เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เคย เป็นบ้างไหมที่หลงลืมอะไรไปอย่างน่าโมโห ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องที่ควรจะจำได้แท้ ๆ อาการหลงลืมมักเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น ลืมนัดทำฟัน หรือจำไม่ได้ว่าเก็บเอกสารสำคัญไว้ที่ไหน ซึ่งการหลงลืมเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้อาจเป็นการส่งสัญญาณเบื้องต้นของอาการความจำ เสื่อมก็เป็นได้ แต่อย่าเพิ่งวิตกกังวลกันไป เพราะกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่เราทำกันในชีวิตประจำวันมีส่วนช่วยให้เราได้ ฝึกใช้งานสมองอยู่บ่อย ๆ ช่วยขจัดอาการหลงลืมได้เป็นอย่างดี รวมถึงพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องเฝ้าระวัง ว่าแต่จะมีอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย
1. สนทนาวิสาสะ
การพูดคุยกับใครสักคนหนึ่ง นอกจากจะช่วยเพิ่มทักษะการเข้าสังคม และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนทนาแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการบริหารสมอง ซึ่งมีผลดีต่อความทรงจำอีกด้วย ทั้งนี้ต้องเป็นบทสนทนาที่ดำเนินไปอย่างสุภาพ ไม่ใช่การชวนทะเลาะให้ผิดใจซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ การพยายามทำความเข้าในบทสนทนาของอีกฝ่าย รวมถึงคาดเดาสิ่งที่อีกฝ่ายจะตอบกลับมา ทำให้เรามีสติ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงสมอง อันเป็นการดีต่อความทรงจำของเราด้วย
2. หลีกเลี่ยงเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด
เคยบ้างไหมที่คุณเดินเข้าไปในครัว แต่กลับนึกไม่ออกว่าเข้ามาทำอะไร นี่เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อคุณเกิดความเครี ยด ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่า "คอติซอล" ซึ่ง จะเข้าไปทำลายความทรงจำระยะสั้น ซึ่งอาจเป็นผลดีหากคุณอยู่ในอาการบาดเจ็บ เพราะจะช่วยทำให้ลืมความเจ็บปวดได้ชั่วคราว แต่ในยามปกติ ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้คุณนึกไม่ออกถึงสิ่งที่ควรจะทำเ ป็นลำดับต่อไป ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียด และอาจบริหารจิตใจได้ด้วยกำหนดลมหายใจ หรือนั่งสมาธิ ทำให้อารมณ์เย็นลง และจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น
3. เรียนภาษาต่างประเทศ
การเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ช่วยให้เราหลีกหนีจากภาวะหลงลืม และความจำเสื่อมเมื่อเข้าสู่วัยชราได้มากโข มีผลการวิจัยยืนยันแล้วว่า การเรียนรู้ภาษาอื่น ช่วยป้องกันสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความทรงจำ จึงมีผลโดยตรงในการลดความเสี่ยงต่อการการหลงลืม ยิ่งเรียนรู้หลายภาษา ความเสี่ยงยิ่งลดน้อยลงเรื่อย ๆ โชคดีที่เรื่องภาษาเราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ใครไม่อยากลงลืมง่าย ๆ เริ่มต้นเรียนตอนนี้ก็ยังไม่สาย
4. ดื่มน้ำบีทรูท
การดื่มน้ำบีทรูทซึ่งมีไนเตรทสูงจะช่วยให้สมอง และความทรงจำทำงานได้ดีขึ้น เมื่อเข้าสู่ร่างกาย "ไนเตรท" จะเปลี่ยนสภาพเป็น "ไนไตรท์" ซึ่งช่วยในการลำเลียงเลือด จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีภาวะความจำเสื่อม หรือประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่ำ มักเกิดจากเลือดนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงที่สมองไม่เพี ยงพอ แต่หากบริโภคอาหารที่มีไนเตรทในปริมาณที่เหมาะสม สารไนไตรท์จะช่วยลำเลียงเลือดไปยังบริเวณดังกล่าว เมื่อเลือดเข้าหล่อเลี้ยงก็จะมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจ นเกิดขึ้นนั่นเอง นอกจากบีทรูทที่มีไนเตรทสูงแล้ว ยังมีพืชผักอื่น ๆ อีก เช่น เซเลรี่ หรือคึ่นไช่ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักโขม ใครอยากมีสมองที่เฉียบคม และไม่หลงลืมง่าย ๆ ก็ต้องไปหาทานกันดู
5. ทานอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน
มีการวิจัยยืนยันว่าการทานอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนี่ ยน ช่วยชะลออาการหลงลืมได้ดีกว่าอาหารเพื่อสุขภาพทั่วไป ทั้งนี้อาหารเมดิเตอร์เรเนี่ยนมักประกอบด้วย ผักชนิดต่าง ๆ, พืชตระกูลถั่ว, น้ำมันมะกอก, เนื้อปลา และไวน์ นอกจากดีต่อสุขภาพแล้ว ยังดีต่อสมองและความทรงจำด้วย รู้อย่างนี้แล้ว อยากเริ่มทานอาหารเมดิเตอร์เรเนียนขึ้นมาทันทีเลย
6. ภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
อาการหยุดหายใจเป็นระยะเวลาหนึ่งขณะนอนหลับ นอกจากรบกวนการนอน ทำให้ร่างกายอ่อนล้าเมื่อยามตื่น ยังส่งผลกระทบต่อสมองส่วนความทรงจำได้เช่นกัน เนื่องจากการหยุดหายทำให้ขาดอากาศไปเลี้ยงสมองชั่วคร ู่หนึ่ง ส่งผลทำลายเนื้อเยื่อประสาท และสมองส่วนสีเทา ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้เหตุผล และความทรงจำด้วย ผู้ที่ประสบภาวะนี้ จึงควรเข้ารับคำปรึกษา และทำการรักษาจากแพทย์เป็นการด่วน
7. ภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ผู้ที่ชอบกินของมัน ของทอด ควรตั้งใจฟังให้ดี ผลงานวิจัยล่าสุดจากสถาบันประสาท สหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะคอเรสเตอรอล และความดันสูง ซึ่งนำไปสู่ภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีโอกาสเสี่ยงต่อการถดถอยของประสิทธิภาพด้านความคิด และการเรียนรู้ มากกว่าผู้ที่มีสุขภาพปกติดี และความเสี่ยงนี้ยิ่งเพิ่มขึ้นมากในเพศหญิงอีกด้วย เพราะฉะนั้น ใครหลีกเลี่ยงของทอด หรืออาหารที่มัน ๆ ได้ นั่นก็เท่ากับว่า คุณถอยหนีจากภาวะหลงลืมมาได้อีกก้าวหนึ่งแล้ว
8. บริหารสมอง
เคยมีคนกล่าวว่า สมองก็เหมือนกับกล้ามเนื้อส่วนหนึ่ง ถ้าไม่ได้รับการบริหารใช้งานบ่อย ๆ สุดท้ายมันก็จะเสื่อมสภาพไป ซึ่งเป็นคำกล่าวที่เป็นความจริงไม่เบา ตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติว่าเราเลิกใช้งานแขนข้างซ้ายเป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นแม้แค่กระดิกนิ้วก็คงเป็นเรื่องที่ทำได้ย าก สมองของเราก็เช่นกัน ต้องได้รับการใช้งานอยู่บ่อย ๆ เพื่อบริหารให้มีความทรงจำที่ดีอาจเริ่มง่าย ๆ จากการจดจำหมายเลขโทรศัพท์ หรือถ้าใครอยากสนุกกว่านั้น ลองเล่นซูโดกุดูก็ไม่เลว
อ่าน ดูแล้วการดูแลรักษาสมอง และความทรงจำของเราทำได้ง่าย ๆ ในทุก ๆ วัน แค่เอาใจใส่ และให้เวลากับมันสักหน่อย คุณก็จะมีความทรงจำแม่นยำ และจดจำเรื่องราวดี ๆ ให้ได้ระลึกถึงไปอีกนานเลยละค่ะ
__________________
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น