความรักในเด็กๆรวมถึงความพยายามของกลุ่มผู้ริเริ่มโครงการ ส่งผลให้ผู้เข้ารับการบำบัดในช่วงแรกๆ มีชีวิตอยู่ในสังคมร่วมคนปกติ
ได้เป็นอย่างดีและหลายคน ประสพความสำเร็จในชีวิตอย่างสูง
จะเห็นได้ว่า กีฬาขี่ม้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่มีบุตรหลานซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำกายภาพบำบัด แต่ท่านผู้ปกครองควรที่จะต้องทราบไว้อย่างหนึ่งว่า การทำกายภาพบำบัดบนหลัง
ม้าไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านจำเป็นที่จะต้องทำหรือฝึกภายใต้การควบคุมดูแลจากผู้ที่รู้จริงและมีประสพการมากพอสมควร ที่สำคัญอีกอย่างคือ ม้าที่จะใช้ในการฝึกจะต้องเป็นม้าที่ฝึกมาเป็นพิเศษ ทางที่งานของเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่ท่านได้รับรู้จากข้อมูลในครั้งนี้ จะเป็นการช่วยเยาวชนอีกมากที่มีปัญหา แต่เราก็ยังกังวลอยู่ว่าหากมีผู้ทีไม่รู้จริงนำไปใช้ในทางที่ผิด อาจก่อให้เกิด
ปัญหาตามมาในภายหลังได้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น