วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

10 สมุนไพรจีนบนพื้นบ้านไทย หาง่าย ดีต่อสุขภาพด้วย

10 สมุนไพรจีนบนพื้นบ้านไทย หาง่าย ดีต่อสุขภาพด้วย



10 สมุนไพรจีนบนพื้นบ้านไทย หาง่าย ดีต่อสุขภาพด้วย (Lisa)


คนไทยเรามีคำสุภาษิต "หวานเป็นลม ขมเป็นยา" แต่ถ้าเป็นตำรับจีนแล้ว อาหารทุกอย่างคือยาบำรุงร่างกายทั้งนั้นหากเรารู้จัก และใช้อย่างถูกต้อง และ 10 อย่างนี้คืออาหารที่คนไทยเรารู้จักกันดี แต่คุณจะรู้มั้ยถึงสรรพคุณของมัน?

1. เห็ดหลินจือ
ในปี 2003 การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethnopharmacology ยืนยันว่าเห็ดหลินจือโดดเด่นในสรรพคุณของสารต้านอนุม ูลอิสระ ผู้ป่วยเอดส์และมะเร็งบางรายจึงใช้เห็ดหลินจือในการก ระตุ้นภูมิคุ้มกัน เร่งการผลิตเม็ดเลือดขาว บรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย และอาจช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายของเน ื้องอกในร่างกาย อย่างไรก็ดี เห็ดหลินจืดมีผลข้างเคียงที่ต้องระวัง เช่น อาจทำให้คลื่นเยน คัน และหากกินมากเกินไป อาจกระตุ้นอาการบ้านหมุนก็ได้

2. เก๋ากี้
มีชื่ออินเตอร์ว่า "โกจิเบอร์รี่" (แต่คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับชื่อภาษาจีนมากกว่า) เห็นเล็ก ๆ อย่างนี้ แต่ก็เต็มไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม วิตามินบี 2 วิตามิน และยังมีกรดไขมันโอเมก้า-3 อีกด้วย แม้โดยรวมจะไม่มีการพิสูจน์ทางคลินิก แต่ก็เชื่อกันว่าเก๋ากี้มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะชั้ นเลิศ

3. เกาลัดจีน
เกาลัดต่างจากถั่วหรือเมล็ดพืชอื่น ๆ ตรงที่มันมีไขมันน้อยมาก แต่กลับเป็นถั่วชนิดเดียวที่มีวิตามินซี เทียบเท่ากับมะนาว แน่นอนว่ามันเป็นพืชจึงไม่มีคอเลสเตอรอล เกาลัดจีนมีสารอาหารคล้ายข้าวกล้อง จึงมีคำกล่าวว่ามันคือ "ธัญพืชที่เกิดบนต้นไม้" ด้วย ความที่มันมีกรดโฟลิก วิตามินซี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มันจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายได้ดี ที่สุด นอกจากนี้ ชาวจีนโบราณยังเชื่อว่าเกาลัดจะช่วยให้ลมหายใจหวานสด ชื่นอีกด้วย

4. เก๊กฮวย
ชาเก๊กฮวยถูกใช้เป็นยาพื้นบ้านมานานในฐานะยาลดไข้ โดยมีสารอาหารทั้งวิตามินเอ วิตามินบี1 กรดอะมิโน ฟลาวานอยด์ เชื่อกันว่ามันจะช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล "เลว" และบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ethnopharmacology ก็ยังเปิดเผยว่ามันมีสรรพคุณช่วยปกป้องระบบประสาทจาก ความแก่ชราหรืออาการบาด เจ็บต่าง ๆ ดังนั้น เป็นหนุ่มสาวก็ดื่มได้ประโยชน์ดีเช่นกัน

Tip : เปลี่ยนจากชาฝรั่งมาดื่มชาเก๊กฮวยกันบ้าง โดยนำดอกเก๊กฮวยแห้งแช่ในน้ำร้อนประมาณ 5 นาที ก็จะได้ชาเก๊กฮวยสีเหลืองที่หอมกลิ่นดอกไม้

5. แปะก๊วย
เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหับสุภาพสตรีที่กำลังเข้าสู่วัย ทอง เนื่องจากมันมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อไฟโตเอสโตรเ จน ซึ่งอาจช่วยทำหน้าที่แทนฮอร์โมนที่ไม่สมดุลได้ นักวิจัยจึงเชื่อว่ามันมีสรรพคุณบรรเทาอาการของวัยขอ งหลายอย่าง ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคนอนไม่หลับ อัลไซเมอร์ และโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม การกินแปะก๊วย ก็อาจให้ผลข้างเคียง อย่างเช่น ท้องร่วง ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน เลือดไหลหรือผิวช้ำผิดปกติ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้รีบไปพบแพทย์เสีย


6. เห็ดหอม
อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินซี โปรตีน และใยอาหาร เห็ดหอมอยู่ในตำรับยาจีนมานานกว่า 6 พ้นปี โดยเชื่อว่ามันสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้เพราะ มีสารชนิดหนึ่งชื่อว่า Letinan คอยต่อสู้กับเชื้อไวรัสต่าง ๆ มันอัดแน่นไปด้วย L-Ergothioneine สารต้านอนุมูลอิสระ และดีต่อหัวใจ เนื่องจากมันช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในเห็ดหอมมีสาร Purines หากกินมากเกินไปแล้วอาจทำให้มีการสะสมกรดยูริกจนเสี่ ยงต่อโรคเกาต์ และนิ่วในไตอย่างมาก คนที่มีปัญหาไต หรือเกาต์จึงไม่ควรกินเห็ดหอม

7. เมล็ดบัว
เป็นแหล่งโปรตีน แมกนีเซียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส รวมถึงเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า L-lsoaspartyl Methyltransferase ซึ่งช่วยซ่อมแซมโปรตีนที่ถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อกันว่าเมล็ดบัวเป็นอาหารที่ช่ วยชะลอความแก่ชราได้ใน ตำรับจีนเชื่อว่า รสหวานโดยธรรมชาติของเมล็ดบัวจะช่วยบรรเทาอาการท้องร ่วง และช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ทำให้นอนหลับสบาย ส่วนแกนของเมล็ดนั้นมีรสขมและมีฤทธิ์เย็น จึงดีต่อหัวใจ โดยการช่วยขยายหลอดเลือดและลดความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยมีสรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง คนที่ท้องผูกจึงควรหลีกเลี่ยงเมล็ดบัวโดยเด็ดขาด



8. โสม
หากพูดกันถึงสมุนไพรจีนคงขาดโสมไปไม่ได้โสมแดงของจีน นั้นถูกใช้ในทางการ แพทย์มาหลายศตวรรษ และในปัจจุบันก็ยังมีการใช้อย่างแพร่หลาย ในสมัยโบราณเชื่อว่าโสมเป็นยาอายุวัฒนะส่งเสริมปัญญา และความแข็งแรง แม้ว่ายังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แต่การศึกษาจาก University of Maryland ก็ชี้ว่าโสมสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้จริง ช่วยลดคอเลสเตอรอลเลว และช่วยให้กระปรี้กระเปร่า อย่างไรก็ดี โสมไม่เหมาะกับคนที่เป็นความดันโลหิตสูง คนที่เป็นเบาหวาน สตรีมีครรภ์ และหญิงสาวที่กำลังให้นมบุตร

9. รากชะเอม
นอก จากใช้ในตำรับจีนแล้วยังสาวต้นตอไปได้ถึงสมัยโรมันซึ ่งมีการต้มรากชะเอม เพื่อบรรเทาอาการไอ หอบ เจ็บคอ โรคปอดอื่น ๆ และเชื่อว่ามันจะช่วยชะล้างภายในลำไส้ได้ นอกจากนี้ ยังเหมาะกับผู้หญิงวัยทองเนื่องจากมันมีไฟโตเอสโตรเจ นด้วย อย่างไรก็ตาม การกินรากชะเอมมาก ๆ ก็อาจทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรกินพร้อมกับยาขับปัสสาวะ เช่นเดียวกับที่คนเป็นโรคเบาหวานกับโรคตับ ควรจะหลีกเลี่ยงรากชะเอมเหมือนกัน

10. เฉาก๊วย
ด้วยเหตุที่มันดำ แวววาว และเด้งดึ๋ง เป็นที่สุด คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยนึกถึงเฉาก๊วยในแง่ของสมุนไพรหร ืออาหารเพื่อสุขภาพ เฉาก๊วยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Black Jelly หรือ Grass Jelly ซึ่งตัวมันเองเป็นอาหารที่มีธาตุหยิน หรือเป็นอาหารเย็นนั่นเอง ทำให้เหมาะจะกินในหน้าร้อน และบรรเทาอาการปวดท้อง คลื่นเยน อาหารไม่ย่อย นอกจากนี้ ยังมีใยอาหารชนิดละลายในน้ำ ซึ่งอาจจับเอาน้ำตาลและไขมันออกมาได้ มันจึงช่วยป้องกันเบาหวานและโรคหัวใจได้อีกทางหนึ่ง (ตราบใดที่คุณไม่ใส่น้ำเชื่อมเยอะมากเกินไปละก็นะ)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น