วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝ้าคืออะไร และเกิดได้อย่างไร?

ฝ้าคืออะไร และเกิดได้อย่างไร?


ฝ้าคืออะไร และเกิดได้อย่างไร? (หมอชาวบ้าน)
ฝ้าคืออะไร
ฝ้าเป็นรอยผิวหนังสีน้ำตาลหรือสีดำ พบตามบริเวณที่ผิวหนังโดนแสงแดด (เช่น ที่ใบหน้า) ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่เกิด มักค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แผ่นสีดำนี้มักมีลักษณะเท่าๆ กันทั้ง 2 ข้าง อาจรวมกันเป็นปื้น หรือเข้มเป็นกระจุก ๆ ก็ได้
บริเวณที่พบฝ้าได้บ่อย คือ ที่เหนือริมฝีปาก หนวด คาง หน้าผาก แต่บางคนก็เป็นฝ้าที่ตำแหน่งอื่นๆ ที่โดนแสงแดด (เช่น ที่หน้าอก แขน หลัง)
ฝ้าไม่ทำให้เกิดอาการอย่าง อื่นนอกจากด้านความงามเท่านั้น ส่วนใหญ่พบในหญิงวัยกลางคน อายุประมาณ 30-40 ปี ในจำนวนผู้ที่เป็นฝ้าทั้งหมดร้อยละ 90 เป็นผู้หญิง
ฝ้าเกิดได้อย่างไร
สาเหตุของฝ้า มีดังนี้ คือ


กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ป่วยโรคฝ้ามากกว่าร้อยละ 30 มีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้าด้วย ทั้งยัง พบว่า ฝ้าสามารถเกิดร่วมกันในฝาแฝดที่มาจากไข่ใบเดียวกัน โดยที่พี่น้องคนอื่น (ที่มาจากไข่คนละใบ) ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันไม่พบความสัมพันธ์นี้


แสงแดด เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้าที่สำคัญ ทั้งช่วงคลื่นรังสียูวีบี และยูวีเอ ทำให้เกิดฝ้า ยากันแดดที่ป้องกันเฉพาะรังสียูวีบี จึงใช้ป้องกันฝ้าไม่ได้ผล เพราะผิวหนังยังได้รับรังสียูวีเอ และช่วงคลื่นแสงที่มองเห็น ซึ่งช่วงคลื่นนี้ก็กระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีผลิตเม ็ดสีเมลานินได้เช่นกัน


ฮอร์โมน เป็นปัจจัยทำให้เกิดฝ้าที่สำคัญ เชื่อว่าฝ้าเกิดจากการที่ฮอร์โมนเพศหญิงคือเอสโทรเจน และโพรเจสเทอโรน กระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีให้สร้างเม็ดสีมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จึงพบฝ้ามากในหญิงตั้งครรภ์


หญิงที่กินยาคุมกำเนิด ฝ้าเกิดขึ้นในคนที่กินยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของเอส โทรเจน และโพรเจส เทอโรน


หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ที่ได้รับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน


ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ มีโอกาสเป็นฝ้ามากกว่าคนปกติถึง 4 เท่าตัว


อารมณ์ พบฝ้าที่เกิดหลังมีอารมณ์เครียดอย่างรุนแรง


เครื่องสำอาง พบว่าเครื่องสำอางบางตัวทำให้เกิดฝ้า ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นกลิ่นหอมหรือสี และฝ้าที่เกิดขึ้นมักเป็นฝ้าลึก


ยาบางชนิด พวกยากันชัก เช่น ไดเฟนิล ไฮเดนโทอิน (diphenyl hydantoin) มีแซนโทอิน (mesantoin)


ขาดสารอาหาร บางคนที่ขาดสารอาหารก็อาจทำให้เกิดฝ้าได้


แพทย์จะวินิจฉัยฝ้าด้วยการใช้สายตาตรวจดู โดยทั่วไปไม่ต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยกเว้นรายที่สงสัยว่ามีอาการทางต่อมไทรอยด์

ส่วนการรักษาฝ้านั้นจัดว่ารักษาได้ แต่มักไม่หายขาด โดยเฉพาะเมื่อผู้เป็นฝ้าไม่อาจหลีกเลี่ยงการโดนแดดได ้ตลอดเวลา เพราะทั้งรังสียูวีบี ยูวีเอ และแสงสว่างที่มองเห็น มีส่วนกระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้น





ขอขอบคุณข้อมูลจาก


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น