วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาการคันติดต่อกันได้จริงด้วย

อาการคันติดต่อกันได้จริงด้วย






เป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ที่นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่า จริงๆ แล้วอาการคันนั้นติดต่อกัน และเรียกได้ว่าหากใครสักคนพูดถึงเห็บหรือเหา คนทั้งห้องก็จะเกาตามกันเหมือนเป็นปรากฏการณ์เลยทีเด ียว

นักวิจัยชี้ว่าความรู้สึกคันสามารถดึงดูดได้ด้วยการม องเห็น เช่นเดียวกับการหาว นักวิจัยพบว่าเพียงแค่การดูวิดีโอที่มีใครคนหนึ่งกำล ังนั่งเกาอยู่ นั่นก็พอที่จะโน้มน้าวและเพิ่มปริมาณการคันให้กับคนท ี่ดูวิดีโอนั้น หรือไม่เพียงแค่หยดของเหลวที่กระตุ้นการคันเพียงไม่ก ี่หยดในบรรดาผู้เข้า ทดลอง ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเกาในจุดที่กระตุ้นมากกว่าจุดอ ื่นในร่างกาย


แพทย์ผิวหนังที่ Wake Forest University School of Medicine ในรัฐนอร์ธ แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าอาการคันติดต่อกันได้เพราะสมองจะไวต่อความรู ้สึกมากเกินไปเมื่อมีคน ข้างๆ กำลังเการ่างกายอยู่ และเมื่อเป็นเช่นนั้น สมองจะตีความหมายแบบผิดๆ ต่อความรู้สึกใดๆ ของร่างกายก็ตามว่ากำลังคัน


อย่างไรก็ตาม ดร. Gil Yosipovitch ผู้นำงานวิจัยชิ้นนี้ ที่ได้ตีพิมพ์ออนไลน์ใน British Journal of Dermatology กล่าว ว่า ถึงแม้ว่าเหล่าบรรดาแพทย์ผิวหนังมักรู้สึกคันตามคนไข ้ หลังจากที่เห็นพวกเขาเกา แต่ก็ยังไม่เคยมีการศึกษาอาการคันที่ติดต่ออย่างเป็น ระบบ


ดร. Gil บอกว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยแนะว่ามีกลไกของสมองส ่วนกลางที่รับผิดชอบต่อ การก่อให้เกิดความรู้สึกอยากเกา ทั้งๆ ที่ไม่มีตัวกระตุ้นอาการคัน และยังเป็นไปได้ว่าการส่งข้อมูลของการรับความรู้สึกจ ากบริเวณต่างๆ ไปยังสมอง ซึ่งไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะเกี่ยวกับอาการคัน อาจถูกตีความผิดว่าเป็น "อาการคัน"

นักวิจัยได้ให้อาสาสมัคร 25 คนดูชุดคลิปวิดีโอที่มีความยาวห้านาที โชว์ภาพของคนที่กำลังเกาแขนของตัวเอง หรือไม่ก็คลิปที่มีคนนั่งเฉยๆ โดยที่นักวิจัยได้ให้สารละลายฮิสตามีน (สารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจากปฏิกิริยาภูมิ แพ้) เพื่อไปกระตุ้นอาการคันบนแผ่นแปะผิวหนัง หรือไม่ก็ให้สารละลายเกลือที่ไม่มีอันตรายสองถึงสามห ยดแก่อาสาสมัคร


ผลปรากฏว่าอาสาสมัครมีแนวโน้มที่จะเกาเป็นสองเท่าเมื ่อดูคนอื่นกำลังเกา ในวิดีโอ เมื่อเทียบกับการดูวิดีโอของคนที่ไม่ได้เกา โดยที่ความรู้สึกคันเกิดขึ้นทั้งในคนที่สภาพร่างกายแ ข็งแรงและในคนไข้ที่ เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis)


นอกจากนี้ ผลวิจัยคล้ายกันชี้ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิง มีการส่งต่ออาการคันเช่นเดียวกับมนุษย์ นักวิจัยจึงเชื่อว่าอาการคันที่ส่งต่อจากบุคคลหนึ่งไ ปยังบุคคลหนึ่งอาจมีราก เหง้าของการวิวัฒนาการจากในอดีต ในช่วงเวลาที่มนุษย์ค่อยๆ พัฒนาตัวเองจนต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมที่ใ กล้ชิดกัน


นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะใช้ผลที่ได้จากการวิจัยนี้เพ ื่อพัฒนาหนทางใหม่ๆ รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคคันเรื้อรังหรือโรคผิวหนังอื่ นๆ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น