วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

15 เรื่องกินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

15 เรื่องกินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม



15 เรื่องกินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม (modernmom)

Nutrition เรื่อง : Kant

การกินเป็นเรื่องที่ละเลยไมได้ ใครที่เคยกินอาหารแบบลืมนึกถึงสุขภาพ กินตามใจปาก รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมการกินเหล่านี้ จะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาว หากคุณไม่อยากให้สุขภาพ ร่างกายเสื่อมก่อนเวลา เรามีวิธีการกินให้สุขภาพดีและไม่ควรมองข้ามในชีวิตป ระจำวันมาฝากกัน

1. กินผัก ผลไม้ เป็นหลัก อาหารจำพวก ธัญพืช ผัก และผลไม้ นอกจากจะเป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มีคุณค่าแล้ว ยังเป็นกลุ่มของอาหารที่มีไขมันต่ำมาก ทำให้อิ่มนานเพราะมีใยอาหารปริมาณสูง

นอกจากนี้ใยอาหารซึ่ง มีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีจะช่วยในการขับถ่ายและดูดซึม สารพิษในลำไส้ โดยขับออกมาพร้อมกับอุจจาระจึงช่วยป้องกันการสะสมของ สารพิษ และลดอาการท้องผูก ริดสีดวงทวารและลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ไ ด้

2. กินทีละนิด แต่บ่อย ๆ ทำให้กระเพาะไม่ต้องเหนื่อยมากจึงช่วยลดโอกาสที่จะเก ิดอาการอาหารไม่ย่อย และทำให้ระดับของฮอร์โมนที่คอยควบคุมน้ำตาลในเลือดไม ่แกว่งขึ้นลงอย่างรวด เร็ว ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกง่วงและไม่นึกอยากกินจุบกิ น นอกจากนี้การกินอาหารทีละมากๆ ยังทำให้กระเพาะของคุณขยายออกอีกด้วย

3. เลือกกินแต่ไขมันชั้นดี ไขมันไม่ให้มีโทษไปเสียทุกชนิด ร่างกายยังต้องการไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงาน สร้างความอบอุ่น ช่วยในการทำงานของสมอง และเป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนต่าง ๆ รวมทั้งช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ไขมัน ที่ดีคือไขมันที่ไม่อิ่มตัว มีมากในน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย และปลา ฯลฯ

ส่วนไขมันชนิดเลว คือ ไขมันอิ่มตัวจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มข ึ้น อาจสะสมอุดตันในเส้นเลือดน้ำมันชนิดนี้มักพบในกะทิ น้ำมันปาล์ม ไขมันจากสัตว์ เป็นต้น

4. อย่าปล่อยให้หิวเกินไป การปล่อยให้ตนเองหิวมาก ๆ อาจนำไปสู่โรคร้าย เพราะความหิวกระตุ้นร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนความเครีย ด ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิต สูงโรคหัวใจ หรือเบาหวานได้ ลองควบคุมความหิวด้วยการแบ่งมื้ออาหารจากวันละ 3 มื้อเป็นมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อต่อจะช่วยได้มาก

5. เลี่ยงเค็ม อาหารส่วนใหญ่มีเกลือโซเดียมเป็นองค์ประกอบในปริมาณส ูง ไม่ว่าจะเป็นซอสปรุงรสน้ำปลา ขนมกรุบกรอบ อาหารหมักดอง ฯลฯ จึงเป็นไปได้ว่าในแต่ละวันเรามักจะได้รับโซเดียมเกิน ความต้องการของ แม้ว่าโซเดียมจะมีประโยชน์ช่วยควบคุมปริมาณน้ำ ความดันเลือดในร่างกาย แต่การได้รับโซเดียมมากเกินไปจะก่อให้เกิดโรคความดัน โลหิตสูงได้

6. กินน้ำตาลอย่างพอดี อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้แก่แป้งและน้ำตาล เมื่อเข้าสู่ร่างกายและผ่านการย่อยจะได้กลูโคสซึ่งก็ คือน้ำตาลชนิดหนึ่ง กลูโคสเป็นสารที่ให้พลังงานกับร่างกาย ขณะเดียวกันหากมีมากเกินไปจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสม จึงไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้การมีน้ำตาลอยู่ในร่างกายปริมาณสูงจะทำให้ก ารสร้างอินซูลินที่ช่วย รักษาระดับน้ำตาลในเลือดเสียสมดุลไป เป็นสาเหตุทำให้โรคเบาหวานได้ง่าย

7. เลิกกินไปดูไป การกินอาหารไปดูหนังไป ทำให้เรากินอาหารมากขึ้นโดยไม่รู้ตัวแม้ว่าจะกินอิ่ม มาแล้ว หรือรสชาติของอาหารไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม นอกจากนี้ไฟสลัว ๆ ทำให้ผู้ที่กินอาหารเพลิดเพลินเจริญอาหารมากปกติอีกด ้วย

8. ไม่รีบดื่มน้ำ การดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างรวดเร็วอาจก่อให้เกิดสภาวะน้ำเป็นพิษเนื่องจากเ ลือดเจือจาง ร่างกายจึงขับโพแทสเซียมออกจากเซลล์เพื่อปรับสมดุลระ หว่างน้ำในเซลล์และนอก เซลล์ ผลที่ตามมาคือเป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง หากเกิดเกร็งที่สมอง หัวใจ หรือปอด จะทำให้หายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ แต่ไม่ต้องกังวลจนเกินไปเพราะหากดื่มน้ำทีละเล็กทีละ น้อย แม้ดื่มมากกว่าปกติ ก็ไม่เป็นอันตรายเพราะไตจะขับออกมาเป็นปัสสาวะ

9. งดชา กาแฟบ้าง เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนไม่เหมาะผู้ที่มีอาการปวดหลั งเพราะกาเฟอีนลดหลั่ง สารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้ น ซึ่งเอ็นดอร์ฟินมีฤทธิ์ลดอาการปวดตามอวัยวะ

10. ผลไม้ 1 ชิ้น หลังอาหาร กินแอปเปิ้ลหนึ่งชิ้นหลังอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดแบคทีเรียในช่องปากและช่วยใ ห้เหงือกแข็งแรง การกินสับปะรดและมะละกอก่อนอาหารประมาณ 2-3 ชิ้น ดีต่อกระเพาะอาหารเพราะมีเอนไซม์ซึ่งช่วยย่อย จึงเท่ากับช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่ตามลงม าได้ง่ายขึ้น

11. กินอาหารอายุสั้น ทำให้เราอายุยืน (ผัก ผลไม้สด) เพราะอาหารไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีสารพิษตกค้างและการกินอาหารอายุยืน ทำให้เราอายุสั้น (อาหารแปรรูปทุกชนิดอาหารหมักดองต่าง ๆ) อาหารเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปในหลากหลายรูปแ บบ หรือใส่สารกันบูดเพื่อยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะสะสม และตกค้างเป็นสารพิษสะสมอันตรายต่อร่างกาย

12. กินช้า ๆ ไม่ต้องรีบ การเร่งกินอาหารทำให้เอนไซม์สำหรับย่อยอาหารในน้ำลาย และในกระเพาะไม่มีเวลาทำงานอย่างเต็มที่ อาจจะทำให้กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารหยุดทำงาน และระบบย่อยอาหารทำงานไม่เต็มที่

13. กินเนื้อสัตว์ให้ย่อยง่าย จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ถ้ามื้อนั้นกินเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก ไม่ควรกินผลไม้อีก เพราะกว่าเนื้อจะย่อยหมด ต้องใช้เวลานาน ทำให้ผลไม้ที่ย่อยเสร็จแล้วถูกกักอยู่ในกระเพาะ จนเกิดกรดในกระเพาะตามมาภายหลัง

14. กินมื้อเช้าบำรุงสมอง มื้อเช้าเป็นอาหารมื้อแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดของ ทุกๆ วัน เพราะร่างกายไม่มีสารอาหารมานานหลายชั่วโมง การไม่รับประทานอาหารเข้าบ่อยครั้ง อาจจะส่งผลให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะขาดอาหารและลดอัตรา การเผาผลาญแคลอรีลง เราจึงควรเติมพลังยามเช้าด้วย อาหารที่มีคุณค่าเพื่อช่วยรักษาสมดุลคงระดับน้ำตาลใน เลือดให้คงที่ และกระตุ้นอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสตลอดทั้งวัน

15. ลดการดื่มน้ำผลไม้เข้มข้น หากไม่อยากมีกรดในกระเพาะมากเกินไปควรลดปริมาณการดื่ มน้ำผลไม้เข้มข้นอย่าง เช่น มะนาว ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุต หรือน้ำมะเขือเทศสดปั่น หรือทำให้เจือจางด้วยการผสมน้ำเข้าไป

เมื่อให้ความสำคัญกับเรื่องกินแล้ว ก็ไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพในด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงหรือปล่อยวางจากความเครียด เท่านี้คุณก็จะพร้อมรับทุกสถานการณ์ในทุกวันได้อย่าง มีประสิทธิภาพ




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น