ในเรื่องนี้ ทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อมูลว่า สถาบันอาหารได้ตรวจสอบพบในตัวอย่างที่สุ่มมาตรวจมีสา รแคดเมียมปนเปื้อนเกิน 2 มก./กก. ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่หลายประเทศกำหนดไว้ โดยปกติสาหร่ายทะเลจัดเป็นพืชที่มีขีดความสามารถในกา รดูดซับสารที่อยู่ใน ทะเลได้มาก ดังนั้น หากบริเวณที่สาหร่ายทะเลขึ้นอยู่มีสารปนเปื้อนที่เป็ นพิษสูง สาหร่ายก็จะดูดซับสารเหล่านั้นเข้ามาไว้ เมื่อนำมาบริโภคก็จะเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ แต่คนไทยไม่ได้บริโภคสาหร่ายทะเลเป็นอาหารหลักเหมือน กับญี่ปุ่น หรือ จีน และไม่ได้บริโภคกันในปริมาณมากนัก เพื่อความปลอดภัยกับผู้บริโภค จึงควรรับประทานสาหร่ายแห้งในปริมาณที่ไม่มาก และติดต่อกันนานเกินไป รวมทั้งต้องบริโภคอาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกาย และลดโอกาสในการได้รับสารพิษจากสาหร่ายทะเลแห้งเพราะ แคดเมียมเป็นสารที่ร่าง กายสามารถขับออกมาได้ตามธรรมชาติ"
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แต่ละประเทศจะมีมาตรฐานของการปนเปื้อนสารแคดเมียมในป ริมาณที่แตกต่างกัน เแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับไม่เกิน 2 มก./กก. ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนข องแคดเมียมในอาหารไว้ แน่ชัด แต่ได้กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนในน้ำดื่มว่า หากเป็นน้ำตามแหล่งธรรมชาติจะกำหนดไม่ให้เกิน 0.003 พีพีเอ็ม และหากเป็นน้ำดื่มบรรจุขวดจะต้องไม่เกิน 0.005 พีพีเอ็ม
จากเรื่องสาหร่ายทะเลแห้ง ก็มาถึงเรื่องความปลอดภัยในอาหารการกินอื่น ๆ กันบ้าง เพราะเรื่องนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง และที่ผ่านมารัฐบาลก็ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจ ังด้วย ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการปนเปื้อนน้อยลงลดลง โดยในกลุ่มอาหารสด เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารฟอกสี สารกันรา บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน และสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันนี้ ไม่มีใครกล้ายืนยันได้ว่า เนื้อสัตว์และพืชผักทั้งหลายที่จำหน่ายตามท้องตลาดมี ความปลอดภัยต่อการ บริโภคมากน้อยเพียงใด
มีการปนเปื้อนจากสารเคมีหรือไม่ อย่างไร ทางที่ดีจึงต้องใช้แนวทางของตนเป็นที่พึ่งแห่งตน โดยหันมาลดความเสี่ยงและป้องกันตนเองเลือกกินผักผลไม ้พื้นบ้านในท้องถิ่นตาม ฤดูกาล รวมทั้งช่วยกันอุดหนุนสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าจะปลอดภัยที่สุด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น