วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมื่อน้ำในร่างกายไม่สมดุล

เมื่อน้ำในร่างกายไม่สมดุล



สมดุลของน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไรอย่างที่พอรู้กันมาบ้างแล้วว่าร่างกายของเรามีน้ำเป็ นส่วนประกอบถึงเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่รู้หรือเปล่าคะว่าน้ำเหล่านี้ นั้นแทรกซึมอยู่ทุกส่วนของร่างกายทั้งภายในและภายนอก เซลล์ ทั้ง เลือด น้ำเหลือง น้ำย่อย ฯลฯ โดยมี “อิเล็กโทรไลต์” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “เกลือแร่” เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คลอไรด์ ฟอสเฟต และไบคาร์บอเนต ละลายปนอยู่ ทำให้น้ำมีความเข้มข้นและนำพาอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

และแม้อิเล็กโทรไลต์ทุกตัวจะมีความสำคัญ แต่ปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมและโพแทสเซียมจะมีอิท ธิพลต่อการรักษาสมดุล และถ่ายเทของน้ำในเซลล์และภายนอกเซลล์มากสุด โดยกลไกการเคลื่อนที่ของน้ำในร่างกายจะไหลจากด้านที่ มีความเข้มข้นน้อยกว่า ผ่านเยื่อกั้นผนังเซลล์ไปยังด้านที่มีความเข้มข้นสูง กว่า ยกตัวอย่างเช่น เวลาทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง หรือออกกำลังกาย น้ำภายนอกเซลล์จะกลายเป็นเหงื่อไหลออกนอกผิวหนัง ทำให้ของเหลวนอกเซลล์เข้มข้นขึ้นเพราะน้ำหายไป (แต่ปริมาณโซเดียมยังตกค้างอยู่มาก) สมองส่วนไฮโปทาลามัสจะสั่งให้น้ำในเซลล์ถ่ายเทอออกมา เพื่อปรับสมดุลไม่ให้ น้ำนอกเซลล์เข้มข้นมากเกินไป ในทางตรงกันข้าม หากเราดื่มน้ำมากเกินไป ความเข้มข้นของเหลวภายนอกเซลล์ก็จะลดลง ดังนั้นน้ำจึงไหลกลับเข้าไปในเซลล์ซึ่งมีความเข้นข้น สูงกว่า เป็นต้น

ซึ่งระหว่างที่น้ำทั้งสองส่วนถ่ายเทกันอยู่นี้ สมองจะส่งสัญญาณไปบอกไตให้เลือกเก็บกักน้ำหรือกำจัดอ อกไป เช่น เมื่อร่างกายขาดน้ำ เลือดจะเข้มข้มขึ้น สมองจะเตือนไตให้รีบดึงน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดเพื่ อไหลเวียนไปเลี้ยง อวัยวะทุกส่วนตามปกติ เราจึงไม่ค่อยปวดปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยลงและมีสีเหลืองเข้ม แต่ถ้าหากเราได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป สมองจะสั่งให้ไตรีบกำจัดน้ำส่วนเกินทิ้งไป ปริมาณปัสสาวะจึงมากขึ้นและมีสีจางลง
รู้ได้อย่างไรเมื่อน้ำในร่างกายไม่สมดุลร่างกายจะแสดงอาการว่าน้ำไม่สมดุลจาก ภาวะขาดน้ำ เกิดจากการที่เราดื่มน้ำน้อยเกินไป แม้ไตจะพยายามเก็บรักษาน้ำในร่างกายให้นานที่สุด เพื่อช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติแ ล้วก็ตาม แต่เมื่อไตเริ่มรับมือไม่ไหวก็จะส่งสัญญาณแสดงอาการไ ม่สบายต่างๆ เช่น

ปากแห้ง เพราะร่างกายหยุดผลิตน้ำลาย ส่งผลให้กลืนอาหารลำบาก และกระเพาะต้องรับภาระหนักขึ้น เนื่องจากขาดเอนไซม์ในการช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน แป้งและน้ำตาลจากน้ำลาย
ผิวหนังแห้งกร้าน ลอกเป็นขุย เพราะน้ำถูกดึงไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นๆ
ปวดศรีษะ เมื่อขาดน้ำ เลือดจะหนืดข้นขึ้นปริมาตรเลือดทั้งหมดในร่างกายจึงล ดลง หัวใจเลยต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอ วัยวะต่างๆ โดยเพิ่มอัตราการบีบตัวและกระตุ้นเส้นเลือดให้หดตัว เส้นประสาทที่พันรอบเส้นเลือดจึงถูกบีบไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ และที่ไม่ปวดบริเวณอื่น เพราะศีรษะมีเส้นประสาทจำนวนมาก จึงไวต่อความรู้สึกมากกว่า
หงุดหงิด ง่วงซึม ไม่มีแรง เบลอ เป็นอาการสืบเนื่องมาจากการที่เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมอง และกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เพราะปริมาตรของเลือดลดลงเมื่อขาดน้ำ
แผลร้อนใน เมื่อร่างกายขาดน้ำ อุณหภูมิภายในจะเพิ่มสูงขึ้น เนื้อเยื่อภายในช่องปากจึงได้รับผลกระทบ คล้ายกับผิวหนังโดนน้ำร้อนลวกจนเกิดอาการบวมแดง พองเป็นถุงน้ำใสและแตกเป็นแผลในที่สุด
ท้องผูก เพราะร่างกายจะดึงน้ำจากทุกระบบรวมทั้งบริเวณปลายลำไ ส้ใหญ่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นที่สำคัญก่อน
ความดันเลือดต่ำ เมื่อขาดน้ำแรงดันระบบไหลเวียนโลหิตจะลดลง จึงทำให้รู้สึกหน้ามืด อ่อนเพลีย วิงเวียน
ตากลวงลึกและดำคล้ำ เพราะรอบดวงตา โดยเฉพาะใต้ตาของเรามีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อร่างกายเสียน้ำไปมาก บริเวณดังกล่าวก็ได้รับผลกระทบจากการที่ร่างกายดึงน้ ำไปใช้เช่นกัน ตาจึงโหลและมีรอยคล้ำ

อย่างไรก็ตามภาวะขาดน้ำ อย่างเดียวนั้นไม่อันตรายถึงชีวิต เพราะร่างกายจะเตือนให้เรากระหายน้ำ หรือเริ่มกระบวนการกักเก็บน้ำโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น