เชื่อ แน่ว่าไม่มีใครไม่เคยสะอึกค่ะ และยิ่งไปกว่านั้นคงไม่มีใครไม่รำคาญเจ้าอาการสะอึกน ี้ อาการสะอึก อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับหลายๆ คน เป็นได้ ก็หายได้ อันนี้เราไม่เถียงค่ะ แต่…ถ้าเจ้าอาการสะอึกไม่ยอมหายไปสักทีล่ะคะ เริ่มรู้สึกว่ามันจะอันตรายขึ้นมาแล้วใช่ไหม?สะอึก : อาการธรรมดา…ที่ไม่ธรรมดา?
เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าอาการสะอึกแบบธรรมดา และไม่ธรรมดา ต่างกันอย่างไร?
การสะอึก (Hiccup) นั้นเกิดจากการที่กะบังลมทำงานไม่เป็นปกติ โดยปกตินั้นกะบังลมซึ่งเป็นอวัยวะที่กั้นอยู่ระหว่าง ช่องท้องกับช่องอก จะทำงานโดยยืดและหดในจังหวะสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการหา ยใจ การสะอึกนั้นอาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุม การทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี ้ยงกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
สาเหตุ เหล่านี้ทำให้กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่ค อหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอด ผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเป็นเสียงสะอึก
อย่างไรก็ตาม สาเหตุก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการระคายเคืองที่กระเพา ะอาหารเสมอไป บางครั้งก็อาจก่อตัวที่ “ศูนย์การสะอึก” ที่อยู่ในสมองที่บังคับควบคุมให้เกิดการเคลื่อนไหวผิ ดปกติของกะบังลม จนเกิดเป็นอาการสะอึก นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติในบริเวณคอและ หน้าอก เช่น ก้อนเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น หรือเกิดจากโรคในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุทางด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกช็อก ความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น
• สะอึกธรรมดา
อาการสะอึกธรรมดาอาจเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ และหายไปได้เอง ใช้เวลาไม่กี่วินาทีไปจนถึง 2-3 นาที ซึ่งพบได้บ่อยๆ คนส่วนใหญ่มักจะสะอึกหลังจากการรับประทานอาหารมากเกิ นไปหรือเร็วเกินไป หรือรับประทานอาหารที่ทำให้มีก๊าซมาก
บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่มากเกินไป บางคนที่มีความตึงเครียดมากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้
• สะอึกไม่ธรรมดา แต่หากการสะอึกเป็นอยู่นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆ หรือสะอึกในขณะนอนหลับ อันนี้คือการสะอึกแบบไม่ธรรมดาแล้วนะคะ อาจจะต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคของอวัยวะต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง ในช่องปอด ในระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เป็นต้น
และหากอาการสะอึกไม่หยุดนานกว่า 1 วัน มีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกวิงเวียนร่วมด้วย หรือสะอึกทุกครั้งหลังจากรับประทานยาที่แพทย์จัดให้ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วนแล้วนะคะ แก้สะอึก กันดีกว่า!
การสะอึกอาจเกิดจากกินอาหารมื้อใหญ่มากเกินไป หรือการที่ต้องไปอยู่ในอากาศเปลี่ยนแปลงทันที เช่น กระทบเย็น กระทบหมอก แบบฉับพลันเช่นการไปต่างประเทศที่สภาพอากาศต่างกันมา กๆ รวมไปถึงทั้งจากการตื่นเต้น หรือเครียดมากๆ เมื่อรู้แล้วก็ลด ละ เลิก พฤติกรรมเหล่านี้ซะ แต่หากยังไม่หาย เรามีวิธีรักษาบรรเทามาฝากกันค่ะ
- สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจไว้สักพัก
- หายใจในถุงกระดาษ (ที่ครอบปากและจมูกไว้) เพื่อนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปกดที่ “ศูนย์การสะอึก” ในสมอง
- กลืนน้ำแข็งบดละเอียด
- เคี้ยวขนมปังแห้ง - บีบมะนาวให้ได้สัก 1 ช้อนชา แล้วจิบแก้สะอึก
- ก้มตัวดื่มน้ำจากขอบแก้วด้านตรงข้ามหรือด้านที่ไกลจา กริมฝีปาก
- จิบน้ำจากแก้วเร็วๆ หลายๆ อึก ติดๆ กัน
- ใช้นิ้วมืออุดหูประมาณ 20-30 วินาที
- อุดหูไปด้วย แล้วดูดน้ำจากหลอดไปด้วย
- แหงนหน้า กลั้นหายใจ นับ 1-10 จากนั้นหายใจออกทันที แล้วดื่มน้ำหนึ่งแก้ว
- ใช้นิ้วคีบลิ้นแล้วดึงออกมาเบาๆ หรือแลบลิ้นออกมายาวๆ
- กดจุด โดยออกแรงบีบเนินใต้นิ้วโป้งของมืออีกข้างหนึ่ง หรือกดบริเวณร่องเหนือริมฝีปาก
- ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าใช้มือลูบหลังเบา ๆ ให้เรอ
- ตำราโบราณที่บอกว่าทำให้ตกใจแล้วจะแก้สะอึกได้ ฟังดูเหมือนเรื่องตลกกะโหลกกะลา แต่เชื่อไหมคะว่าอาจทำให้อาการสะอึกหายได้จริง!
หลายอย่างหลายแนวเหลือเกินกับการรักษา บรรเทา อาการสะอึกที่น่ารำคาญนี้ การสะอึกอาจจะเป็นอาการธรรมดาๆ แต่ถ้าเราปล่อยไว้ไม่ใส่ใจ อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายที่ส่งผ่านร่างกายออกมาก็เป็น ได้ โรคร้ายอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น